ประวัติ ของ อันโตนีโอ_กรัมชี

ชีวิตในซาร์ดิเนีย ค.ศ. 1891 - 1911

อันโตนิโอ กรัมชี (เกิดวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1891) ที่เมือง Ales เกาะซาร์ดิเนีย ซึ่งเป็นแถบบริเวณยากจน และประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม. พ่อของอันโตนิโอ กรัมชี หาเลี้ยงครอบครัวด้วยการทำงานเป็นเสมียนให้กับรัฐบาล และต่อมาต้องถูกจับในข้อหาฉ้อราษฎร์บังหลวง ส่งผลให้แม่ของอันโตนิโอ ต้องประสบปัญหาอย่างมากในการเลี้ยงดูอันโตนิโอ และพี่น้องรวมอีก 6 คน โดยการหาเลี้ยงชีพด้วยการเป็นช่างตัดผ้า

ในวัยเด็กขณะที่เขามีวัยเพียง 4 ปี เขาได้พลัดตกจากอ้อมแขนของพี่เลี้ยง อุบัติเหตุในครั้งนั้นส่งผลส่งผลเสียต่อกระดูกสันหลังของเขา ซึ่งส่งผลให้เขาต้องกลายเป็นคนหลังค่อม และมีปัญหาทางสุขภาพที่ไม่ค่อยแข็งแรงนับแต่นั้นเป็นต้นมา. กรัมชีเป็นเด็กที่เรียนได้ดี แต่เนื่องจากสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวที่มีข้อจำกัดทำให้ครอบครัว ไม่สามารถส่งเขาให้เรียนต่อถึงระดับมหาวิทยาลัยได้ ดังนั้นหากเขาต้องการเข้าเรียนต่อในระดับสูงเขาจะต้องสอบชิงทุนการศึกษาให้ได้ ซึ่งเขาก็สามารถทำได้สำเร็จเมื่อสามารถสอบชิงทุนทั่วประเทศได้ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยตูริน ณ เมืองตูริน เมืองที่มีความเจริญทางอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก ที่ต่างไปจากซาร์ดิเนียแหล่งกำเนิดของเขา

ชีวิตในตูริน ค.ศ. 1911-1920

กรัมชีเริ่มศึกษาที่มหาวิทยาลัยตูรินในปี ค.ศ. 1911 และได้ศึกษาทางด้านภาษาศาสตร์ (Linguistics) แต่ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ ทำให้กรัมชีไม่สำเร็จการศึกษาดังที่ได้ตั้งใจไว้. ต่อมาในปี ค.ศ. 1913 กรัมชีได้เข้าร่วมกับพรรคสังคมนิยมอิตาลี (Italian Socialist Party หรือ PSI) และได้เริ่มมีบทบาทในการเริ่มงานเขียนให้กับหนังสือพิมพ์ของพรรค ตั้งแต่นั้นมา ต่อมาในปี 1916 เขาก็ได้เริ่มทำงานด้วยการยึดอาชีพนักหนังสือพิมพ์ และเขียนให้กับ Il Grido del Popolo และ Avanti!เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1917 คือ ได้เกิดการปฏิวัติในรัสเซีย โดยพรรคบอลเชวิก ภายใต้การนำของวลาดีมีร์ เลนิน โดยในปีเดียวกันนั้น กรัมชีได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการให้กับ PSI สาขาตูรินด้วย. เหตุการณ์สำคัญนอกจากนี้ที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตที่ตูรินของกรัมชีได้แก่การที่ เบนิโต มุสโสลิได้ก่อตั้งพรรค Fasci Italiani di Combattimento ขึ้นที่มิลาน ในปี ค.ศ. 1919 และในปีเดียวกันได้มีการจัดการประชุมคอมมิวนิสต์สากล (Comintern) หรือสากลที่สามขึ้นเป็นครั้งแรกที่กรุงมอ[3]

สมัยฟาสซิสต์ และพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลี (Fascism and the PCI) ค.ศ. 1921-1926

