การบอกชื่อของออร์บิทัลเชิงโมเลกุลตามสมมาตร ของ ออร์บิทัลเชิงโมเลกุล

เราสามารถจำแนกชนิดของอันตรกิริยาระหว่างออร์บิทัลเชิงอะตอมตามสมบัติทางสมมาตร โดยการบอกชื่อออร์บิทัลเชิงโมเลกุลเป็น σ (ซิกมา), π (ไพ), δ (เดลตา), φ (ฟี), γ (แกมมา) เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับสมมาตรของออร์บิทัลเชิงอะตอม s, p, d, f และ g ตามลำดับ จำนวนระนาบบัพ ของ ออร์บิทัลเชิงโมเลกุลแบบ σ, π, δ, ... จะเท่ากับ 0, 1, 2, ... ตามลำดับ

สมมาตรแบบ σ

ออร์บิทัลเชิงโมเลกุลที่มีสมมาตรแบบ σ เกิดจากอันตรกิริยาระหว่าง s-ออร์บิทัล จำนวน 2 ออร์บิทัล หรือ pz จำนวน 2 ออร์บิทัลตามแนวแกนระหว่างนิวเคลียส โดยการหมุนรอบแกนไม่ทำให้เปลี่ยนเฟส และ σ* ออร์บิทัล หรือ ออร์บิทัลเชิงโมเลกุลแบบต้านพันธะ σ ก็ไม่เปลี่ยนเฟสเมื่อมีการหมุนรอบแกนเช่นกัน [3]

สมมาตรแบบ π

ออร์บิทัลเชิงโมเลกุลที่มีสมมาตรแบบ π เกิดจากอันตรกิริยาระหว่าง px จำนวน 2 ออร์บิทัล หรือ py จำนวน 2 ออร์บิทัล ออร์บิทัลเชิงโมเลกุลที่มีสมมาตรแบบ π จะไม่สมมาตรเมื่อเมื่อมีการหมุนรอบแกนระหว่างนิวเคลียสเนื่องจากจะทำให้มรการเปลี่ยนเฟสขึ้น ออร์บิทัลเชิงโมเลกุลแบบต้านพันธะ π* ก็ไม่เปลี่ยนเฟสเมื่อมีการหมุนรอบแกนเช่นกัน [4]

การเรียงตัวของ p-ออร์บิทัลเพื่อเกิดเป็นพันธะ π

สมมาตรแบบ δ

ออร์บิทัลเชิงโมเลกุลที่มีสมมาตรแบบ δ เกิดจากอันตรกิริยาระหว่าง dxy จำนวน 2 ออร์บิทัล หรือ dx2-y2 จำนวน 2 ออร์บิทัล เนื่องจากออร์บิทัลเชิงโมเลกุลชนิดนี้เกิดขึ้นโดยออร์บิทัลเชิงโมเลกุลแบบ d ที่มีพลังงานต่ำ จึงพบได้ในสารประกอบเชิงซ้อนของโลหะแทรนซิชัน เช่น พันธะระหว่าง Rh-Rh ในไอออนลบเชิงซ้อน [Re2Cl8]2− [5]

การเรียงตัวของ d-ออร์บิทัลเพื่อเกิดเป็นพันธะ δ

สมมาตรแบบ φ

นักเคมีเชิงทฤษฎีได้คำนวณพันธะที่มีสมมาตรแบบ φ และในปี ค.ศ.2005 ได้มีการรายงานสารประกอบที่มีพันธะแบบ φ ในโมเลกุล U2[6]

การเรียงตัวของ f-ออร์บิทัลเพื่อเกิดเป็นพันธะ φ

ใกล้เคียง

ออร์บิทัลเชิงอะตอม ออร์บิทัล เอทีเค ออร์บิทัลเชิงโมเลกุล ออร์บิทัล (วงดนตรี) ออร์บิทัล (อัลบั้ม) ออร์บิทัล: ไลฟ์แอตกลาสตันบูรี 1994 - 2004 ออร์บิทัลทู ออร์บิทัล ออร์บิต ออร์แกเนลล์