ประวัติ ของ อะนิวเดย์...

โครงการ อะนิวเดย์ ถือกำเนิดขึ้นเมื่อเซลีนและเรอเนเข้าชมมหรสพชุด โอ ณ โรงละคร Le Cirque du Soleil ในลาสเวกัส ทั้งสองประทับใจในการแสดงดังกล่าวยิ่งจึงสอบถามไปยังฟรังโก ดรากอนเพื่อเข้าพบปะกับเหล่านักแสดงหลังการแสดงเสร็จสิ้น ต่อมาเซลีนได้ส่งจดหมายแสดงความชื่นชมไปยังฟรังโก ดรากอน และได้เชิญมาแวะเยี่ยมที่บ้านพักของเธอ ภายหลังการสนทนาของฟรังโกและเซลีนนั้น ฟรังโกตกลงรับข้อเสนอทันใดในราวเดือนมีนาคม พ.ศ. 2546 เซลีนเปิดเผยว่า " โอ เปลี่ยนชีวิตของฉัน ฉันไม่เคยพบเห็นการแสดงเช่นนั้นมาก่อน จากช่วงที่มอบดอกกุหลาบนั้น ฉันยังคงอ้าปากค้างจนกระทั่งผู้ชมออกจากโรงละครจนหมด ฉันลุกจากเก้าอี้ไม่ได้ ฉันบอกกับเรอเน่ว่า ไม่มีทางเลยที่ฉันจะกลับมาแสดงคอนเสิร์ตอีกครั้งถ้าการแสดงจะไม่ใช่ในแบบนี้"[2]

ทั้งสองเจรจากับคณะผู้บริหารของโรงแรมซีซ่าร์พาเลสในเรื่องของการจัดการแสดง เงินทุน และการแบ่งปันผลกำไร การเจรจาในข้อตกลงเป็นที่เห็นพ้องของทุกฝ่ายทันใด จึงได้เริ่มการก่อสร้างโรงละครสำหรับการแสดง หรือ เดอะโคลอสเซียม ซึ่งได้จัดสร้างด้วยความเร็วสูงโดยใช้เวลาเพียง 14 เดือน และเป็นโรงละครที่มีลักษณะพิเศษ อาทิ เวทีที่มีความชัน 7.5 องศา และเป็นโรงละครที่มีความจุถึง 4,000 คนโดยที่นั่งที่ไกลที่สุดมีระยะใกล้กับเวทีมากกว่าโรงละครที่จัดการแสดงชุด โอ กว่า 2 เท่าตัว นอกจากนี้ ฉากหลังบนเวทีซึ่งเดิมตั้งใจจะเป็นฉากผ้าใบสีขาวขนาดใหญ่แล้วใช้เครื่องฉายส่องภาพลงไปแทน แต่เยฟ โอกวง ผู้ออกแบบโรงมหสรพ เห็นว่า ไม่ควรมีเงาของนักแสดงตกลงบนฉาก จึงรายงานต่อเรอเน และโน้มน้าวให้ฟีล อานสชุตซ์ ซีอีโอของซีร์พาเลสอนุมัติงบประมาณเพิ่มขึ้นอีกสิบล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อซื้อจอไดโอดเปล่งแสงขนาดมหาศาลมาติดเป็นฉากหลังแทน ซึ่งทำให้เดอะโคลอสเซียมมีจอภาพไดโอดเปล่งแสงในที่ร่มขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ในขณะเดียวกันก็ได้มีการคัดเลือกนักแสดงจากผู้สมัครกว่า 4,000 คน ณ บริษัทของฟรังโกในลาร์ลูเวียร์ ประเทศเบลเยี่ยม งานคัดเลือกนักแสดงเริ่มต้นเมื่อวันที่24 มิถุนายน พ.ศ. 2545 ถึงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2545 จึงได้คัดเลือกนักแสดงเหลือ 58 คน ทั้งนี้เซลีนได้เข้าเยี่ยมชมงานคัดเลือกนักแสดงดังกล่าวเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2545[2]

ชื่อของมหรพสพในเบื้องต้นเซลีนตั้งใจจะใช้ชื่อว่า มุส (Muse) ต่อมาชื่อดังกล่าวถูกปฏิเสธจากการพิจารณาในที่ประชุมในช่วงปลายเดือนตุลาคม พ.ศ. 2545 เมื่อมูส วงดนตรีชาวบริติชแถลงการณ์ในเว็บไซต์ของตนเองว่าการใช้ชื่อดังกล่าวอาจทำให้เกิดความสับสน[2] และชื่อดังกล่าวยังได้ถือลิขสิทธิ์ทั่วโลก [3] แม้เซลีนจะติดต่อเพื่อขอซื้อลิขสิทธิ์นั้นด้วยจำนวนเงินกว่า 5 หมื่นดอลลาร์ แต่ได้รับการปฏิเสธขากแมต ทิว เบลลามี หัวหน้าวงซึ่งไม่ต้อกงารให้เข้าใจว่าวงดนตรีเล่นเพลงดังกล่าวให้กับเซลีน ภายหลังจึงได้ตกลงในที่ประชุมให้ใช้ชื่อการแสดงว่า อะนิวเดย์... สืบเนื่องจากอัลบั้ม อะนิวเดย์แฮสคัม ที่ออกจำหน่ายในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2545[2]

การแสดงเริ่มต้นขึ้นในคืนวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2545 และสิ้นสุดลงในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550 รวมระยะเวลาการแสดงกว่า 5 ปี จำนวนการแสดงกว่า 700 รอบ และมีผู้เข้าชมกว่า 3 ล้านคน นับเป็นการแสดงที่ทำรายได้สูงสุดในประวัติศาสตร์ดนตรี ด้วยรายได้กว่า 400,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ[4] และได้รับการเลือกให้เป็นการแสดงดีเด่นของลาสเวกัสตลอดระยะเวลา 5 ปี

ใกล้เคียง

อะนิวเดย์... อะนิวเดย์... ไลฟ์อินลาสเวกัส อะนิวเดย์แฮสคัม อะนิวเดย์แฮสคัม (เพลง) อะนิวพลอยดีย์ อะนิวเดย์ อะนิเมะโล ซัมเมอร์ ไลฟ์ อะวิวฟรอมเดอะท็อปออฟเดอะเวิลด์ อะนิเมท อะมิวส์