ประวัติ ของ อำเภอเมืองพิจิตร

   "พิจิตร" แปลว่า "งาม" เมื่อกล่าวถึงเมืองพิจิตรจึงหมายถึงเมืองงาม เมืองที่มีเสน่ห์ประทับใจ นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ คือ เป็นที่ประสูติของพระเจ้าเสือ หรือ "พระศรีสรรเพชญ์ที่ 8" พระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยาและเป็นเมืองที่ให้กำเนิดนักปราชญ์ราชบัณฑิต คือ พระโหราธิบดี บิดาของศรีปราชญ์

     จังหวัดพิจิตรเป็นจังหวัดเก่าแก่มากจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เชื่อกันว่าเจ้ากาญจนกุมาร (พระยาโคตระบอง) โอรสพระยาโคตมเทวราช เป็นผู้สร้างเมือง เหนือฝั่งแม่น้ำน่านในปี พ.ศ. 1601 เดิมมีหลายชื่อ คือ เมืองสระหลวง เมืองโอฆะบุรี เมืองชัยบวรและเมืองปากยม ดินแดนอันเป็นเขตจังหวัดพิจิตรอยู่ในที่ราบลุ่มตอนใต้ของภาคเหนือในดินแดนสุวรรณภูมิบริเวณนี้เป็นบริเวณที่ลำน้ำยมและลำน้ำน่านไหลผ่าน ลักษณะพิเศษของดินแดนจังหวัดพิจิตรเดิมเต็มไปด้วยห้วย หนอง คลอง บึง พื้นดินจังหวัดพิจิตร เป็นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตร เพราะเป็นดินตะกอนที่เกิดจากน้ำท่วมทับถมทุกปีมีปลาชุกชุม

     ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อเปลี่ยนการปกครองเป็นแบบจตุสดมภ์และแบ่งหัวเมืองออกเป็นหัวเมือง เอก โท ตรี จัตวา เมืองพิจิตรมีฐานะเป็นเมืองตรี มีความสำคัญทางทหารและการปกครองมาก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์คำกลอนเรื่อง "ไกรทอง" โดยใช้เมืองพิจิตรเป็นแหล่งกำเนิดของเรื่องราว เนื่องจากเมืองพิจิตร เป็นเมืองที่มีแหล่งน้ำมากมายและมีจระเข้ชุกชุมนั่นเอง ในปี พ.ศ. 2435 กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้นำรูปแบบการปกครองระบบ เทศภิบาลมาใช้และได้จัดตั้งมณฑลพิษณุโลก เป็นมณฑลแรกประกอบด้วย 5 เมือง คือ เมืองพิษณุโลก เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก เมืองสุโขทัย และเมืองพิจิตร[1]

  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร มณฑลพิษณุโลก เป็น อำเภอท่าหลวง[2]
  • วันที่ 24 มกราคม 2479 แยกพื้นที่ตำบลห้วยเกตุ ของอำเภอท่าหลวง (อำเภอเมืองพิจิตร) ตำบลทับคล้อ ตำบลคลองคูณ ของอำเภอบางมูลนาก และตำบลวังสำโรง ของอำเภอบางคลาน (อำเภอโพทะเล) มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอตะพานหิน ขึ้นกับอำเภอท่าหลวง[3]
  • วันที่ 29 พฤศจิกายน 2479 ยกฐานะชุมชนที่เป็นที่ตั้งของศาลาว่าการจังหวัดพิจิตร ให้เป็น เทศบาลเมืองพิจิตร[4]
  • วันที่ 21 มีนาคม 2480 โอนพื้นที่หมู่ 6 (ในขณะนั้น) ของตำบลดงป่าคำ อำเภอท่าหลวง ไปขึ้นกับตำบลห้วยเกตุ กิ่งอำเภอตะพานหิน อำเภอท่าหลวง[5]
  • วันที่ 20 มิถุนายน 2480 ตั้งตำบลเนินปอ แยกออกจากตำบลรังนก[6]
  • วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2481 แยกพื้นที่ตำบลสามง่าม ตำบลวังจิก ตำบลรังนก และตำบลเนินปอ อำเภอเมืองพิจิตร มาตั้งเป็น อำเภอสามง่าม[7]
  • วันที่ 25 กรกฎาคม 2481 ตั้งตำบลตะพานหิน แยกออกจากตำบลห้วยเกตุ[8]
  • วันที่ 22 สิงหาคม 2481 ตั้งตำบลหนองปลาไหล แยกออกจากตำบลสากเหล็ก[9]
  • วันที่ 16 เมษายน 2483 ยกฐานะตำบลตะพานหิน ตำบลห้วยเกตุ ตำบลทับคล้อ ตำบลคลองคูณ ตำบลวังสำโรง ตำบลทุ่งโพธิ์ และตำบลท้ายทุ่ง กิ่งอำเภอตะพานหิน อำเภอท่าหลวง ขึ้นเป็น อำเภอตะพานหิน[10]
  • วันที่ 9 กันยายน 2484 โอนพื้นที่ตำบลไผ่รอบ อำเภอสามง่าม มาขึ้นกับอำเภอเมืองพิจิตร[11]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลโรงช้าง แยกออกจากตำบลเมืองเก่า และตำบลคลองคะเชนทร์ ตั้งตำบลโพธิ์ประทับช้าง แยกออกจากตำบลวังจิก และตำบลเมืองเก่า[12]
  • วันที่ 16 พฤศจิกายน 2491 ตั้งตำบลปากทาง แยกออกจากตำบลท่าฬ่อ และตำบลท่าหลวง[13]
  • วันที่ 10 กรกฎาคม 2499 ขยายเขตเทศบาลเมืองพิจิตร ครั้งที่ 1[14] โดยขยายเข้าไปให้ครอบคลุมเขตโรงพยาบาลพิจิตร
  • วันที่ 8 ธันวาคม 2507 จัดตั้งสุขาภิบาลวังกรด ในท้องที่บางส่วนของตำบลบ้านบุ่ง[15] และจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฬ่อ ในท้องที่บางส่วนของตำบลท่าฬ่อ[16]
  • วันที่ 15 พฤศจิกายน 2509 จัดตั้งสุขาภิบาลสากเหล็ก ในท้องที่บางส่วนของตำบลสากเหล็ก[17]
  • วันที่ 11 เมษายน 2510 ตั้งตำบลท้ายดง แยกออกจากตำบลหัวดง[18]
  • วันที่ 23 พฤษภาคม 2510 แยกพื้นที่ตำบลไผ่รอบ ตำบลวังจิก และตำบลโพธิ์ประทับช้าง มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้าง ขึ้นกับอำเภอเมืองพิจิตร[19]
  • วันที่ 23 พฤศจิกายน 2510 โอนพื้นที่ตำบลไผ่ท่าโพ อำเภอโพทะเล ไปขึ้นกับ กิ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอเมืองพิจิตร[20]
  • วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2511 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดพิจิตร และจังหวัดเพชรบูรณฺ์ โดยโอนพื้นที่ตำบลท้ายดง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ไปขึ้นกับอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์[21]
  • วันที่ 1 กรกฎาคม 2512 ตั้งตำบลหนองพระ แยกออกจากตำบลหัวดง และตำบลบ้านบุ่ง[22]
  • วันที่ 30 ธันวาคม 2512 ขยายเขตเทศบาลเมืองพิจิตร ครั้งที่ 2[23] โดยขยายให้ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมืองทั้งหมด
  • วันที่ 13 ตุลาคม 2513 โอนพื้นที่หมู่ 3,4,5,7 (ในขณะนั้น) ของตำบลบึงนาราง อำเภอโพทะเล ไปขึ้นกับตำบลไผ่ท่าโพ กิ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอเมืองพิจิตร[24]
  • วันที่ 28 กันยายน 2514 ตั้งตำบลย่านยาว แยกออกจากตำบลไผ่ขวาง[25]
  • วันที่ 26 กันยายน 2515 ตั้งตำบลท่าเยี่ยม แยกออกจากตำบลสากเหล็ก[26]
  • วันที่ 28 มิถุนายน 2516 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอเมืองพิจิตร เป็น อำเภอโพธิ์ประทับช้าง[27]
  • วันที่ 5 กรกฎาคม 2517 ตั้งตำบลวังทรายพูน แยกออกจากตำบลหนองปลาไหล[28]
  • วันที่ 29 กรกฎาคม 2518 แยกพื้นที่ตำบลหนองพระ ตำบลหนองปลาไหล และตำบลวังทรายพูน อำเภอเมืองพิจิตร มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอวังทรายพูน ขึ้นกับอำเภอเมืองพิจิตร[29]
  • วันที่ 24 สิงหาคม 2519 ตั้งตำบลหนองปล้อง แยกออกจากตำบลหัวดง[30]
  • วันที่ 15 มกราคม 2523 จัดตั้งสุขาภิบาลหัวดง ในท้องที่บางส่วนของตำบลหัวดง[31]
