แหล่งท่องเที่ยว ของ อำเภออรัญประเทศ

ด่านอรัญประเทศ
  • ปราสาทเขาน้อยสีชมพู เป็นโบราณสถานของชาติ ปราสาทเขาน้อยสีชมพูแห่งนี้ ยังปรากฏอยู่ในภาพสัญลักษณ์ประจำจังหวัดสระแก้วอีกด้วย
  • ปราสาทเมืองไผ่ โบราณสถานที่ก่อสร้างด้วยอิฐศิลาแลง ปัจจุบันพังทลายจนไม่มีเค้าโครงเดิมให้เห็น นับเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่และทรงคุณค่าอีกแห่งหนึ่ง
  • เนินโบราณสถานบ้านหนองคู
  • โบราณสถานเขารัง
  • วัดชนะไชยศรี
  • ศิลาจารึกบ้านกุดแต้
  • ตลาดอินโดจีนรถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการรถโดยสารประจำทางทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน สอบถามได้ที่ โทร 0-2936-2852-66 ต่อ 311 ท่ารถปลายทางอยู่หน้าตลาดอินโดจีน
  • พระสยามเทวาธิราช ตั้งอยู่บริเวณใกล้ที่ทำการเทศบาลอรัญประเทศ ติดกับสถานีตำรวจ สร้างขึ้นมานานกว่า 20 ปี เป็นที่เคารพนับถือของชาวอรัญประเทศ หลายคนเชื่อว่าเป็นผู้ปกปักษ์รักษาเมืองอรัญให้รอดพ้นจากภัยพิบัติร้ายแรง
  • ตลาดชายแดนบ้านคลองลึก (ตลาดโรงเกลือ) ตลาดชายแดนไทย-กัมพูชา ที่มีสินค้าจำหน่ายมากมาย เช่น เสื้อผ้า เครื่องทองเหลือง กระเบื้องถ้วยชามต่าง ๆ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักสาน เป็นต้น
  • วัดอนุบรรพต สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นวัดที่มีอุโบสถสวยงามและลักษณะแปลกกว่าอุโบสถทั่วไป คือสร้างเป็นฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หลังคาทรงไทยยอดแหลมสูง ตกแต่งสวยงาม
  • ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ศาลหลักเมืองที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2375 เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนในจังหวัดสระแก้ว
  • ประตูชัยอรัญประเทศ สร้างเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2482 โดยกรมยุทธโยธาทหารบกได้ระดมกำลังทหารช่างทำการสร้างทั้งกลางวันและและกลางคืนตลอด 24 ชั่วโมง แล้วเสร็จภายใน 29 วัน เสร็จเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2482
  • ประตูทางผ่านเข้าออกไทย-กัมพูชา ที่ตั้งอยู่ระหว่างพรมแดนไทย-กัมพูชา ติดกับตำบลปอยเปต ประตูแห่งนี้ถูกปิดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2518 ปัจจุบันได้เปิดพรมแดน ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ทำให้ประชาชนชาวไทยและกัมพูชาเดินผ่านเข้าออกหากันได้
  • สถานีรถไฟอรัญประเทศ สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 เป็นสถานีแห่งประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นเป็นสถานที่ร่วมสมัยในยุครถจักรไอน้ำเฟื่องฟูจนถึงรถจักรหัวลากดีเซลหลักฐานที่ยังคงหลงเหลือคือหอเหล็กเติมน้ำให้หัวรถจักรในบริเวณใกล้เคียงกันไม่ไกลนัก ทางรถไฟไทยสร้างบนเส้นทางสมัยโบราณ ทางสายกรุงเทพ-อรัญประเทศ ในสมัยรัชกาลที่ 5 รัฐบาลสยามได้ตัดทางรถไฟเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯกับฉะเชิงเทรา (แปดริ้ว) ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงได้ขยายเส้นทางไปทางตะวันออกจนเชื่อมกับรถไฟของกัมพูชาหรืออินโดจีนฝรั่งเศสในขณะนั้นที่ ต.คลองลึก อ.อรัญประเทศ

เส้นทางรถไฟสายตะวันออกยังคงใช้แนวทางคมนาคมเก่าคือแม่น้ำลำคลองที่มีอยู่ก่อนหน้าเป็นสำคัญ

ทางรถไฟแยกออกจากทางสายหลักที่สถานีจิตรลดาไปทางทิศตะวันออกโดยล้อกับแนวคลองมหานาคซึ่งอยู่ทางใต้ คลองมหานาคนี้ขุดขึ้นสมัยรัชกาลที่ 1 แยกจากคูเมืองตรงวัดสระเกศเพื่อใช้เดินทางติดต่อกับชุมชนทางตะวันออกของกรุงเทพ ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 3 ได้ขุดต่อออกไปเชื่อมกับแม่น้ำบางปะกงที่ประตูน้ำท่าไข่ ฉะเชิงเทราเพื่อการส่งกำลังไปทำสงครามด้านตะวันออกคือเขมรและญวนในสมัยนั้น เรียกกันต่อมาว่าคลองแสนแสบ

