อียอน_อันตอเนสกู
อียอน_อันตอเนสกู

อียอน_อันตอเนสกู

อียอน วิกตอร์ อันตอเนสกู (โรมาเนีย: Ion Victor Antonescu) หรือมีสมญาว่า หมาแดง (Câinele Roșu) เป็นนายทหาร, นักการเมือง และ ผู้นำเผด็จการชาวโรมาเนียและ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีและผู้นำแห่งรัฐ (Conducător) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้ปกครองแบบระบอบเผด็จการเป็นเวลาสองสมัยในสมัยระหว่างสงคราม ภายหลังสงคราม เขาได้ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานก่ออาชญากรรมสงครามและลงโทษด้วยการประหารชีวิตเจ้าหน้าที่ทหารแห่งกองทัพโรมาเนียได้ทำการบันทึกชื่อของเขาในช่วงการก่อกบฏชาวนาโรมาเนียในปี ค.ศ. 1907 และสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในการทัพโรมาเนีย จากการต่อต้านชาวยิวนั้น อันตอเนสกูได้เห็นด้วยกับการเมืองฝ่ายขวาและลัทธิฟาสซิสต์แห่งชาติคริสเตียนและกลุ่มผู้พิทักษ์เหล็กอย่างมากในช่วงสมัยระหว่างสงคราม เขาได้เป็นผู้แทนทางทหาร (military attaché) ไปยังฝรั่งเศสและต่อมาได้เป็นเสนาธิการ ในช่วงเวลาสั้น ๆ ก็ได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในคณะรัฐมนตรีคริสเตียนแห่งชาติของ Octavian Goga ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1930 ด้วยจุดยืนทางการเมืองของเขาได้ทำให้เขาเกิดขัดแย้งกับสมเด็จพระเจ้าคาโรลที่ 2 และถูกคุมขังเอาไว้ อันตอเนสกูยังคงได้รับความนิยมทางการเมืองมากขึ้นในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเมืองในปี ค.ศ. 1940 และได้จัดตั้งรัฐกองทัพแห่งชาติ (National Legionary State) ได้เป็นผู้สมรู้ร่วมคิดอย่างไม่สบายใจกับผู้นำพิทักษ์เหล็กอย่าง โฮเรีย ซีมา ภายหลังจากโรมาเนียได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับนาซีเยอรมนีและฝ่ายอักษะ และมีความเชื่อมั่นต่อความมั่นใจอย่างแรงกล้าของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เขาได้กำจัดเหล่าผู้พิทักษ์ในช่วงการก่อกบฏทหาร (Legionary Rebellion) ในปี ค.ศ. 1941 นอกเหนือจากนั้นเขาได้เป็นผู้นำในการบริหาร เขาได้คั่วตำแหน่งเป็นสำนักงานการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ไม่นานหลังจากโรมาเนียได้เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะในปฏิบัติการบาร์บารอสซาคือการรุกรานสหภาพโซเวียต ได้ชิงเอาแผ่นดินเบสซาราเบียและ Bukovina ทางตอนเหนือกลับคืนมา อันตอเนสกูได้กลายเป็นจอมพลแห่งโรมาเนียด้วยจำนวนที่ผิดปกติในหมู่ผู้กระทำผิดในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวหรือฮอโลคอสต์ อันตอเนสกูได้บังคับใช้นโยบายที่มีส่วนรับผิดชอบต่อการตายของผู้คนจำนวนมากถึง 400,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวเบสซาราเบีย ยูเครน และโรมาเนียเชื้อสายยิว เช่นเดียวกับชาวโรมาเนีย โรมานี ด้วยการสมรู้ร่วมคิดของระบอบการปกครองในการฆ่าล้างเผ่าพันธ์รวมและการสังหารหมู่ เช่น การสังหารหมู่ที่โอเดสซ่าด้วยการขจัดชาติพันธุ์ การขับไล่เนรเทศอย่างเป็นระบบเพื่อยึดครองทรานส์นีสเตรียและละเลยทางอาญาอย่างกว้างขวาง ด้วยระบบในสถานที่ยังคงมีความโดดเด่นด้วยความไม่สอดคล้องกัน การจัดลำดับในการปล้นสดมภ์ในการฆ่าทั้งหมด ได้แสดงความเมตตากับชาวยิวส่วนใหญ่ในราชอาณาจักรเก่า และในที่สุดก็ได้ปฏิเสธที่จะใช้มาตราการสุดท้ายตามที่ได้ถูกประกาศใช้โดยนาซีที่ได้ยึดครองยุโรปด้วยความสูญเสียอย่างหนักบนแนวรบด้านตะวันออกทำให้อันตอเนสกูเริ่มดำเนินการเจราสันติภาพที่ไม่สามารถหาข้อสรุปกับฝ่ายสัมพันธมิตร ภายหลังการเจรจา เขาได้ถูกขับออกจากตำแหน่งผู้นำในการก่อรัฐประหารโดยพระราชาธิบดีไมเคิลที่ 1ซึ่งยังทรงพระเยาว์ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นที่รู้จักในนามของการก่อกบฏพระราชาธิบดีไมเคิล ภายหลังจากถูกคุมขังในสหภาพโซเวียต ในช่วงเวลาระยะสั้น อันตอเนสกูได้ถูกส่งตัวกลับโรมาเนียซึ่งเขาได้ถูกไต่สวนโดยศาลของประชาชนพิเศษและถูกตัดสินโทษให้ประหารชีวิต นี่เป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาคดีที่ได้ผ่านการพิพากษาต่าง ๆ ของเขา กระบวนการความยุติธรรมได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากสำหรับการตอบสนองต่อความสำคัญอุดมการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์โรมาเนีย เรื่องที่เป็นแรงผลักดันของเหล่าชาตินิยมและความพยายามของกลุ่มฝ่ายขวาจัดเพื่อให้อันตอเนสกูได้พ้นข้อกล่าวหา ในขณะที่กลุ่มเหล่านี้ได้ยกย่องให้อันตอเนสกูกลายเป็นวีรบุรุษจากการที่เขาได้มีส่วนร่วมในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ได้รับกล่าวยืนยันอย่างเป็นทางการและถูกประณามกลับในภายหลังจากรายงานกรรมมาธิการวีเซิล ปี ค.ศ. 2003

