อัลอันดะลุส
อัลอันดะลุส

อัลอันดะลุส

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งอัลอันดะลุส (อาหรับ: الأندلس‎; อังกฤษ: Al-Andalus) คือบริเวณคาบสมุทรไอบีเรียและเซ็พติเมเนียที่ปกครองโดยอาหรับและชาวมุสลิมในแอฟริกาเหนือ (ที่เรียกโดยทั่วไปว่ามัวร์) ในช่วงเวลาต่าง ๆ กันระหว่าง ค.ศ. 711 จนถึง ค.ศ. 1492[1][2][3]หลังจากการพิชิตคาบสมุทรไอบีเรีย อัลอันดะลุสก็ถูกแบ่งออกเป็นเขตบริหาร 5 เขตที่ใกล้เคียงกับเขตในปัจจุบันที่เป็นแคว้นอันดาลูซิอา, แคว้นกาลิเซียและลูซิตาเนีย, คาสตีลและเลออน, แคว้นอารากอนและแคว้นกาตาลุญญา และเซ็พติเมเนีย[4] ซึ่งถือว่าเป็นเขตการบริหารของจักรวรรดิต่าง ๆ ที่ตามกันมา เริ่มด้วยจักรวรรดิกาหลิปอุมัยยะห์ที่ก่อตั้งโดยอัลวะลิดที่ 1 (ค.ศ. 711-ค.ศ. 750); อาณาจักรเอมีร์แห่งกอร์โดบา (ราว ค.ศ. 750-ค.ศ. 929); อาณาจักรกาหลิบแห่งกอร์โดบา (ค.ศ. 929-ค.ศ. 1031); และของราชอาณาจักรย่อย ๆ ที่ตามมาจากอาณาจักรกาหลิบแห่งกอร์โดบาในช่วงเวลาหลายร้อยปีต่อมาอัลอันดะลุสก็กลายเป็นจังหวัดของราชวงศ์เบอร์เบอร์มุสลิมแห่งอัลมอราวิยะห์และอัลโมฮัด ต่อมาก็แบ่งออกเป็นรัฐย่อย ๆ แต่สำคัญที่สุดคืออาณาจักรเอมีร์แห่งกรานาดา ตลอดช่วงเวลาต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์โดยเฉพาะภายใต้การปกครองของอาณาจักรกาหลิบแห่งกอร์โดบา อัลอันดะลุสก็เป็นศูนย์กลางของการศึกษา และเมืองกอร์โดบาก็กลายเป็นเมืองศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจของทั้งบริเวณเมดิเตอเรเนียนและโลกอิสลามอัลอันดะลุสก็มีความขัดแย้งกับอาณาจักรของชาวคริสต์ทางตอนเหนือตลอดมาในสมัยประวัติศาสตร์ ในปี ค.ศ. 1085 พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 แห่งคาสตีลก็ทรงยึดเมืองโตเลโดได้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความเสื่อมโทรมของอำนาจของมุสลิมในไอบีเรีย เมื่อมาถึง ค.ศ. 1236 หลังจากเสียกอร์โดบา ราชอาณาจักรกรานาดาก็กลายเป็นเพียงดินแดนเดียวที่ยังเหลือเป็นของมุสลิมในดินแดนที่มารู้จักกันในปัจจุบันว่าสเปน การพิชิตดินแดนคืนของโปรตุเกสเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1249 โดยการยึดอัลการ์วีโดยพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 3 ในปี ค.ศ. 1238 กรานาดาก็กลายเป็นอาณาจักรบริวารของราชอาณาจักรคาสตีลที่ขณะนั้นปกครองโดยพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 3 และเมื่อวันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 1492 มุฮัมมัดที่ 12 แห่งกรานาดาก็ยอมแพ้ยกการปกครองกรานาดาให้แก่พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอารากอน และสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสตีล ผู้ทรงได้รับสมญานามร่วมกันว่า “Los Reyes Católicos” (พระมหากษัตริย์คาทอลิก)