บาทหลวง ของ อัครบิดรคีริลล์แห่งมอสโก

อัครบิดรคิริลล์ เมื่อครั้งเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 2001 และได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)

อัครบิดรคีริลล์เคยมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการมาแล้วในปี ค.ศ. 2001 ซึ่งการเยือนประเทศไทยในครั้งนั้นส่งผลให้อาสนวิหารนักบุญนิโคลัส ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นตัวแทนของโบสถ์รัสเซียออร์ทอดอกซ์ (คริสตจักรแห่งกรุงมอสโกประจำประเทศไทย) และบาทหลวงโอเลก เชเรปานิน เป็นผู้แทนคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย ได้เดินทางไปแนะแนวทางจิตวิญญาณแก่หมู่ประชาชนชาวออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยที่ประเทศลาวและประเทศกัมพูชาเป็นเวลายาวนานกว่า 15 ปี ของการยืนหยัดการทำงานและการสวดอธิษฐานเพื่อที่จะเปลี่ยนให้ประชาชนชาวไทยหันมายอมรับในนิกายออร์ทอดอกซ์[8]

เจ้าวัด

บาทหลวงคีริลล์ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นเจ้าอธิการอารามเมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1971 และได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเขตอัครบิดรมอสโก ของทางคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ในสภาคริสตจักรโลกที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ จนถึงปี ค.ศ. 1974 และตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1974 ท่านได้ทำหน้าที่เป็นอธิการบดีของวิทยสถานและเซมินารีเลนินกราดจนถึงวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1984 และตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 1975 เขาได้เป็นสมาชิกของคณะกรรมการกลาง และคณะกรรมการจัดงานประเพณี[5]

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971 ที่ท่านได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเขตอัครบิดรแห่งมอสโก ท่านก็มีส่วนร่วมในกิจกรรมของคริสตจักรออร์ทอดอกซ์รัสเซียทั่วโลกตั้งแต่นั้นมา[5]

หัวหน้าบาทหลวง

คีริลล์ครั้งประชุมเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์และการปลดอาวุธในอัมสเตอร์ดัมในปี ค.ศ. 1981
  • 14 มีนาคม ค.ศ. 1976 เจ้าอธิการคีริลล์ได้รับการอภิเษกเป็นมุขนายกแห่งไวบอร์ก และผู้แทนมุขมณฑลแห่งเลนินกราด
  • 2 กันยายน ค.ศ. 1977 ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นอัครมุขนายก
  • ตั้งแต่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1984 เป็นอัครมุขนายกแห่งสโมเลนสก์และวยาซมา
  • ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 เป็นผู้บริหารของตำบลในเขตคาลินินกราด
  • ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1988 เป็นอัครมุขนายกแห่งสโมเลนสก์และคาลินินกราด
  • ในวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989 ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานแห่งฝ่ายความสัมพันธ์ภายนอกคริสตจักร และได้เป็นสมาชิกถาวรของซินอดอันศักดิ์สิทธิ์
  • ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นมุขนายกมหานคร

ส่วนผู้มีอำนาจสูงสุดในคริสตจักรเรียงตำแหน่งของคีริลล์ดังนี้

  • ค.ศ. 1975 - 1982 – ประธานสภามุขมณฑลเลนินกราด
  • ค.ศ. 1975 - 1998 – สมาชิกคณะกรรมการกลาง และผู้บริหารของสภาคริสตจักรโลก
  • ค.ศ. 1976 - 1978 – รองอัครบิดรในยุโรปตะวันออก
  • ค.ศ. 1976 - 1984 – สมาชิกของซินอดอันศักดิ์สิทธิ์เพื่อความสามัคคีของชาวคริสต์
  • ค.ศ. 1978 - 1984 – ผู้บริหารของรัฐโบราณในประเทศฟินแลนด์
  • ค.ศ. 1978 - 1988 – กรรมการจัดงานครบรอบสหัสวรรษของการรับศีลล้างบาปของเจ้าชายวลาดิมีร์ในประเทศรัสเซีย
  • ค.ศ. 1989 - 1996 – ผู้บริหารของคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ในประเทศฮังการี
  • ค.ศ. 1990 – สมาชิกของคณะกรรมาธิการเตรียมความพร้อมสำหรับสภาท้องถิ่นของคริสตจักรออร์ทอดอกซ์รัสเซีย
  • ค.ศ. 1990 – สมาชิกของคณะกรรมการขอความช่วยเหลือในการเอาชนะผลกระทบจากภัยพิบัติเชียร์โนบีล
  • ค.ศ. 1990 - 1991 – ผู้บริหารชั่วคราวของมุขมณฑลเฮกและเนเธอร์แลนด์
  • ค.ศ. 1990 - 1993 – ผู้บริหารชั่วคราวของมุขมณฑลคอร์ซุน
  • ค.ศ. 1990 - 1993 – ประธานคณะกรรมการสมัชชาศักดิ์สิทธิ์เพื่อฟื้นฟูศาสนาและจริยธรรม[5]

