เภสัชวิทยา ของ อเล็กทีนิบ

ผังการเผาผลาญ ของอเล็กทีนิบ โดยอเล็กทีนิบและสารออกฤทธิ์ M4 เป็นสารประกอบหลักที่พบในระบบไหลเวียน ในขณะที่สารอื่นเป็น สารเมแทโบไลต์รอง[13]

กลไกการออกฤทธิ์

สารนี้สกัดกั้นตัวรับเอนไซม์ไทโรซีนไคเนสอย่างมีศักยภาพและเจาะจงสองตัวได้แก่ อะนาพลาสติกลิมโฟมาไคเนส (ALK) และโปรโต-ออนโคยีน RET สารออกฤทธิ์ M4 มีฤทธิ์คล้ายต่อต้านกับ ALK ซึ่งการยับยั้ง ALK จะตามด้วยการขัดขวางเส้นทางการส่งสัญญาณของเซลล์ รวมถึงเส้นทาง STAT3 และ PI3K/AKT/mTOR และทำให้เกิดการตายของเซลล์เนื้องอก (apoptosis)[11][12]

เภสัชจลนศาสตร์

มีอัตราการดูดซึมยาได้อย่างสมบูรณ์เมื่อรับประทานพร้อมอาหารที่ร้อยละ 37 ความเข้มข้นในพลาสมาจะสูงสุดหลังจากผ่านไปสี่ถึงหกชั่วโมง และเข้าสู่สภาวะคงตัวภายในเจ็ดวัน การจับโปรตีนในพลาสมาของอเล็กทีนิบและ M4 มีค่ามากกว่าร้อยละ 99 เอนไซม์ที่มีหน้าที่หลักในการเผาผลาญอเล็กทีนิบคือ CYP3A4 ส่วนเอนไซม์ CYP อื่น ๆ และแอลดีไฮด์ดีไฮโดรจีเนส (aldehyde dehydrogenases) มีบทบาทเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อเล็กทีนิบ และ M4 คิดเป็นร้อยละ 76 ของสารในระบบไหลเวียน ในขณะที่ส่วนที่เหลือเป็นสารเมแทโบไลต์รอง[12][13]

ครึ่งชีวิตในพลาสมาของอเล็กทีนิบคือ 32.5 ชั่วโมง และของ M4 คือ 30.7 ชั่วโมง ถูกขับออกทางอุจจาระร้อยละ 98 โดยร้อยละ 84 เป็นอเล็กทีนิบที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และร้อยละ 6 เป็น M4 ส่วนการขับออกทางปัสสาวะพบน้อยกว่าร้อยละ 1[12][13]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อเล็กทีนิบ http://www.chemspider.com/Chemical-Structure.26326... http://www.pharmacypracticenews.com/Clinical/Artic... http://www.roche.com/inv-update-2016-02-10b-annex.... http://www.ema.europa.eu/ema/index.jsp?curl=pages/... http://www.ema.europa.eu/docs/en_GB/document_libra... http://www.ema.europa.eu/docs/en_GB/document_libra... http://www.ema.europa.eu/ema/index.jsp?curl=/pages... http://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25428710 http://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25428710 http://www.kegg.jp/entry/D10542