สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ของ อาชญากรรมสงครามของเยอรมนี

ภาพถ่ายจากทางอากาศของการโจมตีด้วยแก๊สของเยอรมัน ในแนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แก๊สพิษชนิดร้ายแรงถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกโดยเยอรมัน และต่อมาได้ถูกใช้โดยคู่สงครามที่สำคัญรายอื่นๆ ในการฝ่าฝืนสนธิสัญญากรุงเฮกฉบับที่ 4 ปี ค.ศ. 1907

เอกสารเกี่ยวกับการก่ออาชญากรรมสงครามของเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้ถูกนาซีเยอรมันทำการยึดและทำลายในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ภายหลังจากที่ฝรั่งเศสถูกยึดครอง พร้อมกับอนุสรณ์สถานเพื่อรำลึกถึงเหยื่อของพวกเขา[8]

อาวุธเคมีในสงคราม

แก๊สพิษได้ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในฐานะอาวุธโดยจักรวรรดิเยอรมันและต่อมาได้ถูกใช้โดยคู่สงครามที่สำคัญทั้งหมด โดยทำการฝ่าฝืนสนธิสัญญากรุงเฮกว่าด้วยแก๊สที่ทำให้ขาดอากาศหายใจ ปี ค.ศ. 1899 และสนธิสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการทำสงครามทางบก ปี ค.ศ. 1907 ซึ่งได้มีการห้ามเอาไว้อย่างชัดเจนว่ามิให้ใช้"อาวุธที่ทำด้วยพิษหรือมีพิษ"ในการทำสงคราม[9][10]

เบลเยียม

ภาพถ่ายการประหารชีวิตพลเรือนในเบลนีโดยนาย Évariste Carpentier

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1914 ส่วนหนึ่งของแผนชลีเฟน กองทัพเยอรมันได้ทำการรุกรานเข้ายึดประเทศเบลเยียมทื่วางตัวเป็นกลางโดยไม่มีการเตือนอย่างแจ่มแจ้ง ซึ่งเป็นการละเมิดสนธิสัญญา ปี ค.ศ. 1839 ที่นายกรัฐมนตรีเยอรมันได้ทำการยกเลิกให้กลายเป็น"เศษกระดาษ" และสนธิสัญญากรุงเฮก ปี ค.ศ. 1907 ว่าด้วยการเปิดทำสงคราม ภายในสองเดือนแรกของสงคราม เยอรมันผู้ยึดครองได้ทำการคุกคามชาวเบลเยียม สังหารพลเรือนหลายพันคนและปล้นสะดมและเผาเมืองต่าง ๆ รวมทั้งเลอเฟิน ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ส่วนใหญ่เป็นการตอบโต้จากการทำสงครามกองโจรของชาวเบลเยียม การกระทำครั้งนี้ถือเป็นการละเมิดสนธิสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการทำสงครามทางบก ปี ค.ศ. 1907 ที่มีการห้ามมิให้มีการลงโทษร่วมกันต่อพลเรือนและการปล้นสะดมและทำลายทรัพย์สินของพลเรือนในดินแดนที่ถูกยึดครอง

การระดมยิงปืนใหญ่ที่เมืองชายฝั่งอังกฤษ

การโจมตีโฉบฉวยที่สการ์เบอร์โร ฮาร์ตลีพูล และวิตบี้ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1914 เป็นการโจมตีโดยกองทัพเรือจักรวรรดิเยอรมันที่ท่าเรือของอังกฤษในเมืองสการ์เบอร์โร ฮาร์ตลีพูล และวิตบี้ การโจมตีดังกล่าวส่งผลทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 137 คน และเสียชีวิต 592 คน การโจมตีดังกล่าวเป็นการละเมิดมาตราที่ 9 ของสนธิสัญญากรุงเฮก ปี ค.ศ. 1907 ซึ่งได้ห้ามมิให้มีการโจมตีด้วยการระดมยิงปืนใหญ่จากทางเรือในเมืองที่ไม่มีการป้องกันโดยปราศจากการเตือนล่วงหน้า[11] เพราะมีเพียงเมืองฮาร์ลีพลูเท่านั้นที่ได้รับการป้องกันโดยกองปืนใหญ่ชายฝั่ง[12] เยอรมนีเป็นผู้ลงนามในสนธิสัญญากรุงเฮก ปี ค.ศ. 1907[13] การโจมตีอีกครั้งที่ตามมาในวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1916 บนเมืองชายฝั่งของยาร์เมาท์และโลเวสตอฟ แต่ทั้งสองเมืองต่างเป็นฐานทัพเรือที่สำคัญและได้รับการป้องกันโดยกองปืนใหญ่ชายฝั่ง

สงครามเรือดำน้ำอย่างไม่จำกัด

สงครามเรือดำน้ำอย่างไม่จำกัด ถูกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1915 เพื่อเป็นการตอบโต้การปิดล้อมทางทะเลต่อเยอรมนีของบริติช กฏแห่งรางวัลซึ่งกำหนดไว้ภายใต้สนธิสัญญากรุงเฮก ปี ค.ศ. 1907 เช่น กฏระเบียบที่กำหนดให้ผู้โจมตีเรือพาณิชย์ทำการเตือนเป้าหมายของตนและให้เวลาสำหรับลูกเรือในการขึ้นเรือชูชีพ -แต่กลับถูกเพิกเฉยและเรือพาณิชย์ถูกจมลงโดยไม่คำนึงถึงสัญชาติ สินค้า หรือจุดหมายปลายทาง ภายหลังการจมเรืออาร์เอ็มเอ็ส ลูซิเทเนีย เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1915 และเสียงเรียกร้องโวยวายของสาธารณชนที่ตามมาในประเทศที่เป็นกลางงต่างๆ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา การปฏิบัติได้ถูกถอดถอนออกไป แต่อย่างไรก็ตาม เยอรมนีกลับมาปฏิบัติอีกครั้งในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 และประกาศว่าเรือบรรทุกสินค้าทั้งหมดโดยไม่คำนึงถึงสัญชาติ จะถูกจมโดยปราศจากการเตือนล่วงหน้า สิ่งนี้ได้สร้างความไม่พอใจให้กับสาธารณชนสหรัฐ กระตุ้นให้สหรัฐตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับเยอรมนีในอีกสองวันต่อมาและพร้อมกับโทรเลขซิมแมร์มันน์ ทำให้สหรัฐต้องร่วมสงครามในอีกสองเดือนต่อมาโดยอยู่ข้างฝ่ายสัมพันธมิตร

ใกล้เคียง

อาชญา อาชญากรรมในประเทศไทย อาชญากรรมสงครามของรัสเซีย อาชญากลปล้นโลก อาชญากลปล้นโลก 2 อาชญากรรม อาชญากรรมสงครามของเยอรมนี อาชญากรรมสงคราม อาชญาวิทยา อาชญากรรมสงครามระหว่างการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาชญากรรมสงครามของเยอรมนี http://www.dw-world.de/dw/article/0,1564,1084266,0... http://afraf.oxfordjournals.org/cgi/content/abstra... http://bazhum.muzhp.pl/media//files/Rocznik_Wielun... https://books.google.com/books?id=0PYx0j3wRvAC&q=p... https://books.google.com/books?id=5Ef8Hrx8Cd0C&pg=... https://books.google.com/books?id=hEH7KcpN-OcC&q=p... https://books.google.com/books?id=nhU3BAAAQBAJ&pg=... https://query.nytimes.com/gst/fullpage.html?res=9C... https://archive.org/details/cu31924027858426 https://archive.org/details/horrorsatrocitie00mars