อัลเพนโกลว์
อัลเพนโกลว์

อัลเพนโกลว์

อัลเพนโกลว์ (อังกฤษ: alpenglow, เยอรมัน: Alpenglühen) เป็นแถบแสงเรืองสีแดง ปรากฏใกล้เส้นขอบฟ้าด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เมื่อดวงอาทิตย์อยู่ต่ำกว่าเส้นขอบฟ้า ปรากฏการณ์นี้สังเกตได้ง่ายจากภูเขาที่ส่องสว่าง และสามารถเกิดกับเมฆผ่านการกระเจิงกลับของแสง สาเหตุที่อัลเพนโกลว์มีสีแดงหรือชมพูเกิดจากดวงอาทิตย์อยู่ในมุมต่ำ และใช้เวลานานในการเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศไปกระทบยังภูเขา[1]อัลเพนโกลว์ถูกอธิบายกว้าง ๆ ว่าเกิดจากแสงอาทิตย์ที่สะท้อนจากเมฆหลังพระอาทิตย์ตกหรือก่อนพระอาทิตย์ขึ้น เมื่อพระอาทิตย์อยู่ต่ำกว่าเส้นขอบฟ้า แสงอาทิตย์จะไม่สามารถส่องไปที่ภูเขาโดยตรง แต่สะท้อนผ่านหยาดน้ำฟ้า ผลึกน้ำแข็ง ฝุ่นละอองในชั้นบรรยากาศส่วนล่างในลักษณะแสงพร่า ซึ่งลักษณะนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่จำแนกอัลเพนโกลว์จากแสงอาทิตย์ระหว่างพระอาทิตย์ตกและพระอาทิตย์ขึ้นโดยตรง[2][3] หากไม่มีภูเขาหลังพระอาทิตย์ตก อัลเพนโกลว์อาจปรากฏเป็นแสงสีแดงจากละอองลอยบนท้องฟ้าทิศตะวันออก คล้ายแสงสีชมพูที่เรียกว่า แถบวีนัส (Belt of Venus) ที่ปรากฏเหนือเงาโลกแม้จะมีการอธิบายว่าแสงพร่าเป็นสาเหตุของอัลเพนโกลว์ แต่ยังมีการแย้งว่าปรากฏการณ์นี้เกิดจากแสงอาทิตย์โดยตรงจากพระอาทิตย์ตกและพระอาทิตย์ขึ้น[4][5] และต้องเกิดขึ้นกับท้องฟ้าโปร่ง