ประวัติ ของ อักษรตังกุต

อักษรตังกุตที่หมายถึง "มนุษย์" เป็นอักษรที่ดูเรียบง่าย

พงศาวดารซ่ง ซ่งฉื่อ (ค.ศ. 1346) ระบุว่าอักษรนี้ได้รับการคิดค้นโดย เหย่ลี่เหรินหรง (ตังกุต: 𘘥𗎁𗸯𘄊;[3] จีน: 野利仁榮) เจ้าหน้าที่ชั้นสูงในปี ค.ศ. 1036[4][5] หลังคิดค้นอักษรนี้ในเวลาไม่นานก็มีการใช้งานทันที โดยการเรียนการสอนในโรงเรียนของรัฐ, เอกสารของทางการใช้อักษรนี้ (เอกสารสองภาษามีเฉพาะทางการทูต) มีคัมภีร์ศาสนาพุทธจำนวนมากที่แปลจากภาษาทิเบตและภาษาจีนมาเป็นอักษรนี้ และมีภาพพิมพ์แกะไม้ที่สลักด้วยอักษรนี้[6] ถึงแม้ว่าราชวงศ์เซี่ยตะวันตกล่มสลายในปี ค.ศ. 1227 แต่อักษรนี้ยังคงมีการใช้งานต่อมาอีกหลายศตวรรษ ตัวอย่างสุดท้ายที่พบจารึกด้วยอักษรนี้ปรากฏบนเสาตังกุตธารณีคู่ ซึ่งสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1502 ที่เมืองเป่าติ้ง ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเหอเป่ย์[7]

การถอดอักษรตังกุต 37 ตัวของ Stephen Wootton Bushellอักษรตังกุตที่หมายถึง "โคลน" มาจากส่วนของคำว่า "น้ำ" (ซ้ายสุด) และทั้งหมดของคำว่า "ดิน"

แหล่งที่มา

WikiPedia: อักษรตังกุต http://www.ccamc.co/tangut_index.php http://www.omniglot.com/writing/tangut.htm http://www.pubhistory.com/img/text/3/603.htm http://www.wenhuacn.com/lishi/shiji/20songshi/485.... http://dsr.nii.ac.jp/rarebook/08/ http://www.iop.or.jp/Documents/1020/nishida.pdf http://2010.nxnews.net/1168/2004-12-14/13@62280.ht... http://www.nxnews.net/923/2004-12-9/22@61505.htm http://www.mojikyo.org/ http://www.babelstone.co.uk/Tangut/