อ้างอิง ของ อาทิตตปริยายสูตร

แต่ข้อความใหม่ ซึ่งถูกต้องตรงกับเรื่องในตอนนี้ ก็อยู่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ นี้เช่นเดียวกัน แต่อยู่คนละข้อกัน ข้อความเดิม(ซึ่งไม่ตรงกับเรื่อง)อยู่ในข้อ ๓๐๓ แต่ข้อความที่ตรงกับเรื่อง อยู่ในข้อ ๓๑

นอกจากนี้ยังมีปรากฏในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ (วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑)ข้อ ๕๕ อีกด้วยข้อเสนอ : ผู้รับผิดชอบวิกิพีเดียควรนำข้อความนี้ไปแทนที่ข้อความเดิมรายละเอียดมีดังนี้ครับ

อาทิตตปริยายสูตร

[๕๕] ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลอุรุเวลา ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จ จาริกไปโดยมรรคาอันจะไปสู่ตำบลคยาสีสะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ๑๐๐๐ รูป ล้วนเป็นปุราณชฎิล. ได้ยินว่า พระองค์ประทับอยู่ที่ตำบลคยาสีสะ ใกล้แม่น้ำคยานั้น พร้อมด้วยภิกษุ ๑๐๐๐ รูป.ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้:-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของร้อน รูปทั้งหลายเป็นของร้อน วิญญาณอาศัยจักษุเป็นของร้อน สัมผัสอาศัยจักษุเป็นของร้อน ความเสวยอารมณ์ เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย แม้นั้นก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร? เรากล่าวว่า ร้อนเพราะไฟคือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะความเกิด เพราะความแก่ และความตาย ร้อนเพราะความโศก เพราะความรำพัน เพราะทุกข์กาย เพราะทุกข์ใจ เพราะความคับแค้น.โสตเป็นของร้อน เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน ...ฆานะเป็นของร้อน กลิ่นทั้งหลายเป็นของร้อน ...ชิวหาเป็นของร้อน รสทั้งหลายเป็นของร้อน ...กายเป็นของร้อน โผฏฐัพพะทั้งหลายเป็นของร้อน ...มนะเป็นของร้อน ธรรมทั้งหลายเป็นของร้อน วิญญาณอาศัยมนะเป็นของร้อนสัมผัสอาศัยมนะเป็นของร้อน ความเสวยอารมณ์เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย แม้นั้นก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร? เรากล่าวว่า ร้อนเพราะไฟคือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะความเกิด เพราะความแก่และความตาย ร้อนเพราะความโศก เพราะความรำพัน เพราะทุกข์กาย เพราะทุกข์ใจ เพราะความคับแค้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณอาศัยจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัมผัสอาศัยจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสต ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียงทั้งหลาย ...ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่นทั้งหลาย ...ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรสทั้งหลาย ...ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะทั้งหลาย ...ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมนะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณอาศัยมนะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัมผัสอาศัยมนะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย.เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี. ก็แล เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของภิกษุ ๑๐๐๐ รูปนั้น พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.อาทิตตปริยายสูตร จบ


อ้างอิงBUDSIR VI (พระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)- พระไตรปิฎก ภาษาไทย เล่มที่ ๔ (วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑)ข้อ ๕๕ หน้า ๔๙- พระไตรปิฎก ภาษาไทย เล่มที่ ๑๘ (สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค)ข้อ ๓๑ หน้า ๑๘อรรถกถา ดูที่ พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล (ชุด ๙๑ เล่ม)เล่ม ๒๘ หน้า ๓๔

ใกล้เคียง

อาทิตย์ กำลังเอก อาทิตยา ตรีบุดารักษ์ อาทิตย์ ตั้งวิบูลย์พาณิชย์ อาทิตย์ อุไรรัตน์ อาทิตยา บุญยะเลี้ยง อาทิตย์ ตั้งสวัสดิ์รัตน์ อาทิตย์ บุตรจินดา อาทิตย์ ดาวสว่าง อาทิตตปริยายสูตร อาทิตย์ สุนทรพิธ