อุปกรณ์ ของ อิเล็กทรอนิกส์กำลัง

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลังอาจถูกใช้เป็น สวิตช์ หรือเป็น ตัวขยายสัญญาณ[3] สวิตช์ในอุดมคติจะทำงานเปิดหรือปิดวงจรและไม่กระจายความร้อน มันทนทานต่อแรงดันไฟฟ้าที่ใช้และส่งผ่านกระแสทั้งหมดโดยไม่มีแรงดันตกคร่อม นั่นคือต้องไม่มีการสูญเสียพลังงานในสวิทช์เลย ในทางตรงกันข้าม ในกรณีของตัวขยายสัญญาณ กระแสที่ไหลผ่านต้วมันแปรผันอย่างต่อเนื่องตามอินพุทที่ควบคุมมันอยู่ แรงดันและกระแสที่ขั้วอุปกรณ์เป็นไปตามโหลดและพลังงานที่กระจายในตัวอุปกรณ์มีมากกว่าพลังงานที่ส่งไปยังโหลด

คุณลักษณะหลายประการเป็นตัวกำหนดวิธีการนำอุปกรณ์ที่ใช้ อุปกรณ์ เช่นไดโอด จะทำงานเมื่อมีแรงดันระหว่างขั้วทั้งสอง และไม่สามารถควบคุมจุดเริ่มต้นของการไหลของกระแสในแต่ละไซเคิลได้ อุปกรณ์ไฟฟ้าเช่น SCR และ thyristors (เช่นเดียวกับวาล์วปรอทและอดีต thyratron) สามารถควบคุมจุดเริ่มต้นของการไหลของกระแสได้ แต่ขึ้นอยู่กับการกลับขั้วของขาควบคุมเพื่อหยุดการทำงาน อุปกรณ์อื่น เช่นประตูปิด thyristors , bipolar junction ทรานซิสเตอร์ (BJT) และ MOSFET ควบคุมการเปิดปิดได้ดีกว่าโดยไม่คำนึงถึงทิศทางกระแสควบคุม อุปกรณ์ทรานซิสเตอร์ยังช่วยในการขยายสัญญาณ แต่ไม่ค่อยถูกนำมาใช้กับระบบที่ใชัพลังงานไม่กี่ร้อยวัตต์ ลักษณะการควบคุมของอินพุทของอุปกรณ์ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการออกแบบ, บางครั้งอินพุทควบคุมมีแรงดันไฟฟ้าที่สูงมากเมื่อเทียบกับดินและต้องหามาจากแหล่งต่างหาก

เนื่องจากประสิทธิภาพเป็นที่ต้องการอย่างสูงในการแปลงอิเล็กทรอนิกส์กำลัง, การสูญเสียที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต้องทำให้ต่ำที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

อุปกรณ์ทั้งหลายมีความแตกต่างกันที่ความเร็วในการเปิดปิด บางไดโอดและบาง thyristors จะเหมาะสำหรับความเร็วค่อนข้างช้าและมีประโยชน์สำหรับการสวิทช์และการควบคุมความถี่, thyristors บางตัวเป็นประโยชน์ที่ไม่กี่กิโลเฮิรตซ์ อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น MOSFETS และ BJTs สามารถสวิทช์ที่หมื่นกิโลเฮิร์ตซ์จนถึงไม่กี่เมกะเฮิรตซ์ แต่ระดับพลังงานลดน้อยลง พลังงานที่สูงมาก (ร้อยๆกิโลวัตต์) ที่ความถี่สูงมากๆ (ร้อยหรือหลายพันเมกะเฮิรตซ์) ยังคงเป็นพื้นที่ที่อุปกรณ์หลอดสูญญากาศครอบครองอยู่ การใช้อุปกรณ์สวิตชิ่งที่เร็วขึ้นช่วยลดการสูญเสียพลังงานในการปิดเปิดกลับไปกลับมา แต่อาจสร้างปัญหากับการรบกวนแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกมา วงจรไดรฟ์ที่เกท (หรือเทียบเท่า) ต้องถูกออกแบบให้จ่ายกระแสไดรฟ์ที่พอเพียงเพื่อให้อุปกรณ์ทำหน้าที่สวิตช์ได้อย่างเต็มที่ อุปกรณ์ที่ไม่ได้รับการไดรฟ์เพียงพอที่จะเปลี่ยนอย่างรวดเร็วอาจจะถูกทำลายด้วยความร้อนส่วนเกิน

