อีเห็นลายเสือโคร่ง
อีเห็นลายเสือโคร่ง

อีเห็นลายเสือโคร่ง

อีเห็นลายเสือโคร่ง หรือ อีเห็นลายพาด (อังกฤษ: Banded palm civet) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งในอันดับสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemigalus derbyanus มีรูปร่างหน้าตาเหมือนสัตว์จำพวกอีเห็นหรือชะมดทั่วไป แต่มีหน้ายาวและมีรูปร่างเพรียวบางกว่า ขนตามลำตัวสีน้ำตาลอ่อน มีลักษณะเด่น คือ มีแถบสีดำ 7-8 แถบพาดขวางลำตัว โดยแถบดังกล่าวมีรูปทรงเป็นสามเหลี่ยมยาว ๆ และมีแถบสีดำพาดยาวผ่านใบหน้าและหน้าผาก 2 เส้น ด้านล่างของลำตัวและขามีสีอ่อนกว่าบริเวณหลัง มีหูยาวและมีประสิทธิภาพในการฟังเสียงที่สูง ตามีขนาดใหญ่ ส่วนโคนหางจะมีแถบสีดำเป็นปล้อง ๆ มีต้อมกลิ่นขนาดเล็ก สามารถหดเล็บเก็บได้เหมือนพวกแมวมีความยาวลำตัวและหัว 45-50 เซนติเมตร ความยาวหาง 25-32.5 เซนติเมตร น้ำหนัก 1-3 กิโลกรัมมีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคใต้ของพม่า ภาคตะวันตกและภาคใต้ของไทย, มาเลเซีย, เกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียวมักอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นใกล้แหล่งน้ำ มักอาศัยและออกหากินตามลำพัง นอกจากในฤดูผสมพันธุ์ หรือ มีลูกอ่อนที่อาจพบว่ามีอยู่ด้วยกัน 2 หรือ 3 ตัว ออกหากินในเวลากลางคืน มีลิ้นที่สากเหมือนพวกแมว กินสัตว์ขนาดเล็กจำพวกแมลง, ไส้เดือน, มด, แมงมุม, สัตว์น้ำขนาดเล็ก หอยทาก รวมทั้งพืช อย่าง ผลไม้เป็นต้น ปัจจุบัน การศึกษานิเวศวิทยาของอีเห็นลายเสือโคร่งนั้นยังมีอยู่น้อยมาก เนื่องจากเป็นสัตว์ที่พบเห็นตัวได้ยากเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 [2]