อายาวัสกา
อายาวัสกา

อายาวัสกา

อายาวัสกา (สเปน: ayahuasca) เป็นยาต้มที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทจากอเมริกาใต้ ตามธรรมเนียมแล้วใช้โดยวัฒนธรรมพื้นบ้านกับหมอชาวบ้านในลุ่มแม่น้ำแอมะซอนและโอริโนโกเพื่อประกอบพิธีกรรมและรักษาโรคที่เกี่ยวกับจิตและกาย เดิมทีอายาวัสกามีจำกัดอยู่ในแถบประเทศเปรู, บราซิล, โคลอมเบีย และเอกวาดอร์ ก่อนที่จะเริ่มแพร่หลายไปยังประเทศบราซิลนับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 ในบริบทของศาสนาเกิดใหม่ที่ใช้อายาวัสกาในทางพิธีกรรม เช่น ซังตูไดมี, อูนีเยาดูเวเฌตัล และบาร์กีญา ซึ่งเป็นศาสนาที่ผสมผสานลัทธิเชมันแอมะซอน, ศาสนาคริสต์, ลัทธิวิญญาณนิยม และศาสนาพื้นถิ่นชาวบราซิลเชื้อสายแอฟริกา เข่น อุงบังดา, กังดงแบล และตังโบร์จีมีนา หลังจากนั้นมา อายาวัสกาได้แพร่หลายไปในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงสหรัฐ, สหราชอาณาจักร, ยุโรปตะวันตก และเริ่มมีบ้างในยุโรปตะวันออก, แอฟริกาใต้, ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น[1][2][3]ไม่นานมานี้ ปรากฏการณ์ใหม่ ๆ เกี่ยวกับการใช้อายาวัสกาได้พัฒนาและขยับไปสู่ศูนย์กลางในเมืองต่าง ๆ ของอเมริกาเหนือและยุโรป ประกอบกับการเติบโตของพิธีกรรมที่ผสมผสานลัทธิเชมันใหม่, การท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ และการท่องเที่ยวเน้นการใช้สารเพื่อนันทนาการ[4][5] หลักฐานโดยเรื่องเล่า การศึกษาในหมู่ผู้บริโภคอายาวัสกา และการทดลองทางคลินิกเสนอว่าอายาวัสกามีความเป็นไปได้ทางเภสัชวิทยาในการรักษาที่กว้าง โดยเฉพาะในการรักษาความผิดปกติทางอารมณ์ โรควิตกกังวล และโรคเสพติดสาร[6][7][8][9][10]อายาวัสกามักทำมาจากการต้มเคี่ยวลำต้นของเถาวัลย์ชนิด Banisteriopsis caapi และใบของไม้พุ่มชนิด Psychotria viridis เป็นเวลานาน กระนั้น มีพืชชนิดอื่นอีกนับร้อยที่อาจนำมาเติมหรือทดแทนได้ขึ้นอยู่กับการเตรียมที่แตกต่างกันไป[11] P. viridis ประกอบด้วยสาร N,N-ไดเมธิลทริปทามีน (DMT) สารซึ่งออกฤทธิ์หลอนประสาทอย่างหนัก แม้จะไม่ได้ออกฤทธิ์หากรับประทานโดยตรง ส่วน B. caapi เต็มไปด้วยอัลคาลอยด์ฮาร์มาลา เช่น ฮาร์มีน, ฮาร์มาลีน และเททราไฮโดรฮาร์มีน (THH) ซึ่งสามารถออกฤทธิ์เป็นตัวยับยั้งโมโนอามีนออกซีเดส (MAOi) ซึ่งยับยั้งการสร้างและสลาย DMT ในตับและในทางเดินอาหาร ส่งผลให้ DMT สามารถเข้าสู่การไหลเวียนในระบบเลือดทั่วร่างกายและในสมอง ที่ซึ่งไปกระตุ้นตัวรับ 5-HT1A/2A/2C ในสมองส่วนหน้าและส่วนพาราลิมบิก[12][13]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: อายาวัสกา http://journals.sagepub.com/doi/10.1177/0020764071... https://doi.org/10.1177%2F002076407101700402 https://www.worldcat.org/issn/0020-7640 https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/5145130 https://books.google.com/books?id=kSzPDwAAQBAJ&q=B... http://dx.doi.org/10.1016/j.jep.2007.04.012 https://doi.org/10.1016%2Fj.jep.2007.04.012 https://www.worldcat.org/issn/0378-8741 https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17532158 http://dx.doi.org/10.1590/1516-4446-2014-1496