พระราชประวัติ ของ อับดุล_ฆาฟูร์_มูฮียุดดิน_ชะฮ์แห่งรัฐปะหัง

พระองค์เสด็จพระราชสมภพใน ค.ศ. 1567 เดิมมีพระนาม ราจา อับดุล ฆาฟูร์ พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์โตของอับดุล กาดีร์ อาลาอุดดีน ชะฮ์ สุลต่านแห่งรัฐปะหังองค์ที่ 10 กับมเหสีรอง[4] ส่วนพี่น้องต่างพระราชมารดา ได้แก่ ราจา ยามีร์, ราจา อะฮ์มัด, ปูเตอรี กามาลียะฮ์[5] และปูเตอรี ไครุล บารียะฮ์ หลังการรุกรานรัฐปะหังโดยรัฐสุลต่านอาเจะฮ์ใน ค.ศ. 1617 เชื้อพระวงศ์ปะหังส่วนหนึ่งถูกนำไปยังอาเจะฮ์ ปูเตอรี กามาลียะฮ์ กลายเป็นสมเด็จพระราชินีของอิซกันดาร์ มูดา ผู้ปกครองอาเจะฮ์ ส่วนไครุล บารียะฮ์ สมรสกับโกจะฮ์ ปะฮ์ลาวัน สุลต่านแห่งเดอลีองค์แรกในอนาคต[6]

ใน ค.ศ. 1584 อับดุล ฆาฟูร์ สมรสกับรายาอูงู พระขนิษฐาในรายาฮีเยาแห่งปัตตานี[7][8] ทั้งคู่ให้กำเนิดพระราชธิดาองค์เดียวพระนาม รายากูนิง[9] ทั้งรายาอูงูและรายากูนิงปกครองปัตตานีอย่างต่อเนื่องใน ค.ศ. 1624 ถึง 1651 หลังรัชสมัยรายาฮีเยากับรายาบีรู[10] อับดุล ฆาฟูร์ ก็สร้างสายสัมพันธ์การสมรสกับบรูไนด้วยการสมรสกับเจ้าหญิงซาฮาระฮ์หรือโซฮ์รา พระราชธิดาในสุลต่านไซฟุล รีจัล[11] โดยทั้งคู่ให้กำเนิดเจ้าชาย อับดุลละฮ์[12] ผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัชทายาทหรือ ราจา มูดา[13] อับดุล ฆาฟูร์ ยังมีพระราชโอรสกับพระมเหสีไม่ทราบพระนาม ซึ่งไม่ปรากฏพระนามในประวัติศาสตร์ท้องถิ่น แต่ถูกจารึกไว้ในพระราชลัญจกรในสนธิสัญญากับมะละกาของโปรตุเกส[14] พระองค์ได้รับการระบุเป็นอาลาอุดดีน รีอายัต ชะฮ์ ผู้ที่เชื่อว่าขึ้นครองราชย์หลังปลงพระชนม์พระราชบิดาและราจา มูดา อับดุลละฮ์ พระเชษฐา ใน ค.ศ. 1614[15]

ใกล้เคียง