อักษรขโรษฐี

อักษรขโรษฐี (Kharoṣṭhī alphabet) ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อราว 2,487 ปีก่อนพุทธศักราช อาจจะมาจากอักษรอราเมอิก ใช้กันอย่างกว้างขวางทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย และเอเชียกลาง สมัยเดียวกับอักษรพราหมี อักษรนี้ใช้มาจนถึงราว พ.ศ. 900 จึงเลิกใช้ไปและไม่มีอักษรลูกหลานต่อมาแบบอักษรพราหมี เจมส์ ปรินเซฟ และคณะถอดความหมายอักษรนี้ เมื่อราว พ.ศ. 2400 พยัญชนะแต่ละตัวมีเสียงอะ เขียนจากขวาไปซ้ายในแนวนอน