ลักษณะ ของ อักษรลาว

อักษรลาว มีพยัญชนะ 33 รูป 21 เสียง สระมี 28 รูป 27 เสียง มีเสียงวรรณยุกต์ 6 เสียงซึ่งขึ้นกับพื้นเสียงของพยัญชนะ ลักษณะของคำ (คำเป็น คำตาย) เครื่องหมายวรรณยุกต์ และความยาวของเสียงสระ การเขียนยึดสำเนียงเวียงจันทน์เป็นหลัก ไม่มีระบบการถอดเป็นอักษรโรมันที่แน่นอน นิยมใช้ระบบถ่ายเสียงของภาษาฝรั่งเศส

รูปพยัญชนะ

พยัญชนะลาวทั้ง 33 รูป แบ่งเป็นพยัญชนะโดด 27 ตัว (ภาษาลาวเรียกว่า "พยัญชนะเค้า" แปลว่า พยัญชนะต้น) และพยัญชนะควบอีก 6 ตัว ซึ่งมีดังต่อไปนี้

พยัญชนะโดด

รูปอักษรลาวชื่ออักษรในภาษาลาวเทียบรูปอักษรไทยหมายเหตุ
ก ไก่
ข ไข่ข, ฃ
ค ควายค, ฅ, ฆ
ง งัว, ง งูงัว แปลว่า วัว ในภาษาไทยปัจจุบัน ใช้คำเดียวกับภาคเหนือและภาคอีสานของไทย
จ จอกจอก แปลว่า แก้วน้ำ
ส เสือฉ, ศ, ษ, สคำเสียง ฉ ในภาษาไทยจะออกเสียงเป็น /ส/ ทุกแห่งเหมือนภาคเหนือและภาคอีสานของไทย
ซ ซ้างช, ซ, ฌคำเสียง ช ในภาษาไทย ภาษาลาวออกเสียงเป็น /ซ/ ทุกแห่ง
ย ยุงเสียงของ ย ในที่นี้เป็นเสียงนาสิก /ญ/ แบบเดียวกับที่ปรากฏในภาคเหนือและภาคอีสานของไทย (บางครั้งถอดเป็นรูป ญ)
ด เด็กฎ, ฑ (บางคำ), ด
ต ตาฏ, ต
ถ ถงฐ, ถถง แปลว่า ย่าม รูปอักษรตัวนี้ บางคราวเขียนแบบหัวเข้า (คล้ายตัว ฤ) บางคราวก็เขียนหัวออก (คล้ายตัว ฦ และเลข 7 ในภาษาลาว)
ท ทุงฑ (บางคำ), ฒ, ท, ธทุง แปลว่า ธง
น นกณ, นผู้เรียนอักษรลาวใหม่ ๆ มักสับสนกับตัว ມ (ม แมว) เสมอ เนื่องจากมีลักษณะที่คล้ายกันมาก
บ แบ้แบ้ แปลว่า แพะ
ป ปาปา ในที่นี้ คือ คำว่า ปลา ในภาษาไทย (ภาษาลาวแท้จะไม่มีเสียงควบกล้ำ)
ผ เผิ้งเผิ้ง คือ คำว่า ผึ้ง
ฝ ฝน
พ พูพ, ภพู แปลว่า ภูเขา (ในภาษาไทยเขียนว่า ภู)
ฟ ไฟ
ม แมวผู้เรียนอักษรลาวใหม่ ๆ มักสับสนกับตัว ນ (น นก) เสมอ เนื่องจากมีลักษณะที่คล้ายกันมาก
ย ยาย (บางคำ), อฺยย ตัวนี้ภาษาลาวจัดเป็นอักษรกลาง ออกเสียงแบบเดียวกับ ย ในภาษาไทย ใช้ในบางคำ เช่น "ຢຸດ" (หยุด) "ຢາກ" (อยาก) เป็นต้น
ร รถร ตัวนี้ปัจจุบันนิยมใช้เขียนคำที่มีที่มาจากภาษาต่างประเทศ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ออกเสียงเหมือน ล ทั้งหมด ในการเขียนภาษาลาวโบราณ รูปอักษรนี้ยังใช้แทนเสียง ฮ ในคำที่ปัจจุบันเขียนด้วยตัวอักษร ฮ เฮือน
ล ลีงล, ฬลีง คือ คำว่า ลิง ในภาษาลาวออกเสียงคำนี้ยาว จึงใช้สระอีแทน ปกติภาษาลาวสามารถใช้พยัญชนะตัวนี้เขียนคำทุกคำที่ออกเสียง /ร/ หรือ /ล/ แต่เวลาอ่านออกเสียงอ่านเป็นเสียง /ล/ ทุกตัว
ว วีวี แปลว่า พัด
ห ห่าน
อ โอโอ แปลว่า ขันน้ำ
ฮ เฮือนเฮือน คือ คำว่า เรือน ในภาษาไทย

พยัญชนะควบ

รูปอักษรเทียบอักษรไทยเสียงหมายเหตุ
ຫງหง/ง/
ຫຍหย/ญ/ระบบอักษรลาวเก่ามักใช้รูป ຫຽ
ຫນ, ໜหน/น/ปัจจุบันนิยมใช้รูป ໜ
ຫມ, ໝหม/ม/ปัจจุบันนิยมใช้รูป ໝ
ຫຣหร/ร/
ຫລ, ຫຼหล/ล/รูปอักษรทั้งสองแบบนี้นิยมใช้ปะปนกันทั่วไป
ຫວหว/ว/

รูปสระ

ไม้เอก ่ไม้หันอากาศ ั

  • สระ อะ
  • ไม้กรรณ
  •  ົ ไม้ตรง, ไม้กง
  • สระ อา
  •  ິ สระ อิ
  •  ໍ นฤคหิต, สระ ออ

  •  ຸ สระ อุ
  •  ູ สระ อู
  • สระ เอ
  • สระ ใอ ไม้ ม้วน
  • สระ ไอ ไม้ มาย
  • สระ โอ

  • ตัวออ
  • ตัวญอ
  • ตัววอ
  •  ຼ ลอเฟื้อง
  • ตัวเฟื้อง, ยอเฟื้อง, วิราม