รูปแบบ ของ อักษรรูน

อักษรฟูทาร์กรุ่นแรกอักษรฟูทาร์กรุ่นใหม่

อักษรรูนมีหลายรุปแบบดังต่อไปนี้

  • อักษรฟูทาร์กรุ่นแรก (Elder Futhark) เป็นรูปแบบเก่าสุดที่พบในยุโรป ที่เป็นบ้านเกิดของเผ่าเยอรมัน รวมทั้งสแกนดิเนเวีย รูปแบบอื่นๆอาจพัฒนาไปจากรูปแบบนี้
  • อักษรรูนกอทิก ใช้เขียนภาษากอทิกที่เป็นภาษาเยอรมันตะวันออก แต่จุดเริ่มต้นยังไม่ชัดเจน จารึกอักษรนี้เหลืออยู่น้อยมาก ถูกแทนที่ด้วยอักษรอื่นเมื่อราว พ.ศ. 900
  • อักษรฟูทาร์ก แองโกล-แซกซอน (Anglo-Saxon Futhorc) มีการเพิ่มอักษรบางตัวเข้ามาเพื่อใช้เขียนภาษาแองโกล-แซกซอน ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษเก่า คาดว่าอักษรนี้เข้าไปในอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 1000 และใช้มาจนถึง พ..ศ. 1600 มักพบบนเครื่องประดับ ก้อนหิน อาวุธ และอื่น ๆ
  • อักษรฟูทาร์กรุ่นใหม่ (Younger Futhark) พัฒนาจากอักษรรุ่นเก่า และคงตัวอยู่จนถึง พ.ศ. 1300 เป็นอักษรหลักในนอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์ก จนกระทั่งถูกแทนที่ด้วยอักษรละตินเมื่อศาสนาคริสต์แพร่ไปถึง อักษรใน 3 ประเทศนี้ต่างกันเล็กน้อย

หลังพุทธศตวรรษที่ 23 การใช้อักษรรูนลดน้อยลง เมื่อศาสนาคริสต์แพร่หลายเข้ามา อักษรรูนถูกโยงเข้ากับเวทมนตร์คาถาซึ่งต้องถูกกำจัด ในปัจจุบันมีการฟื้นฟูการใช้อักษรรูนอีกครั้งแต่ใช้ในการพยากรณ์.