ประวัติ ของ อาคารสวนกุหลาบ

ไฟล์:100 ปี ตึกยาว สวนกุหลาบวิทยาลัย.jpgตราสัญลักษณ์งานเฉลิมฉลอง ตึกยาว ครบรอบ 100 ปี ในงาน มหัศจรรย์รำลึก 100 ปีตึกยาว ในสโลแกนที่ว่า คนสร้างตึก ตึกสร้างคน คนสร้างชาติ วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อาคารสวนกุหลาบ เริ่มก่อสร้างราวกลางปี พ.ศ. 2453 โดยมี หลวงราชายาสาธก มรรคนายก วัดราชบุรณราชวรวิหาร เป็นผู้ลงนามในสัญญาจ้าง และ นายเอง เลียงหยง เป็นผู้รับเหมา ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 30110 บาท เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) เป็นประธานในพิธีเปิด และพิธีทำบุญโรงเรียน เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2454

โดยกรมศึกษาธิการ ทำสัญญาเช่าวัด ซึ่งระบุให้จ่ายค่าเช่าแก่วัดราชบูรณะ ในอัตราร้อยละ 7.5 ของเงินลงทุน รวมค่าเช่าสงฆ์ 2,258.25 บาท ต่อปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 และกำหนดส่งมอบอาคาร ในวันที่ 11 กรกฎาคม ปีเดียวกันนั้น

อาคารสวนกุหลาบ ก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมยุโรปแบบนีโอสยาม ซึ่งเป็นที่นิยมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตัวอาคารทอดยาว ตามแนวถนนตรีเพชร ผนังอาคารด้านติดถนน ชั้นล่างเป็นแนวหน้าต่างโค้ง ส่วนชั้นบน ถอยร่นผนังเข้าไป อยู่หลังแนวซุ้มโค้งที่เป็นทางเดิน ช่องทางเข้าสู่โรงเรียน สร้างเป็นหลังคาจั่ว ตกแต่งด้วยปัลลาเดียนโมทิฟ (Palladion Motif)

ตามแบบของวิลลา ที่ออกแบบโดย อันเดรอา ปัลลาดีโอ ผนังด้านภายในโรงเรียน เป็นแนวทางเดินซุ้มโค้ง (อาเขต) ช่างซ่อมยาวตลอดทั้งสองชั้น ตัวอาคารมีความยาวทั้งสิ้น 198.35 เมตร กว้าง 11.35 เมตร หลังคามุงด้วยกระเบื้องลอนสีเทา มี 37 ห้อง ชั้นบน 19 ห้อง ชั้นล่าง 18 ห้อง ภายในกั้นเป็นห้องขนาด 15x9 เมตร 1 ห้อง สลับกับห้องขนาด 7x9 เมตร 2 ห้อง ตลอดความยาวของอาคาร มีประตู 164 บาน มีหน้าต่าง 166 บาน มีบันได 12 แห่ง มีช่องลูกกรงไม้ 54 แห่ง

ปัจจุบันด้านล่างเป็นพิพิธภัณฑ์การศึกษาแห่งโรงเรียน และด้านบนใช้เป็นห้องเรียน

ไฟล์:อาคารโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ด้านใน.javอาคารโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย มองจากด้านใน (ภาพถ่ายปี 2559)

การบูรณะ

อาคารสวนกุหลาบในปัจจุบัน

อาคารสวนกุหลาบ มีการบูรณะมาแล้วหลายครั้ง ดังที่ปรากฏหลักฐานว่า ในปี พ.ศ. 2475 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และ สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) จึงมีการขยายถนนตรีเพชร พร้อมทั้งขยับแนวรั้วโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ด้านติดกับถนนเข้าไปในบริเวณโรงเรียน ปรับส่วนที่เป็นบันไดออก แล้วฉาบปูนให้เรียบ อาคารสวนกุหลาบ จึงกลายเป็นกำแพงโรงเรียน ด้านถนนตรีเพชร ส่วนด้านหลัง ที่เคยหันหน้าเข้าสนามฟุตบอล ก็กลายเป็นด้านหน้าของตึกเรียนแทน ซึ่งต่อมาได้จัดสร้างบันไดกลางอาคารเพิ่มเติม

บันไดอาคารโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ฝั่งเพาะช่าง ด้านล่างเป็นห้องชุมนุมถ่ายภาพเดิม (ภาพถ่ายปี 2559)

