ประวัติความเป็นมา ของ อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง

คำว่าห้วยเสนง มาจากคำว่า “แสน็ง” เป็นภาษาพื้นบ้านหรือภาษาเขมรถิ่นบ้านเรา กรมชลประทาน  ได้ดำเนินการสำรวจออกแบบโครงการชลประทานห้วยเสนง[1] เป็นโครงการแรกของจังหวัดสุรินทร์ และเริ่มงานก่อสร้างในปี พ.ศ. 2495 งานชลประทานในจังหวัดสุรินทร์ ส่วนใหญ่เป็นโครงการชลประทานประเภทเก็บกักน้ำด้วยการสร้างอ่างเก็บน้ำและฝาย  ในปี พ.ศ. 2527 กรมชลประทานได้จัดตั้งโครงการชลประทานสุรินทร์  เป็นหน่วยงานในสังกัดของกรมชลประทาน โครงการชลประทานสุรินทร์ ตั้งอยู่ที่อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง หมู่ที่ 2 บ้านทำเนียบ ตำบลเฉนียง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ พิกัด 48 PUB 383 – 380 ระวาง  5638 I (1 : 50,000) อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง เป็นอ่างเก็บน้ำลักษณะเขื่อนดิน อยู่ในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ และอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 7 กิโลเมตร

อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง[2]สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2521 ปิดกั้นห้วยเสนงและลำน้ำอำปึลที่บ้านโคกจ๊ะ-บ้านถนน-บ้านเฉนียง ที่รับน้ำมาจากอ่างเก็บน้ำอำปึลเป็นอ่างแฝดทางด้านเหนือเขื่อนซึ่งเป็นฝ่ายส่งน้ำและบำรุง รักษาที่ 1 ชลประทานสุรินทร์ จึงได้ขุดร่องเชื่อมระหว่างอ่างทั้งสอง สร้างขึ้นเพื่อบรรเทาอุทกภัยและเพื่อการเกษตรโดยเฉพาะ

ใกล้เคียง

อ่างเก็บน้ำ อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง อ่างเก็บน้ำแม่ธิ อ่างเก็บน้ำแม่มอก อ่างเก็บน้ำทุ่งแหลม อ่างเก็บน้ำห้วยปราสาทใหญ่ อ่างเก็บน้ำบางลาง อ่างเก็บน้ำห้วยป่าแดง อ่างเก็บน้ำรัชชประภา อ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำหลวง