ประวัติ ของ อานันท์_ปันยารชุน

อานันท์ ปันยารชุน เกิดเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2475 เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน 12 คน[1] ของมหาอำมาตย์ตรี พระยาปรีชานุสาสน์ (เสริญ ปันยารชุน) ชาวไทยเชื้อสายมอญ กับคุณหญิงปฤกษ์ ปรีชานุสาสน์ (ปฤกษ์ โชติกเสถียร) ชาวไทยเชื้อสายจีน[2][3] (แคะ)[4] ซึ่งตัวเขาเองมีเชื้อสายจีนมาจากยายซึ่งใช้แซ่เล่า (จีน: 劉; หลิว)[5]

อานันท์ ปันยารชุนมีพี่น้องดังนี้

  1. สุธีรา เกษมศรี ณ อยุธยา
  2. ปฏดา วัชราภัย
  3. กุนตี พิชเยนทรโยธิน
  4. หม่อม จิตรา วรวรรณ ณ อยุธยา
  5. ดุษฎี โอสถานนท์
  6. กรรถนา อิศรเสนา ณ อยุธยา
  7. สุภาพรรณ ชุมพล ณ อยุธยา
  8. พันตรี ดร.รักษ์ ปันยารชุน ผู้ก่อตั้ง บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด
  9. กุศะ ปันยารชุน กรรมการผู้จัดการ บริษัท World Travel Service จำกัด
  10. พันตำรวจเอก ประสัตถ์ ปันยารชุน
  11. ชัช ปันยารชุน

ส่วนนายอานันท์สมรสกับหม่อมราชวงศ์สดศรีสุริยา จักรพันธุ์ ธิดาหม่อมเจ้าคัสตาวัส จักรพันธุ์ [6] และหม่อมเจ้าทิตยาทรงกลด รพีพัฒน์ มีธิดา 2 คนคือ

  • นันดา ไกรฤกษ์ (สมรสกับ ไกรทิพย์ ไกรฤกษ์ บุตรพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ อดีตเลขาธิการสำนักพระราชวัง)
  • ดารณี เจริญรัชต์ภาคย์ อดีต กรรมการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย[7] (สมรสกับ ชัชวิน เจริญรัชต์ภาคย์ บุตร ศ.ดร.นาวาเอก เจริญ เจริญรัชต์ภาคย์[8] ร.น. อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม และ ท่านผู้หญิงสมศรี)

การศึกษาและการทำงาน

อานันท์จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จากนั้นไปศึกษาต่อที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร จากดัลวิชคอจเลจ (Dulwich College) และปริญญาตรีด้านกฎหมาย (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่อ พ.ศ. 2498

หลังจบการศึกษา อานันท์เข้ารับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหประชาชาติ เมื่อ พ.ศ. 2510 จากนั้นย้ายไปเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา และเป็นผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ

ในปี พ.ศ. 2518 อานันท์ ปันยารชุน เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เดินทางไปเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ก่อนที่หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช จะเดินทางไปสถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการในเวลาต่อมา วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2518 อานันท์ ปันยารชุน ถูกปลดจากตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำคณะทูตถาวรสหประชาชาติ ณ นคร นิวยอร์ก โดยให้เป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศสหรัฐอเมริกาเพียงตำแหน่งเดียว[9]ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2518[10]ได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงการต่างประเทศ

ในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2520 ได้รับแต่งตั้งเป็น เอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษ ประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการต่างประเทศ [11]ในรัฐบาล ธานินทร์ กรัยวิเชียร

จากนั้นถูกย้ายไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทย ประจำประเทศเยอรมนี ก่อนจะลาออกจากราชการในปี พ.ศ. 2522

นายอานันท์ หันมาทำงานด้านธุรกิจ ร่วมงานกับกลุ่มบริษัทสหยูเนี่ยน จนกระทั่งเป็นประธานกรรมการกลุ่มบริษัทเมื่อ พ.ศ. 2534 และดำรงตำแหน่งประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

อานันท์ขณะเยือนประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2534

แหล่งที่มา

WikiPedia: อานันท์_ปันยารชุน http://216.109.125.130/search/cache?p=anand+%22chi... http://www.anandpanyarachun.com/en_bio.html http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=8... http://nationmultimedia.com/2006/09/29/politics/po... http://www.posttoday.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%... http://www.thaiday.com/Politics/ViewNews.aspx?News... http://web.archive.org/web/20111105175306/http://w... http://web.archive.org/web/20120513185635/http://w... http://web.archive.org/web/20141114152930/http://w... http://www.kaowao.org/PROUD%20TO%20BE%20MON%20SAYS...