หมู่พระที่นั่ง ของ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี

พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท

โดยพระที่นั่งองค์ต่าง ๆ ประกอบด้วย

พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์

พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ เป็นพระที่นั่งองค์แรกของพระราชวังโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยทรงเสด็จมาวางศิลาฤกษ์ด้วยพระองค์เองในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2402 เป็นพระที่นั่งองค์ประธานของหมู่พระที่นั่งต่าง ๆ ในพระราชวัง ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบยุโรปผสมไทยและจีนผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีมุขยื่นออกไปด้านข้างสองด้านทั้งซ้ายและขวาภายในแบ่งเป็นห้องต่าง ๆ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าให้ดัดแปลงท้องพระโรงหลังเป็นห้องพระบรรทม ท้องพระโรงหน้าดัดแปลงเป็นหัองเสวยมุขด้านทิศตะวันออกดัดแปลงเป็นห้องทรงพระสำราญและมุขด้านทิศตะวันตกดัดแปลงเป็นห้องลงพระบังคนปัจจุบันใช้เป็นที่จัดแสดงโบราณวัตถุและเครื่องเรือนต่าง ๆ โดยพระที่นั่งองค์นี้เคยเป็นสถานที่รับรองพระราชอาคันตุกะเช่น ดยุคโยฮันอัลเบรกต์ แห่งเยอรมนีและเจ้าหญิงอลิสซาเบตสโตลเบิร์กรอซซาลา พระชายา

พระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์

พระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์ ตั้งอยู่ติดกับพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์มีฐานและหลังคาเชื่อมต่อกันมีลักษณะแบบเก๋งจีน 2 ชั้น ชั้นบนมีห้องบรรทม 2 ห้อง ชั้นล่างมีห้องโถง 2 ห้องทางขึ้นอยู่ด้านหน้ามีชายคาคลุมเป็นบันไดแนบตึก 2 ด้าน ปัจจุบันจัดแสดงพระแท่นบรรทมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท

พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นปราสาทจตุรมุข ยอดปรางค์ 5 ยอด ตามพระราชนิยมในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มียอดปรางค์ใหญ่อยู่กลาง และปรางค์เล็กอยู่ 4 มุม บนฐานสูงซ้อนกัน 3 ชั้น มีระเบียงแก้วโดยรอบแต่ละชั้น ระเบียงชั้นบนสุดมีโดมโปร่งที่มุมทั้งสี่ ตัวปราสาทประดับลายปูนปั้น ภายในประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หล่อด้วยสำริด ทรงฉลองพระองค์แบบตามพระราชนิยม ทรงพระมาลาสก๊อต พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบ พระหัตถ์ซ้ายทรงสมุดหนังสือ ทรงยืนใต้นพปฎลเศวตฉัตร จากพระที่นั่งองค์นี้มีประตูออกไปสู่ พระที่นั่งราชธรรมสภา

พระที่นั่งราชธรรมสภา

พระที่นั่งราชธรรมสภา เป็นอาคารชั้นเดียว ศิลปะผสมระหว่างศิลปะยุโรป จีน และไทย หลังคาเป็นแบบเก๋งจีนในรัชกาลที่ 4 ทรงใช้เป็นที่ประชุมส่วนพระองค์บรรยายธรรมะถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ดัดแปลงเป็นห้องเสวยสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ที่ตามเสด็จ ในปัจจุบันใช้เป็นอาคารแสดงนิทรรศการ จุดเด่นจะอยู่ตรงประตูบ้านโค้งสีเขียว ตัดกับผนังสีขาวที่มีลายปูนปั้นสวยงามภายในมีโต๊ะหมู่บูชาสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป

ลีลาเจดีย์แดง

หมู่พระตำหนักสันถาคารสถาน

หมู่พระตำหนักสันถาคารสถาน เป็นหมู่พระตำหนักของพระราชวังตั้งอยู่บริเวณทางลาดขึ้นพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมอาคารขนาดใหญ่ตั้งอยู่ตรงกลางและล้อมรอบไปด้วยอาคารขนาดเล็กภายในมีชานเชื่อมต่อกันบันไดทางขึ้นตั้งอยู่ด้านนอก โดยพระตำหนักเป็นอาคาร 2 ชั้น สถาปัตยกรรมแบบประยุกต์ตะวันตกสันหลังคาเป็นแบบจีนมุงกระเบื้องกาบกล้วยพระตำหนักองค์กลางแบ่งได้ 2 ส่วน คือ

  • ส่วนหน้าทำเป็นท้องพระโรงเล็ก
  • ส่วนหลังทำเป็นห้องเล็ก ๆ 2 แถวขนาด 5 ห้องมีทางเดินตรงกลาง

สำหรับเป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายใน พระราชโอรส-พระราชธิดา โดยพระตำหนักองค์นี้มีมุขด้านหน้าสำหรับประทับทอดพระเนตรการแสดงละคร

ใกล้เคียง

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อุทยานแห่งชาติในประเทศไทย อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี อุทยานราชภักดิ์ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร