อาสนวิหารแอจมียัตซิน
อาสนวิหารแอจมียัตซิน

อาสนวิหารแอจมียัตซิน

อาสนวิหารแอจมียัตซิน (อังกฤษ: Etchmiadzin Cathedral[upper-alpha 3]; อาร์มีเนีย: Էջմիածնի մայր տաճար, Ēǰmiatsni mayr tačar) เป็นอาสนวิหารหลักของคริสตจักรอัครสาวกอาร์มีเนีย ตั้งอยู่ในเมืองวาการ์สชาพัต จังหวัดอาร์มาวีร์ ประเทศอาร์มีเนีย[upper-alpha 4] นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นอาสนวิหารแห่งแรกที่สร้างขึ้นในพื้นที่ของอาร์มีเนียโบราณ[upper-alpha 5] และมักถือกันว่าเป็นหนึ่งในอาสนวิหารที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[upper-alpha 6]โบสถ์หลังเดิมสร้างขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 4[33] ระหว่างปี ค.ศ. 301 ถึง 303 ตามธรรมเนียม สร้างขึ้นโดยนักบุญองค์อุปถัมภ์ของประเทศอาร์มีเนีย นักบุญเกรกอรี ผู้นำความกระจ่าง ตามหลังการรับศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำรัฐโดยพระเจ้าเตอร์ดัตที่ 3 แห่งอาร์มีเนีย ตัวโบสถ์สร้างขึ้นทับวิหารของเพกัน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนผ่านจากการนับถือลัทธิเพกันไปสู่ศาสนาคริสต์ โครงหลักของโบสถ์หลังปัจจุบันสร้างขึ้นราวปี ค.ศ. 483/4 โดยวาฮัน มามีกอนียัน หลังโบสถ์หลังเดิมถูกทำลายระหว่างการรุกรานของพวกเปอร์เซียถึงแม้อาสนวิหารนี้ไม่เคยสูญเสียความสำคัญลง แต่ตัวอาคารก็ถูกทิ้งและขาดการดูแลเป็นเวลานับศตวรรษ ในปี ค.ศ. 1441 โบสถ์ได้รับการบูรณะขึ้นใหม่เป็นคาทอลิโกเซต และยังคงมีหน้าที่ดังนี้จนถึงปัจจุบัน[34] นับตั้งแต่การโยกย้ายศูนย์กลางบริหารของคริสตจักรอาร์มีเนียไปที่อาณาจักรพระมารดาแอจมียัตซินศักดิ์สิทธิ์ อาสนวิหารก็ถูกชาห์อับบาสที่ 1 แห่งเปอร์เซียปล้นในปี ค.ศ. 1604 ที่ซึ่งหินศักดิ์สิทธิ์และเรลิกต่าง ๆ ถูกนำไปไว้ที่โนว์โจลฟอ นับจากนั้นอาสนวิหารได้รับการทำนุบำรุงขึ้นเรื่อย ๆ หอระฆังได้ถูกนำเข้ามาติดตั้งในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 17 และเมื่อปี ค.ศ. 1868 มีการสร้างห้องเก็บเครื่องพิธีที่ปลายฝั่งตะวันออกของอาสนวิหาร[2] ปัจจุบัน อาสนวิหารประกอบด้วยองค์ประกอบจากสถาปัตยกรรมอาร์มีเนียยุคต่าง ๆ ถึงแม้จะสูญเสียความสำคัญไปในสมัยสหภาพโซเวียตเข้ายึดครอง แต่สุดท้ายก็กลับมาดำรงความสำคัญอีกครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 และตลอดมาหลังอาร์มีเนียได้รับเอกราช[2]อาสนวิหารนี้ถือเป็นศูนย์กลางของชาวคริสต์อาร์มีเนียทั่วโลก ที่ตั้งของแอจมียัตซินในอาร์มีเนียดำรงความสำคัญในแง่ของทางศาสนา วัฒนธรรม และการเมืองมาโดยตลอด[35] และเป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญที่มีผู้มาเยี่ยมเยียนมากที่สุดในประเทศอาร์มีเนีย[36] อาสนวิหารนี้และคริสต์ศาสนสถานโดยรอบอีกจำนวนหนึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโกให้เป็นแหล่งมรดกโลกในปี ค.ศ. 2000

อาสนวิหารแอจมียัตซิน

รูปแบบสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมอาร์มีเนีย
สถาปัตยกรรม อาสนวิหาร
พิกัดภูมิศาสตร์ 40°09′42″N 44°17′28″E / 40.161769°N 44.291164°E / 40.161769; 44.291164พิกัดภูมิศาสตร์: 40°09′42″N 44°17′28″E / 40.161769°N 44.291164°E / 40.161769; 44.291164
ปีที่เสร็จ ค.ศ. 303 (อาคารเดิม; วันเวลาแบบธรรมเนียม)[1]
ค.ศ. 483/4–1868 (อาคารหลังปัจจุบัน)
  • ค.ศ. 483/4 (พื้นที่ร่วม)[2][3]
  • คริสต์ศตวรรษที่ 17 (โดม)[4][upper-alpha 1]
  • ค.ศ. 1654–1658 (หอแขวนระฆัง)[2]
  • ค.ศ. 1682 (หอแขวนระฆังเล็กและหอคอยเล็ก)[2]
  • ค.ศ. 1868 (ห้องเก็บเครื่องพิธี)[2]
ผู้สร้าง นักบุญเกรกอรี ผู้สร้างความกระจ่าง (ดั้งเดิม)
ความกว้าง 30 เมตร (98 ฟุต)[2]
สถานะ เปิดให้บริการ
ความยาว 33 เมตร (108 ฟุต)[2]
ความสูง ไม่ทราบชัดเจน, สูงกว่า 27 เมตร (89 ฟุต)[upper-alpha 2]
ที่ตั้ง วาการ์สชาพัต จังหวัดอาร์มาวีร์ ประเทศอาร์มีเนีย
พิธีกรรม จารีตอาร์มีเนีย
พิธีปฐมฤกษ์ ค.ศ. 301 (อาคารเดิม; วันเวลาแบบธรรมเนียม)[1]
ศาสนา คริสตจักรอัครสาวกอาร์มีเนีย

ใกล้เคียง

อาสนวิหาร อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส อาสนวิหารกลอสเตอร์ อาสนวิหารอัสสัมชัญ อาสนวิหารลิงคอล์น อาสนวิหารนักบุญเปาโล อาสนวิหารแร็งส์ อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล อาสนวิหารโคโลญ อาสนวิหารอาเมียง