อนุสัญญาเจนีวา ของ อินโดจีนของฝรั่งเศส

ดูบทความหลักที่: อนุสัญญาเจนีวา

จากการประชุมที่จัดโดยรัฐบาลประเทศสวิตเซอร์แลนด์และประเทศต่าง ๆ ในยุโรปอีก 12 ประเทศในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2507 ข้อตกลงที่ประชุมได้รับการร่างและลงนามโดยประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนั้น ซึ่งเราเรียกข้อตกลงนี้ว่า อนุสัญญาเจนีวา เป็นอนุสัญญาฉบับแรก ซึ่งมีสาระสำคัญว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้บาดเจ็บจากสนามรบ ซึ่งอนุสัญญานี้ได้รับการแก้ไขปรับปรุงจากการประชุมระหว่างประเทศในเวลาต่อมา การแก้ไขปรับปรุงครั้ง ล่าสุด คือการประชุมในปี พ.ศ. 2492 และได้ตกลงประกาศเป็นอนุสัญญาเจนีวาจำนวน 4 ฉบับ ได้ลงนามกันในปี พ.ศ. 2492 โดยมีหลักการมูลฐานสำคัญ 3 ประการ คือ มนุษยธรรม ความเสมอภาค และ ความไม่ลำเอียง และอนุสัญญาทั้ง 4 ฉบับมีสาระสำคัญโดยสังเขปดังนี้

  • อนุสัญญาฉบับที่ 1 ว่าด้วยการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วยในกองทัพที่อยู่ในสนามรบให้มี สภาพดีขึ้น
  • อนุสัญญาฉบับที่ 2 ว่าด้วยการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วยและลูกเรือที่อับปางของกอง กำลังรบในทะเล ให้มีสภาพดีขึ้น
  • อนุสัญญาฉบับที่ 3 ว่าด้วยการปฏิบัติต่อเชลยศึก
  • อนุสัญญาฉบับที่ 4 ว่าด้วยการปกป้องคุ้มครองบุคคลพลเรือนในระหว่างสงคราม หรือการขัดแย้งทางกำลังทหารประเทศต่าง ๆ ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญานี้ ดังนี้
    • การรักษาพยาบาลแก่เพื่อนและศัตรูโดยเท่าเทียมกัน
    • เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เกียรติของมนุษย์ สิทธิในครอบครัว ในการนับถือศาสนาและเกียรติของสตรี
    • ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ไปเยี่ยมนักโทษสงคราม และ ประชาชนที่อยู่ในค่ายกักกัน โดยพูดกับผู้ถูกกักขังอย่างไม่มีพยานร่วมรับรู้
    • ห้ามการกระทำที่ไม่มีมนุษยธรรม การทรมาน การประหารชีวิต การเนรเทศ จังตัวประกัน สอบสวนหมู่การกระทำที่รุนแรงและทำลายทรัพย์สินส่วนตัวอย่างไม่ปรานี

นอกจากนี้ อนุสัญญาเจนีวาฉบับนี้ ยังได้กล่าวถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับการคุ้มครองพลเรือนให้พ้นจากภัยสงครามระหว่างประเทศและคุ้มครองแก่พวกกบฏให้พ้นจากการถูกทรมานในกรณีเกิดสงครามกลางเมืองภายในประเทศ รวมทั้งมีสาระอื่น ๆ อีก เช่น เงื่อนไขการลงโทษเพื่อคุ้มครองผู้ถูกต้องโทษ และการส่งตัวนักโทษสงครามกลับสู่ประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของตน เป็นต้น

สนธิสัญญาเจนีวา ว่าด้วยการปฏิบัติต่อเชลยศึก ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2492 และเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2493 มีเป้าหมายให้การสงเคราะห์ทหาร และพลเรือนที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม โดยประสานงานใกล้ชิดกับคณะกรรมการกาชาดสากล (ไอซีอาร์ซี)

  • มาตรา 13 ในสนธิสัญญาฯ ระบุว่า : เชลยศึกต้องได้รับการดูแลอย่างมีมนุษยธรรมตลอดเวลาที่ถูกกักขัง ห้ามผู้กักขังกระทำการใดๆ ที่ผิดกฎหมาย หรือละเว้นไม่กระทำการ อันส่งผลให้เชลยศึกเสียชีวิตหรือได้รับอันตรายร้ายแรง หากกระทำจะถือว่าเป็นการละเมิดสนธิสัญญาฉบับปัจจุบันอย่างรุนแรง เฉพาะอย่างยิ่ง ต้องไม่ทำให้เชลยศึกพิการ หรือถูกใช้ทดลองยาหรือทดลองทางวิทยาศาสตร์ นอกจากเป็นการรักษาตามโรงพยาบาล การทำฟัน และการรักษาอื่นเพื่อประโยชน์ของเชลยศึก เชลยศึกต้องได้รับการปกป้องตลอดเวลา โดยเฉพาะต่อการถูกทำร้ายหรือข่มขู่ การถูกดูถูกต่อหน้าสาธารณชน และห้ามแก้แค้นเชลยศึก
  • มาตรา 14 : ผู้กักขังต้องเคารพเกียรติและความเป็นมนุษย์ของเชลยศึก ผู้หญิงจะต้องได้รับการปฏิบัติโดยคำนึงถึงเพศและได้รับการรักษาพยาบาลเช่นเดียวกับผู้ชาย เชลยศึกควรมีสิทธิทำกิจกรรมตามที่พลเรือนในขณะนั้นพึงมีอย่างเต็มที่ ผู้กักขังไม่ควรจำกัดการออกกำลังกายของเชลยศึก หรือสิทธิอื่นๆ ยกเว้นขัดกับข้อกำหนดด้านการจับกุม

ใกล้เคียง

อินโดจีนของฝรั่งเศส อินโดรามา เวนเจอร์ส อินโดจีน อินโดนีเซียแอร์เอเชีย เที่ยวบินที่ 8501 อินโดเมตทาซิน อินโดล อินโดมี่ อินโดนีเซียแอร์เอเชีย อินโดจีน (วงดนตรี) อินโดเนซียารายา