ประวัติศาสตร์ ของ อะบูซิมเบล

การก่อสร้าง

การก่อสร้างของมหาวิหารทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นประมาณปี 1224 ก่อนคริศตกาล และเสร็จสมบูรณ์ในอีก 20 ปีต่อมา ในปี 1244 ก่อนคริศตกาล รู้จักกันในนาม "วิหารแห่งรามเสสอันเป็นที่รักของเทพเจ้าอามุน ซึ่งเคยเป็นหนึ่งในหกวิหารหินแกะสลักที่ก่อสร้างขึ้นในนิวเบียในช่วงระยะเวลาการครองราชย์อันยาวนานของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ซึ่งอียิปต์โบราณเจตนาให้เป็นที่ประทับใจต่ออาณาจักรเพื่อนบ้านทางใต้ อีกทั้งยังเจตนาเพื่อเป็นการเผยแพร่ศาสนาของชาวอียิปต์เข้าไปในแคว้นทางใต้ นักประวัติศาสตร์กล่าวว่าสถาปัตยกรรมของอะบูซิมเบลยังบ่งบอกถึงความภูมิใจและตัวตนของฟาโรห์รามเสสที่ 2 อยู่เล็กน้อย

การค้นพบ

ด้วยกาลเวลาที่ล่วงเลยผ่านไปอย่างยาวนาน มหาวิหารถูกทิ้งร้างและตกอยู่ในสภาพที่ทรุดโทม จนกระทั่งมหาวิหารถูกกลืนกินโดยทรายจากทะเลทรายซาฮาร่า ซึ่งรูปแกะสลักขนาดยักษ์ขององค์ฟาโรห์ทั้งสี่ถูกกลืนกินโดยทรายจนถึงหัวเข่าในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล จนกลายเป็นมหาวิหารที่ถูกหลงลืมกระทั่งปี ค.ศ. 1813 เมื่อนักประวัติศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมตะวันออกชาวสวิสเซอร์แลนด์ โจฮัน ลุดวิก เบิร์คฮารดต์ หรือรู้จักกันในนาม เจแอล เบิร์คฮารดต์ ค้นพบส่วนบนของฟรีส (ลวดลายสลักใต้ชายคาของสิ่งก่อสร้าง) โจฮันได้เล่าถึงการค้นพบของเขาให้แกนักสำรวจชาวอิตาลีที่ชื่อ จิโอวานนี่ บาติสต้า เบลโซนี่ ผู้ที่เดินทางไปยังจุดค้นพบแต่ก็ไม่สามารถขุดไปยังทางเข้าของมหาวิหารได้ เบลโซนี่ได้กลับมาอีกครั้งในปี ค.ศ. 1817 ครั้งนี้เขาประสบความสำเร็จจากความพยายามที่จะเข้าไปยังมหาวิหารของเขา เขากลับออกมาพร้อมกับข้าวของอันล้ำค่าหรือข้าวของที่สามารถแบกออกมาได้ติดตัวออกมาด้วย ส่วนชื่อ "อะบูซิมเบล" มาจากชื่อของเด็กท้องถิ่นที่เคยนำชมมหาวิหารในช่วงที่มีการสำรวจอีกครั้ง ซึ่งเขาเป็นผู้ค้นพบส่วนที่ถูกฝังของมหาวิหารที่เหลือ จากการที่ทรายได้เคลื่อนตัวเผยให้เห็นส่วนที่เหลือ กระทั่งท้ายที่สุดได้มีการเรียกชื่อตามชื่อของเขา

ใกล้เคียง