ลักษณะทางสถาปัตยกรรม ของ อาคาร_อีสต์_เอเชียติก

รูปแบบของอาคารได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมฟื้นฟูเรอแนซ็องส์ของยุโรป

ตัวอาคารทางเข้าหันหน้าเข้าหาแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีบันไดจากภายนอกเข้าสู่อาคาร ชั้น 2 บริเวณกึ่งกลางอาคาร มีการก่ออิฐฉาบปูน 3 ชั้น ด้านบนเป็นดาดฟ้า การประดับตกแต่งอาคารค่อนข้างเรียบง่าย ไม่หรูหราฟุ่มเฟือย การทำบันไดทางขึ้นด้านหน้าลักษณะนี้เป็นรูปแบบหนึ่งที่นิยมสร้างในสมัยรัชกาลที่ 4

ผนังด้านหน้าอาคารแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนกลางทำเป็นส่วนเน้น ของอาคาร โดยออกแบบให้ยื่นออกมาจากผนังด้านข้างเล็กน้อย และมีขนาดกว้างกว่าผนังอีก 2 ส่วนที่ขนาบข้าง ด้านบนเป็นผนังที่ก่ออิฐฉาบปูน ทำสัญลักษณ์เป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยม ยอดโค้งครึ่งวงกลม ภายในปั้นปูนลายสมอเรืออยู่ภายในธง

อาคารชั้น 1 และชั้น 2 ผนังส่วนกลางอาคารแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ทำเป็นซุ้มโค้งครึ่งวงกลมต่อเนื่องกัน 3 ซุ้ม (ส่วนละซุ้ม) และผนังที่ขนาบด้านข้างทั้ง 2 ข้างแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ทำเป็นซุ้มโค้งครึ่งวงกลมต่อเนื่องกัน 2 ซุ้ม ผนังชั้น 2 ของอาคารตกแต่งด้วยลายปูนปั้น บริเวณระหว่างซุ้มโค้งของผนังชั้น 3 แบ่งเป็นส่วนๆ ตามชั้น 1 และ 2 แต่ละส่วนเจาะเป็นซุ้มหน้าต่างโค้งครึ่งวงกลมต่อเนื่องกันส่วนละ 2 ซุ้ม[4]

ใกล้เคียง

อาคาร อาคารอนุรักษ์ อาคารใบหยก 2 อาคารรัฐสภาไทย อาคารผู้โดยสารสนามบิน อาคารไปรษณีย์กลาง อาคารคิวนาร์ด อาคารกาบานัก อาคารวรรณสรณ์ อาคารรักษาพยาบาล และสถานีรถไฟร่วมศิริราช