งานวิชาการ ของ อากิระ_ซูซูกิ

(จากซ้าย) ซูซูกิ เนงิชิ และเฮ็ก

ซูซูกิเข้าทำงานวิจัยหลังปริญญาเอกตั้งแต่ พ.ศ. 2506 ถึง 2508 กับเฮอร์เบิร์ต ซี. บราวน์ที่มหาวิทยาลัยเพอร์ดูก่อนจะกลับมาดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยฮกไกโด ที่มหาวิทยาลัยฮกไกโด ซูซูกิได้นำประสบการณ์จากมหาวิทยาลัยเพอร์ดูมาใช้ศึกษาปฏิกิริยาควบแน่นร่วมกับผู้ช่วยได้แก่โนริโอะ มิยาอูระ (ญี่ปุ่น: 宮浦憲夫 โรมาจิMiyaura Norio) และนำไปสู่การค้นพบปฏิกิริยาซูซูกิใน พ.ศ. 2522[7] ข้อได้เปรียบของปฏิกิริยานี้คือกรดโบโรนิกเสถียรในน้ำและอากาศ ทำให้ใช้งานได้ง่ายกว่าปฏิกิริยาควบแน่นแบบอื่น ๆ [8] กลไกการเกิดปฏิกิริยาซูซูกิแสดงด้านล่าง

Suzuki Coupling Full Mechanism 2

ซูซูกิลาออกจากมหาวิทยาลัยฮกไกโดเมื่อ พ.ศ. 2537 ก่อนจะไปทำงานมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์โอกายามะจนถึง พ.ศ. 2538 แล้วย้ายไปที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และศิลปะคูราชิกิจนถึง พ.ศ. 2542[9] (ทั้งสองแห่งตั้งอยู่ในจังหวัดโอกายามะ) และยังได้เป็นศาสตราจารย์รับเชิญที่มหาวิทยาลัยเพอร์ดูใน พ.ศ. 2544 และมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันใน พ.ศ. 2545

ซูซูกิได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีร่วมกับริชาร์ด เฮ็กและเออิจิ เนงิชิเมื่อ พ.ศ. 2553[10]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อากิระ_ซูซูกิ http://www.chem-station.com/chemist-db/archives/20... http://eprints.lib.hokudai.ac.jp/dspace/handle/211... http://eprints.lib.hokudai.ac.jp/dspace/handle/211... http://www.yomiuri.co.jp/science/news/20101007-OYT... //doi.org/10.1016%2FS0040-4039(01)95429-2 //doi.org/10.1021%2Fcr00039a007 //doi.org/10.5059%2Fyukigoseikyokaishi.62.410 http://nobelprize.org/nobel_prizes/chemistry/laure... http://unesdoc.unesco.org/images/0019/001906/19064... https://www.zhihu.com/question/25670119/answer/314...