ครั้งที่ 1 ราวปี พ.ศ. 2488 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง อาคารสวนกุหลาบได้รับความเสียหายจากระเบิดใน 2 ห้องสุดท้าย ฝั่งที่ติดกับโรงเรียนเพาะช่าง จึงมีการบูรณะซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ต่อมา สมัยที่นายสุวรรณ จันทร์สม เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ดำเนินการเปลี่ยนหลังคา จากกระเบื้องสี่เหลี่ยม เป็นกระเบื้องลอน และเปลี่ยนพื้นไม้ เป็นพื้นหินขัด และปรับฐานรากใต้อาคาร โดยใช้ทรายถมแทนซุง จากนั้น สมัยที่นายสำเริง นิลประดิษฐ์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน เป็นผู้เชิญ ดร.รชฎ กาญจนวณิชย์ ศิษย์เก่าสวนกุหลาบ ซึ่งเป็นวิศวกรผู้ชำนาญ ให้เข้าสำรวจอาคาร ระหว่างปี พ.ศ. 2525-พ.ศ. 2526 เพื่อออกแบบซ่อมแซมอาคารสำหรับการอนุรักษ์

ต่อมา กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนอาคารสวนกุหลาบเป็นโบราณสถาน โดยลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 104 ตอนที่ 18 วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 ประเภทพื้นที่อนุรักษ์เป็นมรดกของชาติ บนเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ 1 งาน 6 ตารางวา

ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2538 สมัยที่นางสมหมาย วัฒนคีรี เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน เป็นผู้ประสานขอความร่วมมือจาก สมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้เชิญเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรเข้าสำรวจอาคาร เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา

นอกจากนี้ นางสมหมาย ยังริเริ่มจัดงาน ราตรีนี้โปรยด้วยกลีบกุหลาบ เพื่อรวบรวมเงินทุนในการบูรณะอาคาร โดยร่วมมือกับ นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ศิษย์เก่าสวนกุหลาบ ในฐานะ ประธานกรรมการ บริษัท แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) โดยมีศิษย์เก่ารุ่นต่างๆ ผู้ปกครอง คณาจารย์ และนักเรียน เข้าร่วมกิจกรรม รวบรวมเงินทุนได้ประมาณ 10 ล้านบาท โดยมอบให้สมาคมศิษย์เก่าฯ เป็นผู้ดูแลเงินทุนดังกล่าว

ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2540 นายเนวิน ชิดชอบ ศิษย์เก่าสวนกุหลาบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้น สนับสนุนการจัดสรรงบประมาณในการบูรณะอาคารหลังนี้ เป็นเงิน 136,500,000 บาท โดยดำเนินการปูฐานรากใหม่ ด้วยการอัดคอนกรีต เพื่อดีดตัวตึกขึ้น ให้รากฐานแข็งแรง

ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2542 สมัยที่นายธานี สมบูรณ์บูรณะ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน อนุมัติโครงการจัดสร้าง พิพิธภัณฑ์การศึกษาแห่งชาติ ภายในบริเวณอาคารทั้งหมด โดยดำเนินการจัดทำพิพิธภัณฑ์โรงเรียน บริเวณชั้นล่างก่อน เมื่อการบูรณะแล้วเสร็จ นายศิริ สุงคาสิทธิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนในสมัยนั้น มีการจัดพิธีรับขวัญอาคารสวนกุหลาบ เพื่อฉลองในโอกาสที่บูรณะอาคารจนเสร็จสมบูรณ์ แล้วจึงจัดทำห้องแสดงนิทรรศการถาวรของพิพิธภัณฑ์ ภายในอาคาร จำนวน 14 ห้อง ประกอบด้วย ห้องสำนักงาน ห้องรับรองพิเศษ ห้องรับรองทั่วไป และ ห้องนำเสนอ โดยมี อาจารย์จรูญรัตน์ สุวรรณภูสิทธิ์ ผู้เสนอโครงการจัดทำพิพิธภัณฑ์ และหอจดหมายเหตุ เป็นหัวหน้างานพิพิธภัณฑ์การศึกษา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย คนแรก ระหว่างปี พ.ศ. 2545-พ.ศ. 2547

ใกล้เคียง

อาคาร อาคารอนุรักษ์ อาคารใบหยก 2 อาคารรัฐสภาไทย อาคารผู้โดยสารสนามบิน อาคารไปรษณีย์กลาง อาคารคิวนาร์ด อาคารกาบานัก อาคารวรรณสรณ์ อาคารรักษาพยาบาล และสถานีรถไฟร่วมศิริราช

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาคารสวนกุหลาบ http://www.facebook.com/skunesco http://maps.google.com/maps?ll=13.743400,100.49832... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.7434... http://www.osknetwork.com/modules.php?name=News&fi... http://www.skmuseum.com http://www.skmuseum.com/longbuilding-history.php http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.globalguide.org?lat=13.743400&long=100.... http://www.wikimapia.org/maps?ll=13.743400,100.498... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%...