อียอน_อันตอเนสกู

บำเหน็จ Order of Michael the Brave
พรรค ไม่มี
ยศ จอมพล
คู่สมรส มารียา อันตอเนสกู
ก่อนหน้า อียอน จีกูร์ตู
ประจำการ ค.ศ. 1904–1944
เชื้อชาติ โรมาเนีย
เกิด 15 มิถุนายน ค.ศ. 1882(1882-06-15)
ปีเตชต์ เทศมณฑลอาร์เจช ราชอาณาจักร​โรมาเนีย
บังคับบัญชา ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
การยุทธ์ สงครามบอลข่านครั้งที่สอง
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
สงครามโลกครั้งที่สอง
สังกัด Romanian Land Forces
ชื่อเล่น "หมาแดง"
รับใช้ ราชอาณาจักรโรมาเนีย
ถัดไป กอนสตันติน เซอเนอเตสกู
กษัตริย์ พระเจ้าคาโรลที่ 2
พระเจ้ามีไฮที่ 1
วิชาชีพ ทหาร
เสียชีวิต 1 มิถุนายน ค.ศ. 1946(1946-06-01) (63 ปี)
ฌีลาวา เทศมณฑลอิลฟอฟ ราชอาณาจักร​โรมาเนีย
ศาสนา ออร์ทอดอกซ์โรมาเนีย

ใกล้เคียง

อียอน อี. เช. เบรอตียานู อียอน อันตอเนสกู อีลอน มัสก์ อียาน เลอเกิง อีออน ฟลักซ์ สวยเพชฌฆาต อียานิก บอลี อียอล็องด์แห่งเดรอ อีบอน มอสส์-บาครัค อีวอน แบลิน อีแอน พรีทีแมน สตีเวนสัน