ประวัติ ของ อาสนวิหารวีวีเย

ตั้งอยู่บนบริเวณโบสถ์เก่าตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 11 (เสกเมื่อปี ค.ศ. 1119) ซึ่งบนสถานที่นี้เคยเป็นที่ตั้งของอารามที่เก่ากว่านี้อีก ได้ผ่านการบูรณะซ่อมแซมต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 ทำให้อาสนวิหารแห่งนี้มีทั้งองค์ประกอบในการป้องกันตนเอง บริเวณกลางโบสถ์แบบสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ และบริเวณร้องเพลงสวดแบบกอทิกวิจิตร

มุขนายกโกลด เดอ ตูร์นง เป็นผู้ปรับปรุงบูรณะอาสนวิหาร รวมทั้งเปลี่ยนบริเวณร้องเพลงสวดให้เป็นแบบกอทิกวิจิตรระหว่างปี ค.ศ. 1516–1521

  • เพดานโค้งแบบประทุนซ้อน ผลงานของฟร็องก์
  • เพดานโค้งของบริเวณร้องเพลงสวด

บริเวณร้องเพลงสวดมีความโอ่อ่าและงดงามทางสถาปัตยกรรม ตรงข้ามกับบริเวณกลางโบสถ์ที่มีขนาดเล็กและเรียบง่าย ซึ่งประกอบด้วยที่นั่งไม้จำนวน 2 แถว ตกแต่งโดยรอบด้วยพรมแขวนผนังจากสำนักกอแบล็ง ตรงกลางมีแท่นบูชาแบบสถาปัตยกรรมบาโรกสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่ทำจากโมเสกหินอ่อนย้อมสี

บริเวณกำแพงโดยรอบของบริเวณร้องเพลงสวดถูกทำลายลงระหว่างสงครามศาสนาของฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1567 ซึ่งต่อมาได้ถูกสร้างครอบด้วยไม้ทดแทน และบริเวณเพดานก็บูรณะกลับเป็นหินในปี ค.ศ. 1757–1759 โดยฌ็อง-บาติสต์ ฟร็องก์ สถาปนิกชาวอาวีญง

  • บริเวณร้องเพลงสวด : บัลลังก์มุขนายก, ที่นั่งร้องเพลงสวด, พรมแขวนผนัง
  • แท่นบูชาและพรมแขวนผนัง
  • แผ่นปิดที่ตั้งหลุมฝังศพของอดีตมุขนายก
  • เพดานโค้งของชาเปลข้าง

หอระฆัง ("หอแซ็ง-มีแชล") สร้างในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 11 เชื่อมกับบริเวณกลางโบสถ์โดยมุขทางเข้า บริเวณฐานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสตกแต่งด้วยลายหน้าต่างโค้งตัน (Lombard band) เคยเป็นที่ตั้งของหอล้างบาป ซึ่งในปัจจุบันถูกปิดตายด้วยกำแพงอิฐ ด้านบนของหอเป็นที่ตั้งของชาเปลซึ่งอุทิศแด่นักบุญมีคาเอล (อัครทูตสวรรค์มีคาเอล) ชั้นบนถัดไปเป็นบริเวณหอระฆังที่ไม่เคยสร้างเสร็จ (สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 12) อีกชั้นซึ่งเป็นทรงแปดเหลี่ยมได้รับการต่อเติมในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เพื่อเพิ่มความสูงเป็น 40 เมตร ภายในหอระฆังมีระฆังทั้งหมด 4 ลูก

  • หอระฆัง
  • มุขทางเข้า

ใกล้เคียง

อาสนวิหาร อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส อาสนวิหารกลอสเตอร์ อาสนวิหารอัสสัมชัญ อาสนวิหารลิงคอล์น อาสนวิหารนักบุญเปาโล อาสนวิหารแร็งส์ อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล อาสนวิหารโคโลญ อาสนวิหารอาเมียง