พืชพรรณและสัตว์ป่า ของ อุทยานแห่งชาติภูชี้ฟ้า

สภาพป่า

จากการสำรวจในพื้นที่ สอบถามราษฎรพื้นที่ และภาพถ่ายทางดาวเทียมพบว่าในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติทั้ง 3 ป่า ประกอบด้วยป่าชนิดต่าง ๆ ดังนี้

1. ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest) จะพบได้ทั่วไปตามที่ราบ เนินเขา ริมลำห้วย เชิงเขา และมักขึ้นปะปนกับป่าเต็งรัง และป่าดงดิบเป็นแห่งๆ โดยเป็นสังคมป่าผลัดใบที่มีพันธุไม้หลายชนิดผสมกัน มีไม้ยืนต้นและไผ่ขึ้นผสมกระจายตามพื้นที่มีพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆขึ้นปะปนกัน ได้แก่ สัก ประดู่ แดง ซ้อ เสลา สมอพิเภก มะแฟน กระพี้เขาควาย ส้มกบ เป็นต้น ไม้ไผ่ที่พบส่วนใหญ่เป็นไผ่ซาง (Dendrocalamus strictus) ไผ่บงเล็ก (Bambusa natans) ไผ่หก (Dendrocalamus hamiltonii) และไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata) เป็นต้น

2. ป่าเต็งรัง (Deciduous Diperocarp Forest) พบว่าอยู่กระจัดกระจายทั่วพื้นที่ส่วนใหญ่จะขึ้นสลับกับป่าเบญจพรรณ พันธุ์ไม้เด่นที่พบ ได้แก่ เต็ง รัง ยางเหียง ยางพลวง พะยอม กะบก เป็นต้น พันธุ์ไม้พื้นล่างที่พบได้แก่ ไผ่ไร่ กระชาย กระเจียว เป็น

3. ป่าดงดิบ ( Eevergreen Forest) จะพบตามบริเวณริมห้วย ลำน้ำ หุบเขา ภูเขาสูง ที่มีความหนาแน่นของต้นไม้มาก และมักจะพบปะปนสลับกับป่าเบญจพรรณ ประกอบไปด้วยป่าดงดิบชื้นและป่าดงดิบเขา พันธุ์ไม้เด่นที่พบ ได้แก่ จำปีป่า จำปาป่า มะม่วงป่า ทะโล้ มะหาด ยมหอม หว้า สารภี นางพญาเสือโคร่ง ยาง ตะเคียน ก่อแพะ ก่อเดือย ก่อน้ำ ก่อข้าว ก่อแป้น อบเชย กำยาน เป็นต้น พันธุ์ไม้พื้นล่างที่พบ ได้แก่ หวาย เฟิร์นชนิดต่างๆ มอส เป็นต้น

4. ป่าสนเขา (Pine Forest) เป็นป่าที่พบเห็นอยู่ตามสันเขาและภูเขาสูง โดยจะขึ้นอยู่กระจัดกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ ไม่พบเห็นเป็นป่าผืนใหญ่ มักจะขึ้นปะปนกับป่าดิบเขา และป่าเบญจพรรณ พันธุ์ไม้เด่นที่พบ ได้แก่ สนสามใบ เป็นต้น

สัตว์ป่า

จากการสำรวจและสอบถามราษฎรในพื้นที่พบว่าสัตว์ป่าที่มีอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่ดำเนินการสำรวจจำแนกออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้

1. กลุ่มนก กลุ่มที่พบเห็นได้ง่ายที่สุด ได้แก่นกกระปูด (Centropus spp.) นกกางเขนดง (Copsychus malabaricus) นกปรอดหัวโขน (Psynonotus blanfordi) ไก่ป่า (Gallus gallus) นกกะราง (Garrulax spp.) นกแอ่นบ้าน (Apus affinis) กลุ่มนกเหยี่ยว นกแสก นกเอี้ยง นกกางเขน นกขมิ้น นกขุนทอง นกแซงแซว นกเค้าแมว ไก่ป่า และกลุ่มนกกระจิบอีกหลายชนิด

2. กลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Wild mammals) ได้แก่เก้ง หมูป่า อีเห็น นิ่มหรือลิ่น กระต่ายป่า (Lepus pegvensis) อ้นเล็ก (Cannomys badius) กระจ้อน (Menetes berdmorei) กระแตธรรมดา (Tupaiaglis) และกระรอก (Calloseiurus spp.) กระจง หมูป่า หมูหริ่ง บ่าง เม่นพังพร อีเห็น ชะมด เป็นต้น

3. กลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน (Leptiles) ได้แก่เต่าปูลู งูชนิดต่างๆ ตุ๊กแก จิ้งจก จิ้งเหลน ตะกวด ลิ่น ตุ๊กแกป่า แย้ ตะขาบ กิ้งกือ กิ้งก่าบิน แมลงป่อง เป็นต้น

4. สัตว์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก (Amphibians) ได้แก่ คางคกบ้าน กบห้วย ซาราเมนเดอร์ จิงโจ้น้ำ อึ่งอ่าง เขียด ปาด เป็นต้น

ใกล้เคียง

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อุทยานแห่งชาติในประเทศไทย อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี อุทยานราชภักดิ์ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

แหล่งที่มา

WikiPedia: อุทยานแห่งชาติภูชี้ฟ้า http://maps.google.com/maps?ll=19.865967,100.50257... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=19.8659... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.globalguide.org?lat=19.865967&long=100.... http://www.wikimapia.org/maps?ll=19.865967,100.502... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?P... http://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?P... http://www.dnp.go.th/NPRD/develop/data/stat55/ftha... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Phu_Ch...