กลไกการออกฤทธิ์ ของ อะคิพิม็อกซ์

อะคิพิม็อกซ์ออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการการสร้างไตรกลีเซอไรด์ของตับและลดการหลั่งไลโปโปรตีนคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำมาก (Very low-density lipoprotein cholesterol; VLDL-C) ซึ่งจะส่งผลโดยอ้อมทำให้ไลโปโปรตีนคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low-density lipoprotein cholesterol; LDL-C) ลดลงและมีการเพิ่มขึ้นของไลโปโปรตีนคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นสูง (High-density lipoprotein cholesterol; HDL-C) ได้ในที่สุด  การใช้อะคิพิม็อกซ์ในระยะยาวมีความสัมพันธ์กับการลดของของอัตราการตาย แต่อาการข้างเคียงที่เกิดจากอะคิพิม็อกซ์ซึ่งเกิดขึ้นได้บ่อยถือเป็นข้อจำกัดหนึ่งของการใช้ยานี้ในทางคลินิก ซึ่งอาการไม่พึงประสงค์เหล่านั้น ได้แก่ อาการผิวหนังแดง ร้อนวูวาบ (flushing) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับระดับของโพรสตาแกลนดิน (prostaglandin D2) ในร่างกาย, ใจสั่น (palpitation), และไม่สบายท้อง (gastrointestinal disturbances) โดยอาการผิวหนังร้อนแดงอาจสามารถลดความรุนแรงลงได้โดยการรับประทานแอสไพริน (aspirin) ก่อนการรับประทานอะคิพิม็อกซ์ประมาณ 20-30 นาที ทั้งนี้ การรับประทานอะคิพิม็อกซ์ในขนาดสูงอาจทำให้เกิดความผิดปกติของตับ, ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ, และทำให้เกิดอาการของโรคเกาต์ได้

แหล่งที่มา

WikiPedia: อะคิพิม็อกซ์ http://www.chemspider.com/Chemical-Structure.44705... http://www.lww.com/productTOC/?ISBN=978-0-7817-687... http://books.mcgraw-hill.com/medical/goodmanandgil... http://www.kegg.jp/entry/D07190 http://www.commonchemistry.org/ChemicalDetail.aspx... //doi.org/10.1036%2F0071422803 http://www.guidetopharmacology.org/GRAC/LigandDisp... https://www.drugs.com/international/acipimox.html https://chemapps.stolaf.edu/jmol/jmol.php?model=%5... https://echa.europa.eu/substance-information/-/sub...