จากคลองตัน ทางรถไฟข้ามคลองแสนแสบซึ่งหันเบนขึ้นไปทางเหนือ จากนี้ทางรถไฟก็จะเปลี่ยนมาใช้แนวคู่ขนานกับคลองประเวศบุรีรมย์ตรงบริเวณบ้านทับช้าง คลองประเวศฯขุดขึ้นในปี พ.ศ. 2423 แยกจากคลองพระโขนงไปทางตะวันออกเป็นเส้นตรงถึงแม่น้ำบางปะกงใต้เมืองฉะเชิงเทราเล็กน้อย ระหว่างที่ทางรถไฟใช้แนวคลองประเวศไปถึงฉะเชิงเทราก็จะข้ามคลองสำคัญหลายแห่งซึ่งไหลจากเหนือลงใต้อันเป็นคลองที่ระบายน้ำจากที่ลุ่มต่ำฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่ทะเลมีทั้งคลองธรรมชาติและคลองขุด เช่น คลองหลวงแพ่ง คลองอุดมชลจร คลองเปรง คลองแขวงกลั่น คลองบางพระ เข้าสู่ตัวเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งในสมัยแรกสร้างนั้นรางรถไฟได้ไปสุดทางที่สถานีแปดริ้วริมแม่น้ำบางปะกง

ทางแยกไปอรัญประเทศคือรางรถไฟหัวมุมเลี้ยวขึ้นทิศเหนือเพื่อตามแนวแม่น้ำบางปะกงขึ้นไปแต่ใช้การตัดทางตรงผ่านที่ราบจนพบกับแม่น้ำโยทะกาไหลมาจากนครนายกลงแม่น้ำบางปะกง จุดนี้เองเป็นเส้นทางเดินทัพในสมัยโบราณที่ถูกกล่าวถึงเมื่อคราวสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไล่รบกับกองทัพพม่าแถบเมืองบางคางหรือปราจีนบุรี

ตั้งแต่ช่วงบ้านสร้าง ทางรถไฟโค้งไปทางตะวันออกล้อกับแม่น้ำบางปะกงที่เรียกตอนนี้ว่าแม่น้ำปราจีนบุรี ซึ่งจะมีแนวเทือกเขาใหญ่ขนานอยู่ทางทิศเหนือ จนเข้าสู่เมืองปราจีนบุรี จากจุดนี้ทางรถไฟใช้การตัดทางใหม่ลัดเข้าสู่ต้นน้ำบางปะกง มีชุมชนโบราณที่เป็นด่านระหว่างทางบนลำน้ำ เช่น ประจันตคามหรือด่านกบแจะ กบินทร์บุรีหรือด่านหนุมานและพระปรง(เป็นจุดที่ทางรถไฟข้ามแควหนุมานและแควพระปรง ต้นน้ำบางปะกง) ต่อจากนั้นจึงใช้เส้นทางบกตัดลัดผ่านชุมชนที่ราบ เช่น สระแก้ว วัฒนานคร จนถึงอรัญประเทศและจุดผ่านแดนบ้านคลองลึกเข้าสู่ปอยเปตของกัมพูชา

แท้จริงแล้ว เส้นทางรุถไฟจากปราจีนบุรีจนถึงอรัญประเทศน่าจะซ้อนทับลงบนทางเดินบกโบราณจากภาคกลางของไทยไปสู่ที่ราบลุ่มทะเลสาบของเขมรที่เรียกกันว่า ฉนวนไทย มีแหล่งโบราณคดีใหญ่น้อยกระจายตัวกันตามลำน้ำอันเป็นต้นสายแม่น้ำบางปะกงคือแควหนุมานกับแควพระปรง และยังมีด่านพระจารึก ซึ่งปรากฏชื่อในเอกสารพงศาวดารสมัยอยุธยาว่าเป็นจุดสำคัญทางประวัติศาสตร์บนเส้นทางสายนี้ด้วย

ดังนั้น เส้นทางรถไฟจากชายแดนไทย-กัมพูชาที่มีต่อไปจนถึงศรีโสภณ พระตะบอง จึงน่าจะสร้างลงบนทางเดินโบราณนี้ด้วยเช่นกัน

ของการจราจร ทั้งนักท่องเที่ยวและรถขนส่งสินค้า ไทยและกัมพูชาจึงมีแนวคิด แยกคนและสินค้า ออกจากกัน เน้นการขนส่งสินค้าเป็นหลัก ที่ตั้งบ้านหนองเอี่ยน

แหล่งที่มา

WikiPedia: อำเภออรัญประเทศ http://www.arantoday.com http://www.cons-max.com http://sarakadee.com //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.dopa.go.th/xstat/p4827_02.html http://www.sko.moph.go.th/webdata/HomeReport.php?s... http://www.sko.moph.go.th/webdata/PopReportAge.php... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0E/0013... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/D/...