กฎอัตรา ของ อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

กฎอัตราเป็นการใช้สมการทางคณิตศาสตร์เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของปริมาณของสารต่ออัตราเร็วในการเกิดปฏิกิริยา กฎอัตราจะแตกต่างกันออกไปสำหรับปฏิกิริยาเคมีหนึ่งๆ สมการทั่วไปที่ใช้อธิบายกฎอัตราสำหรับปฏิกิริยา A + B → C ได้แก่

r a t e = k [ A ] m [ B ] n {\displaystyle rate=k[A]^{m}[B]^{n}}

kแทนค่าคงที่อัตรา
[A]แทนความเข้มข้นของสารเริ่มต้น A ในหน่วยโมลาร์
[B]แทนความเข้มข้นของสารเริ่มต้น B ในหน่วยโมลาร์
m,nแทนค่าคงที่ใดๆ ที่ทำให้สมการเป็นจริง
เรียก m+n ว่าอันดับของปฏิกิริยาเคมี

จะเห็นได้ว่าอัตราการเกิดปฏิกิริยาไม่ได้ขึ้นกับสัมประสิทธิ์จำนวนโมลในสมการเคมีแต่อย่างใด ค่า m และ n ที่ใช้ในการคำนวณอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีสำหรับปฏิกิริยาเคมีหนึ่งๆ สามารถหาได้จากการทดลอง

บทความเกี่ยวกับเคมีนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เคมี

ใกล้เคียง

อัตราส่วนของกรดไขมันในอาหารต่าง ๆ อัตราเร็วของเสียง อัตราการกักขังในสหรัฐอเมริกา อัตราเร็วของแสง อัตราส่วนทอง อัตราเร็ว อัตราส่วนครูต่อนักเรียน อัตราร้อยละ อัตราส่วนประสิทธิภาพของพลังงานตามฤดูกาล อัตราส่วน