วงโคจรคลาร์ก ของ อาร์เธอร์_ซี._คลาร์ก

วงโคจรคลาร์ก

ชื่อของคลาร์ก ถูกนำมาตั้งเป็นชื่อของ วงโคจรคลาร์ก (clarke belt) หรือ วงโคจรค้างฟ้า (Geostationary orbit - GEO) เป็นวงโคจรที่ดาวเทียมส่วนใหญ่ใช้ในการสื่อสารระหว่างประเทศ นำเสนอแนวคิดเป็นครั้งแรกตั้งแต่ ค.ศ. 1928 โดย Herman Potočnik วิศวกรชาวสโลวีเนีย และเป็นที่รู้จักจากบทความที่คลาร์กเป็นผู้เขียน ชื่อ"Extra-Terrestrial Relays — Can Rocket Stations Give Worldwide Radio Coverage?"[2] ตีพิมพ์ในหนังสือ Wireless World ฉบับเดือนตุลาคม ค.ศ. 1945

คลาร์กนำเสนอแนวคิดในการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก ด้วยการใช้ดาวเทียมอย่างน้อย 3 ดวง โคจรเหนือเส้นศูนย์สูตร ในตำแหน่งที่ทำมุมซึ่งกันและกัน 120 องศา ที่ความสูง 42,164 กิโลเมตร วัดจากจุดศูนย์กลางของโลก หรือประมาณ 35,787 กิโลเมตร (22,237 ไมล์) จากระดับน้ำทะเลปานกลาง โคจรไปพร้อมกับโลกด้วยความเร็วเท่ากับเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเอง (Synchronous orbit) และตำแหน่งของดาวเทียมจะคงที่ตลอดเวลา เมื่อเปรียบเทียบกับโลก

ใกล้เคียง

อาร์เอส อาร์เอ็มเอส ไททานิก อาร์เอ็มเอส โอลิมปิก อาร์เอส มิวสิค อาร์เอ็ม (แร็ปเปอร์) อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี อาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย อาร์เอ็มเอส มอริเทเนีย อาร์เทอร์ คอมป์ตัน อาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาร์เธอร์_ซี._คลาร์ก http://www.cnn.com/2008/SHOWBIZ/books/03/18/obit.c... http://www.imdb.com/title/tt0128884/ http://www.imdb.com/title/tt0247885/ http://news.sanook.com/world/world_224893.php http://blog.wired.com/wiredscience/2008/03/video-a... http://www.youtube.com/watch?v=eLXQ7rNgWwg http://www.arthurcclarke.net/ http://www.clarkefoundation.org/ http://lakdiva.org/clarke/1945ww/ https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Arthur...