ชีวิตในช่วงเวลาต่อมาของกรัมชีเป็นยุคสมัยฟาสซิสต์เรืองอำนาจ โดยที่ในปี ค.ศ. 1921 พรรคคอมมิวนิสต์อิตาลี (PCI) ได้ถูกก่อตั้งขึ้นไล่เลี่ยกันกับการเกิดขึ้นของพรรคฟาสซิสต์แห่งชาติ (National Fascist Party). ต่อมาในปี ค.ศ. 1922 กรัมชีได้รับเลือกจากคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลีให้เป็นตัวแทนไปในการประชุมผู้บริหารคอมมิวนิสต์สากล (สากลที่สาม) หรือ Comintern ที่มอสโก และอีกทั้งเขาได้พบกับภรรยาของเขาในเวลาต่อมา คือ Julia Schucht ขณะที่ในปีเดียวกันนั้น พรรคฟาสซิสต์ได้ขยายอำนาจยึดกรุงโรม และเบนิโต มุสโสลิก็ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในปีนี้หลังจากที่ได้เป็นตัวแทนไปประชุมคอมมิวนิสต์สากลที่กรุงมอสโกในปี ค.ศ. 1922 ต่อมาคือในปี ค.ศ. 1924 กรัมชีได้เดินทางไปยังกรุงเวียนนาเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยของเขา และในปีนี้เองที่ลูกชายคนแรกของเขา "เดลิโอ" (Delio) ได้เกิด ก่อนที่ต่อมาในปี ค.ศ. 1925 ภรรยา และลูกได้ย้ายมาอยู่กับกรัมชีที่กรุงโรม

ชีวิตในคุก ค.ศ. 1926-1937

ช่วงชีวิตที่สำคัญที่สุดของกรัมชีคือช่วงชีวิตของการเป็นนักโทษการเมือง ในช่วงสมัยฟาสซิสต์ ทั้งนี้ในปี ค.ศ. 1926 กรัมชีและครอบครัวได้อพยพลี้ภัยการเมืองจากการคุกคามของฝ่ายฟาสซิสต์ไปยังชายแดนสวิตเซอร์แลนด์แล้ว แต่กรัมชีได้กลับไปยังกรุงโรมอีกครั้ง เนื่องจากการที่เขามองโลกในแง่ดีเกินไป เพราะเขาเชื่อมั่นว่าเขาจะไม่ถูกจับเนื่องจากเขาได้รับสิทธิคุ้มกันเนื่องจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่กรัมชีก็ถูกจับโดยฝ่ายฟาสซิสต์ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1926 และถูกส่งไปยังคุกต่างๆ และไม่ได้รับอิสรภาพอีกเลยจนวาระสุดท้ายของชีวิต. ปีเดียวกับที่กรัมชีถูกจับกุมนี้เองลูกชายคนที่สองของเขา "จูเลียโน" (Giuliano) ได้เกิด โดยที่กรัมชีจะไม่มีโอกาสได้เจอลูกชายคนที่สองของเขาเลยต่อมาในปี ค.ศ. 1928 เขาถูกพิพากษาจำคุก 20 ปี 4 เดือน กับอีก 5 วัน กรัมชีใช้ชีวิตในเรือนจำหลายที่จนกระทั่งปี ค.ศ. 1933 เขาจึงได้ย้ายออกไปรักษาตัวที่คลินิกเล็กๆ ในเมืองฟอร์เมีย เนื่องจากอาการป่วย และสุขภาพทรุดโทรมอย่างหนัก เขาใช้เวลาช่วงไม่กี่ปีสุดท้ายของชีวิตไปกับการรักษาอาการป่วยที่คลินิกอีกหลายแห่ง จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิตเขาได้มาถึงเมื่อวันที่ 27 เมษายน 1937 รวมอายุได้ 47 ปี

ใกล้เคียง

อันโตนีโอ ดี นาตาเล อันโตนีโอ กอนเต อันโตนีโอ วีวัลดี อันโตนีโอ กรัมชี อันโตนิโอ บาเลนเซีย อันโตน ฟัน ไดก์ อันโตญีน ดโวชาก อันโตนี ฟัน เลเวินฮุก อันโตนิ โลซาโน อันโตนิโอ เซร์บันเตส