ประวัติศาสตร์ ของ อาสนวิหารออร์ทอดอกซ์ตีมีชออารา

ประวัติศาสตร์ของอาสนวิหารใกล้เคียงอย่างมากกับปี 1919 โดยในวันที่ 28 กรกฎาคม บานาตได้รวมเข้ากับโรเมเนีย โดยรัฐบาลใหม่ของโรเมเนียนี้มีมาตรการที่จะสนับสนุนการนับถือลัทธิออร์ทดอกซ์ ซึ่งก่อนหน้าถูกละเลยโดยรัฐของออสโตรฮังการี ซึ่งอุปถัมภ์นิกายคาทอลิก ในการนี้ได้จัดตั้งบิชอพริซแห่งตีมีชอออารา (Bishopric of Timișoara) ขึ้นมา และต่อมาได้เติบโตขึ้นเป็นอาร์คบิชอพริซ (archbishopric) ในปี 1939 และต่อมาในปี 1947 ได้ก่อตั้งมหามณฑลบานาตขึ้น[5]

ชุมชนออร์ทอดอกซ์ในตีมีชออาราและบานาตของโรเมเนียได้มีความต้องการสร้างโบสถ์ใหญ่ขึ้น ด้วยการริเริ่มของพาริชแห่งซีเตต (ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ของตีมีชออารา) ได้มีการจัดตั้งการรวบรวมทุนและมีการส่งอุทธรณ์ไปยังเขตนักบวชต่าง ๆ เพื่อรับเงินบริจาค ในปี 1936 ปัจจัยต่าง ๆ สำหรับการเริ่มก่อสร้างได้มีพร้อม และเงินทุนได้รวบรวมเป็นที่เรียบร้อย ถึงแม้ว่าจะเป็นเงินบริมาณที่สูงมาด ศาลาว่าการเมืองได้บริจาคที่ดินตรงจุดที่ถนนสายสำคัญตัดกันในเมืองเพื่อสร้างโบสถ์ โครงการจึงส่งต่อในปี 1934 ให้แก่สถาปนิก Ion Trajanescu [ro][6] ภายใต้ข้อกำหนดที่ต้องการให้โบสถ์สามารถรองรับ 5,000 คน อิฐที่ใช้ก่อสร้างโบสถ์นั้นศาลาว่าการเป็นผู้มอบให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และบริษัทเหล็ก Reșița Steel Works ยังมอบส่วนลด 30% ให้กับการซื้อเหล็ก 330 ตัน[2]

การก่อสร้างเริ่มต้นจริงในวันที่ 16 มีนาคม 1936 และในวันที่ 20 ธันวาคมปีเดียวกัน ได้มีการจัดมิสซา (solemn service) เพื่อประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เสกโดยบิชอป Andrei Magieru แห่งอาราด[7] การก่อสร้างควบคุมโดยบริษัทของ Tiberiu Eremia จากบูคาเรสต์[2] ระฆังและกางเขนโบสถ์ได้รับการเสกในวันที่ 23 สิงหาคม 1938 การรับ (reception) งานก่อสร้างมีขึ้นในวันที่ 9 กรกฎาคม 1940 และสภาสงฆ์อนุมัติในวันที่ 24 กรกฎาคม[2] พิธีเปิดอาสนวิหารมีขึ้นในวันทร่ 6 ตุลาคม 1946 โดยมีพยานในพิธีได้แก่กษัตริย์มิคาเอลที่หนึ่ง, นายกรัฐมนตรี Petru Groza, สังฆราช Nicodim Munteanu, บิชอปแห่งตีมีชออารา Vasile Lăzărescu [ro], เทโตรโปลิตันแห่งทรานซิลเวเนีย (Metropolitan of Transylvania) Nicolae Bălan และผู้แทนของคริสต์ชนลัทธิอื่น นำโดยบิชอปโรมันคาทอลิก Augustin Pacha และบิชอปกรีกคาทอลิก Ioan Bălan ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองหลังโรเมเนียหันไปรบกับเยอรมนี เครื่องบินระเบิดของเยอรมนีทิ้งระเบิดในตีมีชออารา (30–31 ตุลาคม 1944) มีระเบิดรวมหกลูกที่ลงใส่โบสถ์ ระเบิดเพียงหนึ่งลูก เป็นอันตรายใหญ่แต่ขนาดไม่มาก[8] งานจิตรกรรมทั้งนอกและในโบสถ์เสร็จสิ้นในปี 1956 ล่าช้าเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่สอง

ใกล้เคียง

อาสนวิหาร อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส อาสนวิหารกลอสเตอร์ อาสนวิหารอัสสัมชัญ อาสนวิหารลิงคอล์น อาสนวิหารนักบุญเปาโล อาสนวิหารแร็งส์ อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล อาสนวิหารโคโลญ อาสนวิหารอาเมียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาสนวิหารออร์ทอดอกซ์ตีมีชออารา //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //www.worldcat.org/oclc/5410558 //www.worldcat.org/oclc/64400612 https://www.circom-regional.eu/doc-download/ac/848... https://id.loc.gov/authorities/names/no2010208062 https://viaf.org/viaf/161052275 https://www.wikidata.org/wiki/Q1261597#identifiers https://www.worldcat.org/identities/lccn-no2010208... https://adevarul.ro/locale/timisoara/foto-20-lucru... https://adevarul.ro/locale/timisoara/foto-s-a-cons...