อุปกรณ์ที่ใช้งานได้จริงจะมีแรงดันไฟฟ้าตกคร่อมและมีการกระจายพลังงาน(รวมทั้งความร้อน)เมื่อเปิดและใช้เวลาในการทำงานจนกว่าจะถึงสถานะ "ปิด" ความสูญเสียเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการสูญเสียของ converter

การจัดการพลังงานและการกระจายความร้อนของอุปกรณ์ยังเป็นปัจจัยที่สำคัญในการออกแบบ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลังอาจจะต้องกระจายความร้อนทิ้งไปหลายสิบหรือหลายร้อยวัตต์ แม้การสวิตช์จะมีประสิทธิภาพเท่าที่เป็นไปได้ระหว่างสภาวะการนำกระแสและไม่นำกระแส ในโหมดสวิทชิ่ง พลังงานที่เอ้าท์พุทมีขนาดใหญ่กว่าพลังงานความร้อนที่กระจายไปในสวิตช์ เซมิคอนดักเตอร์พลังงานสูงจำเป็นต้องมี heat sink หรือระบบระบายความร้อนเพื่อรักษาอุณหภูมิของ junction ไม่ให้สูงเกินไป เซมิคอนดักเตอร์ที่แปลกใหม่เช่นซิลิกอนคาร์ไบด์มีข้อได้เปรียบเหนือซิลิคอนธรรมดาในแง่นี้และเหนือเจอร์เมเนียม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ solid-state ในปัจจุบันอาจถูกใช้น้อยลงเนื่องจากคุณสมบัติที่ไม่เอื้ออำนวยที่อุณหภูมิสูง

อุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ที่มีอยู่จะทำงานที่ไม่กี่กิโลโวลต์ในตัวเดี่ยว ๆ ในกรณีที่จะต้องทำงานกับแรงดันไฟฟ้าที่สูง ๆ ต้องใช้อุปกรณ์หลาย ๆ ตัวต่อกันแบบอนุกรม อีกครั้งที่ความเร็วในการสวิทช์เป็นปัจจัยสำคัญเนื่องจากอุปกรณ์ตัวที่สวิตช์ช้าที่สุดจะต้องทนต่อแรงดันไฟฟ้ารวม วาล์วปรอทในอดีตทำงานได้ถึง 100 กิโลโวลต์ในเครื่องเดียว ทำให้เป็นการง่ายในการนำไปประยุกต์ใช้ใน ระบบสายส่งกระแสตรงความดันสูง หรือ HVDC

อัตรากระแสที่ใช้งานของอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์จะถูกจำกัดโดยความร้อนที่เกิดภายในโครงสร้าง และความร้อนที่เกิดขึ้นในความต้านทานของจุดเชื่อมต่อของสายไฟ(สายลีด) อุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์จะต้องได้รับการออกแบบเพื่อให้กระแสมีการกระจายอย่างเท่าเทียมกันข้ามรอยต่อภายในของตน (หรือช่อง); เมื่อ "hot spot" เกิดขึ้น breakdown effect สามารถทำลายอุปกรณ์ได้อย่างรวดเร็ว SCRs บางตัวในปัจจุบันมีอัตรากระแสถึง 3000 แอมแปร์ในเครื่องเดียว

ใกล้เคียง

อิเล็กทรอนิกส์ อิเล็กโตรเนกาทิวิตี อิเล็กตรอน อิเล็กทรอนิกส์กำลัง อิเล็กทรอนิก อาตส์ อิเล็กทรอนิกเอ็นเตอร์เทนเมนต์เอ็กซ์โป อิเล็กทรอนิกส์ ออสซิลเลเตอร์ อิเล็กโทรไลต์ อิเล็กโทร อิเล็กโทรด