อิมมูโนเจน

บทความนี้อ้างอิงคริสต์ศักราช/คริสต์ทศวรรษ/คริสต์ศตวรรษ ซึ่งเป็นสาระสำคัญของเนื้อหา อิมมูโนเจน (อังกฤษ: immunogen) เป็นสารที่ทำให้ภูมิคุ้มกันตอบสนอง[1][2]อิมมูโนเจนทั้งหมดเป็นแอนติเจน[2] แอนติเจนได้ชื่อเช่นนั้นก็เพราะมันทำให้แอนติบอดีตอบสนองแม้เม็ดเลือดขาวหรือแอนติบอดีโดยเฉพาะ ๆ ซึ่งเป็นส่วนของภูมิคุ้มกันจะรู้จักแอนติเจนทั้งหมด แต่แอนติเจนทั้งหมดก็ไม่ได้ทำให้ภูมิคุ้มกันตอบสนองดังนั้น แอนติเจนที่ก่อการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน (คือมีคุณสมบัติ immunogenic) จึงเรียกว่า อิมมูโนเจน[3]อิมมูโนเจนก่อการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในน้ำเหลือง (humoral) และ/หรือที่อำนวยโดยเซลล์ (cell-mediated)ซึ่งเป็นสมรรถภาพที่เรียกว่า immunogenicity (การก่อการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน)บางครั้ง คำว่าอิมมูโนเจนและแอนติเจนอาจใช้เป็นไวพจน์ของกันและกันแต่แอนติเจนที่จัดเป็นอิมมูโนเจนด้วยเท่านั้นจะทำให้ภูมิคุ้มกันตอบสนอง[4]อิมโมนูเจนอาจนิยามได้ว่าเป็นแอนติเจนที่ประกอบด้วยโปรตีนขนส่งที่มีโมเลกุลใหญ่ (macromolecular carrier) ประกอบกับเอพิโทป (หรือเรียกว่า antigenic determinant) ที่สามารถทำให้ภูมิคุ้มกันตอบสนอง[5]ตัวอย่างที่ชัดเจนอย่างหนึ่งก็คือ haptenซึ่งเป็นสารประกอบมีมวลโมเลกุลน้อยที่แม้แอนติบอดีจะเข้าจับได้ แต่ก็ไม่ทำให้ภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อเมื่อจับกับโมเลกุลโปรตีนขนส่งที่ใหญ่กว่า ซึ่งเป็นโปรตีนที่อาจไม่ก่อให้ภูมิคุ้มกันตอบสนองโดยตนเอง โมเลกุลประกอบซึ่งเรียกว่า hapten-carrier complex จึงกลายเป็นอิมมูโนเจนที่ก่อการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน[6]จนถึงปี 1959 คำว่า อิมมูโนเจน และ แอนติเจน มีความหมายไม่ต่างกัน[7]