เริ่มอารยธรรม ของ อียิปต์โบราณก่อนยุคราชวงศ์

อียิปต์เป็นประเทศที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง มีฝนตกเพียงเล็กน้อยในช่วงฤดูหนาวและตกเฉพาะบริเวณเดลต้า (ดินแดนสันดอนบริเวณปากแม่น้ำไนล์) อียิปต์ได้อาศัยความชุ่มชื้นของแม่น้ำไนล์เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต ถ้าขาดแม่น้ำไนล์อียิปต์ก็ไม่ต่างอะไรกับทะเลทรายที่ร้อนระอุ นักประวัติศาสตร์กรีกโบราณผู้หนึ่งได้เคยกล่าวไว้ว่า Egypt is the gift of the Nile (อียิปต์เป็นของขวัญของแม่น้ำไนล์) คำกล่าวนี้จึงเป็นความจริงอย่างยิ่ง กล่าวคือในราวเดือนกรกฎาคมของทุก ๆ ปี น้ำในแม่น้ำไนล์จะไหลท่วมท้นฝั่งทั้งสองและจะเริ่มลดลงในเดือนตุลาคม เมื่อน้ำลดจะทิ้งโคลนตมไว้ตามบริเวณสองฝั่งลำน้ำ โคลนตมเหล่านี้เป็นปุ๋ยซึ่งเมื่อเพาะปลูกแล้วจะให้ผลดีอย่างมาก ชาวอียิปต์โบราณยังรู้จักวิธีทำนา ทำนบกั้นน้ำ ขุดคูส่งน้ำลำเลียงเข้าไปในดินแดนซึ่งอยู่ลึกเข้าไปจากฝั่ง เป็นการขยายพื้นที่ประกอบการกสิกรรมให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ประเทศอียิปต์ในสมัยโบราณประกอบไปด้วยบริเวณที่สำคัญ 2 บริเวณ คือ

1. อียิปต์บน (Upper Egypt) ได้แก่บริเวณที่แม่น้ำไนล์ไหลผ่านหุบเขา มีความยาวประมาณ 500 ไมล์ ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำตอนนี้เป็นหน้าผาลาดกว้างไปจนสุดสายตาเต็มไปด้วยเนินเขาที่แห้งแล้ง

2. อียิปต์ล่างหรืออียิปต์ต่ำ (Lower Egypt) ได้แก่บริเวณที่แม่น้ำไนล์แตกสาขาออกเป็นรูปพัด ไหลลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน บริเวณนี้ชาวกรีกเรียกว่า เดลต้า (Delta) เป็นบริเวณปลายสุดของลำน้ำ มีความยาวประมาณ 100 ไมล์ อารยธรรมโบราณของอียิปต์ได้เจริญขึ้นในแถบเดลต้านี้


ความแตกต่างของสภาพทางภูมิศาสตร์ของอียิปต์ทั้งสองภาคนี้ คือภาคหนึ่งเป็นที่สูงและภาคหนึ่งเป็นที่ลุ่ม และลักษณะที่แคบยาวของประเทศในสมัยนั้นยาว 500 ไมล์ แต่มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 10,000 ตารางไมล์เท่านั้น ทำให้ยากแก่การที่จะรวมประเทศเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและจัดการปกครองให้ทั่วถึงได้จริง ๆ


อียิปต์ได้เปรียบประเทศอื่นในแถบตะวันออกใกล้ในเรื่องกำแพงธรรมชาติที่ช่วยป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าอื่นได้มาก ทางใต้ของแม่น้ำไนล์ที่อยู่ใต้เขตแดนอียิปต์ลงไปอยู่บนที่สูงมีแนวน้ำตกมาก ทำให้การรุกทางเรือยาก ทางตะวันออกและตะวันตกของอียิปต์ทางแถบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์เท่านั้น ที่ไม่มีพรมแดนป้องกันการโจมตีทางเรือและทางบกจากชนเผ่าเซมิติค ที่เป็นพวกเร่ร่อนอยู่ทางทะเลทรายอาราเบียและทางปาเลสไตน์ เพราะทางเหนือของอียิปต์ติดต่อกับคอคอดซึ่งเชื่อมอียิปต์กับเอเชียและคาบสมุทรอาระเบีย


อียิปต์มีการนับศักราชตามราชวงศ์ เมื่อสิ้นรัชสมัยของฟาโรห์พระองค์หนึ่งและขึ้นแผ่นดินใหม่ก็เริ่มนับศักราชใหม่ เราจึงแบ่งประวัติศาสตร์การเมืองของอียิปต์ออกเป็นสองสมัยใหญ่ ๆ คือ

ใกล้เคียง

อียิปต์โบราณ อียิปต์แอร์ อียิปต์สมัยโรมัน อียิปเตียนพรีเมียร์ลีก อียิปต์แอร์ เที่ยวบินที่ 804 อียิปต์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ อียิปต์ อียิปต์บน อียิปต์แอร์ เที่ยวบินที่ 667 อียิปต์แอร์ เที่ยวบินที่ 864