ประวัติ ของ อำเภอพรหมพิราม

คำว่า พรหมพิราม หมายถึง เมืองที่งดงามเป็นที่อยู่แห่งพรหมหรือพระเจ้าผู้สร้างโลก เดิมเรียกว่า เมืองพรหมพิราม ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่าน ตำบลมะตูม ต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภอชื่อว่า อำเภอพรหมพิราม เมื่อ พ.ศ. 2438 และได้ย้ายที่ตั้งที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่ฝั่งขวาของลำน้ำน่านที่ บ้านย่านขาด เมื่อประมาณ 50 ปีที่ผ่านมา ต่อมาเมืองทางรัฐบาลได้สร้างทางรถไฟสายเหนือ (กรุงเทพ-เชียงใหม่) ขึ้นจึงย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งใกล้ทางรถไฟอีกครั้งหนึ่งที่บ้านกรับพวง (ปัจจุบัน คือบ้านพรหมพิราม) ตำบลพรหมพิราม ห่างจากสถานีรถไฟพรหมพิราม ประมาณ 500 เมตร สำหรับอาคารนั้นแต่เดิมเป็นไม้ชั้นเดียว ในปี พ.ศ. 2503 จึงได้ปรับปรุงขึ้นเป็น 2 ชั้น โดยเทพื้นคอนกรีตใต้ถุนอาคารเดิมและตีฝาโดยรอบ ซึ่งใช้เป็นที่ทำการของส่วนราชการต่างๆ ปัจจุบันได้สร้างที่ว่าการอำเภอใหม่ ณ สถานที่เดิมเป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น และเปิดทำการเมื่อ ปี พ.ศ. 2519[1]

  • วันที่ 1 เมษายน 2480 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดพิษณุโลก กับจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยโอนพื้นที่หมู่ 5,7 (ในขณะนั้น) ของตำบลตลุกเทียม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ไปขึ้นกับหมู่ 9 ของตำบลพญาแมน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ให้ถือคลองต่อเขตฝั่งเหนือนับตั้งแต่ริมบ้านข่อม ไปจนตลอดปลายคลองซึ่งต่อกับคลองตรั่งเป็นเส้นแบ่งเขต[2]
  • วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2490 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอเมืองพิษณุโลก กับอำเภอพรหมพิราม โดยโอนพื้นที่หมู่ 13 (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมืองพิษณุโลก มาขึ้นกับตำบลท่าช้าง อำเภอพรหมพิราม[3]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลคันโช้ง แยกออกจากตำบลหินลาด ตั้งตำบลท้อแท้ แยกออกจากตำบลวัดโบสถ์ ตั้งตำบลทับยายเชียง แยกออกจากตำบลวงฆ้อง และตำบลมะต้อง ตั้งตำบลบ้านยาง แยกออกจากตำบลหินลาด และตำบลท่างาม[4]
  • วันที่ 9 ธันวาคม 2490 แยกพื้นที่ตำบลวัดโบสถ์ ตำบลท้อแท้ ตำบลท่างาม ตำบลหินลาด และตำบลคันโช้ง ของอำเภอพรหมพิราม ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอวัดโบสถ์[5] และขึ้นการปกครองกับอำเภอพรหมพิราม
  • วันที่ 23 ธันวาคม 2490 โอนพื้นที่ตำบลบ้านยาง อำเภอพรหมพิราม ไปขึ้นกับ กิ่งอำเภอวัดโบสถ์[6]
  • วันที่ 17 กันยายน 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลวงฆ้อง ในท้องที่บางส่วนของตำบลวงฆ้อง และบางส่วนของตำบลมะต้อง[7]
  • วันที่ 5 มิถุนายน 2499 ยกฐานะกิ่งอำเภอวัดโบสถ์ อำเภอพรหมพิราม เป็น อำเภอวัดโบสถ์[8]
  • วันที่ 28 พฤศจิกายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลพรหมพิราม ในท้องที่บางส่วนของตำบลพรหมพิราม[9]
  • วันที่ 26 กันยายน 2510 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอพรหมพิราม กับอำเภอเมืองพิษณุโลก โดยโอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลมะตูม อำเภอพรหมพิราม ไปขึ้นกับตำบลจอมทอง อำเภอเมืองพิษณุโลก[10]
  • วันที่ 5 กันยายน 2521 ตั้งตำบลดงประคำ แยกออกจากตำบลทับยายเชียง[11]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลวงฆ้อง และสุขาภิบาลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม เป็นเทศบาลตำบลวงฆ้อง และเทศบาลตำบลพรหมพิราม ตามลำดับ[12]
  • วันที่ 21 ตุลาคม 2547 กำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอพรหมพิรามให้มีอาณาเขตตำบลที่ถูกต้อง โดยกำหนดให้ตำบลพรหมพิรามให้มีเขตการปกครองรวม 15 หมู่บ้าน ตำบลท่าช้าง ให้มีเขตการปกครองรวม 13 หมู่บ้าน ตำบลวงฆ้อง ให้มีเขตการปกครองรวม 11 หมู่บ้าน ตำบลมะตูม ให้มีเขตการปกครองรวม 6 หมู่บ้าน ตำบลหอกลอง ให้มีเขตการปกครองรวม 7 หมู่บ้าน ตำบลศรีภิรมย์ ให้มีเขตการปกครองรวม 12 หมู่บ้าน ตำบลตลุกเทียม ให้มีเขตการปกครองรวม 8 หมู่บ้าน ตำบลวังวน ให้มีเขตการปกครองรวม 10 หมู่บ้าน ตำบลหนองแขม ให้มีเขตการปกครองรวม 10 หมู่บ้าน ตำบลมะต้อง ให้มีเขตการปกครองรวม 11 หมู่บ้าน ตำบลทับยายเชียง ให้มีเขตการปกครองรวม 6 หมู่บ้าน และตำบลดงประคำ ให้มีเขตการปกครองรวม 10 หมู่บ้าน[13]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อำเภอพรหมพิราม //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://district.cdd.go.th/phromphiram/about-us/%E0... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2480/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2490/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2490/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2490/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2490/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2498/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2499/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2499/D/...