ประชากร ของ อำเภอธารโต

ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายู ราวร้อยละ 60 และชาวไทยพุทธร้อยละ 40[1] ซึ่งรวมไปถึงชาวไทยเชื้อสายจีน, ชาวไทยจากภาคเหนือ, อีสาน และใต้ อพยพมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในเขตนิคมทั้งสามแห่ง ได้แก่ นิคมสร้างตนเองธารโต นิคมสร้างตนเองเบตง และนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ (นิคมกือลอง)[1] มีมัสยิด 16 แห่ง[5] มีวัดทั้งหมด 6 วัด[6] ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำสวนยางพารา สวนผลไม้ และทำประมงน้ำจืด

และที่นี่ยังเป็นถิ่นที่อยู่ของเงาะป่าซาไก ซึ่งได้รับพระราชทานนามสกุล "ศรีธารโต" จากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี[7] พวกยังดำรงชีวิตอย่างโบราณอยู่ แม้ว่าทางกรมประชาสงเคราะห์จะสร้างที่พักและที่ทำกินให้ แต่พวกเขาก็มิใคร่ใส่ใจ เพราะพวกเขาพอใจที่จะใช้ชีวิตอย่างเดิมมากกว่า[4] แต่ปัจจุบันพวกเขานิยมที่จะอาศัยในประเทศมาเลเซียตั้งแต่เมื่อ 12 ปีก่อน และ 3 ปีที่ผ่านมาชาวซาไกที่เหลือก็เริ่มเข้าไปในมาเลเซียอย่างจริงจัง ด้วยเหตุผลด้านความไม่สงบ และข้อเสนอที่ดีของทางการมาเลเซียที่ให้ที่ทำกินที่ดีกว่าแก่พวกเขา[7]

ชาวซาไกนับถือศาสนาพุทธและผี ส่วนในมาเลเซียนับถือศาสนาอิสลาม แต่เป็นเพียงในนามเท่านั้นเพื่อความมั่นคงของตนเอง[7]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อำเภอธารโต http://www.angelfire.com/nm/analai2/yala.html http://maps.google.com/?ie=UTF8&ll=6.08093,101.255... http://www.islamthailand.com/thai521/musyid/list6-... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=6.08093... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://yaladopa.com/data/node/167 http://arabic.amannews.org/view/view.php?id=489 http://www.globalguide.org?lat=6.08093&long=101.25... http://www.wikimapia.org/maps?ll=6.08093,101.25549... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%...