ประวัติ ของ อำเภอปลาปาก

สถานที่ตั้งรกรากของชาวปลาปาก นับว่าเป็นชนเผ่าที่น่าสนใจมิใช่น้อยเลยทีเดียว ความเป็นมาของบรรพบุรุษของชาวปลาปากเดิมมีถิ่นที่อยู่ในเขตประเทศลาวที่เมืองมหาชัย แขวงคำม่วน พระทองสัมฤทธิ์ที่กล่าวถึงในตำนานนี้มีอยู่จริง และประดิษฐานอยู่ที่วัดคณิศรธรรมิการาม

คำว่า “เว้า” นี้เป็นภาษาท้องถิ่นซึ่งความหมายก็คือ พูด ตำนานเกี่ยวกับ ปลาเว้า มีประวัติความเป็นมาว่าบริเวณนี้ในฤดูฝนมีน้ำหลาก จึงทำให้มีปลาชนิดหนึ่งลักษณะคล้ายปลาตะเพียนทองมารวมอยู่เป็นจำนวนมาก และส่งเสียงร้องอึงคะนึงคล้ายเสียงคนพูดกัน ชาวบ้านจึงพากันเรียกขานบริเวณแห่งนี้ว่า ปลาเว้า(ปลาพูด) คำว่า “ปาก” นี้ในภาษาถิ่นอีสานเป็นคำกริยา หมายถึง พูด ดังนั้น ปลาปากก็คือ ปลาพูดหรือ ปลาเว้านั่นเอง ชาวบ้านจึงได้ตั้งชื่อว่า ปลาปากตั้งแต่นั้นมา[1]

  • วันที่ 15 มิถุนายน 2508 แยกพื้นที่ตำบลปลาปาก ตำบลกุตาไก้ และตำบลหนองฮี อำเภอเมืองนครพนม มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอปลาปาก[2] ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองนครพนม
  • วันที่ 20 กันยายน 2509 ตั้งตำบลนามะเขือ แยกออกจากตำบลกุตาไก้ ตั้งตำบลมหาชัย แยกออกจากตำบลปลาปาก ตั้งตำบลโคกสว่าง แยกออกจากตำบลปลาปาก และตำบลหนองฮี[3]
  • วันที่ 16 พฤศจิกายน 2514 ยกฐานะกิ่งอำเภอปลาปาก อำเภอเมืองนครพนม เป็น อำเภอปลาปาก[4]
  • วันที่ 5 กรกฎาคม 2517 ตั้งตำบลโคกสูง แยกออกจากตำบลมหาชัย[5]
  • วันที่ 31 ตุลาคม 2521 ตั้งตำบลหนองเทาใหญ่ แยกออกจากตำบลโคกสว่าง[6]
  • วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2528 จัดตั้งสุขาภิบาลปลาปาก ในท้องที่บางส่วนของตำบลปลาปาก[7]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลปลาปาก เป็นเทศบาลตำบลปลาปาก

แหล่งที่มา

WikiPedia: อำเภอปลาปาก http://www.plapak.net //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://district.cdd.go.th/plapak/about-us/%E0%B8%9... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2508/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2509/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2514/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2517/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2521/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2528/D/...