ออกซิโตซิน
ออกซิโตซิน

ออกซิโตซิน

ออกซิโตซิน (อังกฤษ: oxytocin, Oxt) เป็นเปปไทด์ฮอร์โมน (peptide hormone) และนิวโรเปปไทด์ (neuropeptide) ปกติแล้วผลิตโดยนิวเคลียสพาราเวนทริคิวลาร์ (paraventricular nucleus) ของไฮโปทาลามัส และปล่อยโดยต่อมใต้สมองส่วนหลัง (posterior pituitary)[3] ทำงานในการเชื่อมโยงทางสังคม การสืบพันธ์ในทั้งสองเพศ รวมถึงระหว่างและหลังการให้กำเนิดบุตร[4] ออกซิโตซินปล่อยสู่กระแสเลือดในรูปแบบของฮอร์โมนขณะตอบสนองต่อการยืดตัวของปากมดลูกและมดลูกระหว่างการคลอดบุตร และต่อการกระตุ้นที่หัวนมระหว่างให้นมบุตร[5] สิ่งนี้ช่วยในการให้กำเนิด, ในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างมารดาและบุตร และในการผลิตน้ำนม[5][6] ออกซิโตซินถูกค้นพบโดย เฮนรี เดล (Henry Dale) ใน พ.ศ. 2449[7] รูปร่างของโมเลกุลถูกระบุใน พ.ศ. 2495[8] ออกซิโตซินยังถูกใช้เป็นยาที่ช่วยระหว่างคลอดบุตร[9][10][11]

ออกซิโตซิน

ECHA InfoCard 100.000.045
การเปลี่ยนแปลงยา ตับและoxytocinaseอื่น
IUPHAR/BPS
ChEBI
Target tissues ทั่ว
เลขทะเบียน CAS
มวลต่อโมล 1007.19 g/mol
Antagonists atosiban
Metabolism ตับและoxytocinaseอื่น
Precursor oxytocin/neurophysin I prepropeptide
PubChem CID
การอ่านออกเสียง /ˌɒksɪˈtsɪn/
Receptors ตัวรับออกซิโทซิน (oxytocin receptor)
การขับออก น้ำดีและไต
ChemSpider
DrugBank
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ 1–6 นาที (ในหลอดเลือดดำ)
~2 ชั่วโมง (ทางจมูก)[1][2]
KEGG
ChEMBL
สูตร C43H66N12O12S2
แบบจำลอง 3D (JSmol)
UNII
Protein binding 30%
Source tissues ต่อมใต้สมอง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ออกซิโตซิน http://www.chemspider.com/Chemical-Structure.38843... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1465771 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4045544 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16992821 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22436536 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22467107 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24967304 http://www.kegg.jp/entry/D00089 http://www.commonchemistry.org/ChemicalDetail.aspx... //doi.org/10.1016%2Fj.psyneuen.2012.02.014