การศึกษาและการกุศล

  • ค.ศ. 1990 - 2000 – ประธานคณะกรรมการสมัชชาศักดิ์สิทธิ์สำหรับการแก้ไขธรรมนูญของคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ ซึ่งกฎหมายนี้ถูกนำมาใช้โดยสภามุขนายกเมื่อปี ค.ศ. 2000
  • ค.ศ. 1994 - 2002 – สมาชิกของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการฟื้นฟูของคริสตจักรแห่งพระคริสต์พระผู้ช่วยให้รอด
  • ค.ศ. 1994 - 1996 – สมาชิกของสภากระทรวงการต่างประเทศของรัสเซียในการกำหนดนโยบายต่างประเทศและผู้นำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบเข้าไปในรัสเซีย
  • ค.ศ. 1995 - 2000 – ประธานการประชุมทางศาสนาเพื่อชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับแนวคิดของคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ในการรักษาความสัมพันธ์และปัญหาของสังคมสมัยใหม่ทั้งหมด
  • ค.ศ. 1995 - 1999 – สมาชิกของคณะกรรมการจัดงานเหตุการณ์อนุสรณ์ครบ 50 ปี การสิ้นสุดมหาสงครามของผู้รักชาติ
  • ค.ศ. 1996 - 2000 – สมาชิกของคณะกรรมการกำกับดูแลมูลนิธิครบรอบ 50 ปี แห่งชัยชนะในมหาสงครามของผู้รักชาติ
  • ค.ศ. 2006 - 2008 – ผู้นำของกลุ่มชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการเรียนการสอนขั้นพื้นฐานของคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ
  • ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 – ประธานสภาผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและจริยธรรมฝ่ายความสัมพันธ์ภายนอกโบสถ์ (ปัจจุบันสภาผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและจริยธรรมอยู่ภายใต้อัครบิดรแห่งมอสโกและรัสทั้งปวง)
  • ในวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 2006 อัครบิดรคีริลล์ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์เซนต์อะเลคซันดร์ เนฟสกี จากแกรนด์ดัชเชสมาเรีย วลาดีมีรอฟนาแห่งรัสเซีย[5]

พิธีกร

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994 อัครบิดรคีริลล์ได้เป็นผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ของคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ประจำสัปดาห์ "วจนะของชุมพาบาล" (รัสเซีย: Слово пастыря) ออกอากาศทางช่องหนึ่งอัสตานกินะและช่องหนึ่งรัสเซีย[5]

ใกล้เคียง

อัครบิดรคีริลล์แห่งมอสโก อัครบิดร อัครบิดรบาร์โธโลมิวที่ 1 แห่งคอนสแตนติโนเปิล อัครบิดรแห่งมอสโกและรัสทั้งปวง อัครบิดรแห่งอะเล็กซานเดรีย อัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิล อัครบิดรแห่งแอนติออก อัครบิดรแห่งเยรูซาเลม อัครบิดรดีมีทรี (ยาเรมา) อัครบิดรนิคอนแห่งมอสโก

แหล่งที่มา

WikiPedia: อัครบิดรคีริลล์แห่งมอสโก http://www.christiantoday.com/article/how.the.russ... http://www.washingtontimes.com/news/2016/apr/4/vla... http://www.pewforum.org/2017/05/10/religious-belie... http://www.mospat.ru/en/the_patriarch/ http://patriarchia.ru/ http://www.patriarchia.ru/db/text/547091.html http://www.orthodox.or.th/index.php?content=orthod... https://www.facebook.com/1674119576192984/photos/a... https://www.reuters.com/article/us-ukraine-crisis-... https://mospat.ru/en/the_patriarch/