  • วันที่ 16 กันยายน 2523 ตั้งตำบลคลองทราย แยกออกจากตำบลท่าเยี่ยม[32]
  • วันที่ 16 มิถุนายน 2524 ตั้งตำบลสายคำโห้ แยกออกจากตำบลบ้านบุ่ง[33]
  • วันที่ 13 กรกฎาคม 2524 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอวังทรายพูน อำเภอเมืองพิจิตร เป็น อำเภอวังทรายพูน[34]
  • วันที่ 21 มิถุนายน 2526 ตั้งตำบลดงกลาง แยกออกจากตำบลดงป่าคำ[35]
  • วันที่ 23 กันยายน 2526 โอนพื้นที่ตำบลหนองปล้อง อำเภอเมืองพิจิตร ไปขึ้นกับ อำเภอวังทรายพูน[36]
  • วันที่ 22 มีนาคม 2538 แยกพื้นที่ตำบลสากเหล็ก ตำบลท่าเยี่ยม และตำบลคลองทราย อำเภอเมืองพิจิตร มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอสากเหล็ก ขึ้นกับอำเภอเมืองพิจิตร[37]
  • วันที่ 9 มกราคม 2539 ตั้งตำบลหนองหญ้าไทร แยกออกจากตำบลคลองทราย ตั้งตำบลวังทับไทร แยกออกจากตำบลท่าเยี่ยม[38]
  • วันที่ 4 พฤษภาคม 2549 กำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอเมืองพิจิตร (1-15)[39]
    • (1) ตำบลย่านยาว ให้มีเขตการปกครองรวม 10 หมู่บ้าน
    • (2) ตำบลไผ่ขวาง ให้มีเขตการปกครองรวม 8 หมู่บ้าน
    • (3) ตำบลท่าฬ่อ ให้มีเขตการปกครองรวม 7 หมู่บ้าน
    • (4) ตำบลป่ามะคาบ ให้มีเขตการปกครองรวม 14 หมู่บ้าน
    • (5) ตำบลบ้านบุ่ง ให้มีเขตการปกครองรวม 7 หมู่บ้าน
    • (6) ตำบลสายคำโห้ ให้มีเขตการปกครองรวม 5 หมู่บ้าน
    • (7) ตำบลหัวดง ให้มีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน
    • (8) ตำบลดงป่าคำ ให้มีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน
    • (9) ตำบลดงกลาง ให้มีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน
    • (10) ตำบลเมืองเก่า ให้มีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน
    • (11) ตำบลปากทาง ให้มีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน
    • (12) ตำบลท่าหลวง ให้มีเขตการปกครองรวม 10 หมู่บ้าน
    • (13) ตำบลฆะมัง ให้มีเขตการปกครองรวม 12 หมู่บ้าน
    • (14) ตำบลคลองคะเชนทร์ ให้มีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน
    • (15) ตำบลโรงช้าง ให้มีเขตการปกครองรวม 7 หมู่บ้าน
  • วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอสากเหล็ก อำเภอเมืองพิจิตร เป็น อำเภอสากเหล็ก[40]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อำเภอเมืองพิจิตร //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.phichit.go.th/phichit/index.php/about/h... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2460/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2479/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2479/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2480/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2481/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2481/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2481/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2481/D/...