อ่านา

อ่านา (พม่า: အားနာ) เป็นค่านิยมทางสังคมและวัฒนธรรมของพม่าที่เทียบเท่ากับ ความเกรงใจ ในวัฒนธรรมไทย หรือ เอนเรียว (遠慮; enryo) ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น[1] อ่านา จะแสดงออกในรูปของการยับยั้ง ความไม่อยาก การปฏิเสธ หรือการหลีกหนีในความสัมพันธ์กับมนุษย์อีกคนเนื่องจากกลัวว่าจะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกแย่ เสียหน้า ไม่สะดวกใจ หรืออับอาย[2] อ่านา ยังรวมถึงการคิดถึงความรู้สึกของคนอื่นอย่างมาก และความประวงค์ที่จะไม่ทำให้ผู้อื่นรู้สึกเครียด ไม่สบายใจ หรือสร้างภาระแก่ผู้อื่น[3] หรือเป็นการแสดงออกถึงการเคารพในผลประโยชน์ของอีกบุคคลเป็นหลัก เหนือประโยชน์ของตนเอง[4] อ่านา มีบทบาทอย่างมากต่อลักษณะความสัมพันธ์ไปจนถึงพฤติกรรมทางสังคมและการเมืองในสังคมพม่า[5] นอกจากนี้ อ่านา ยังมีส่วนอย่างมากให้เกิดลำดับขั้นทางสังคมและความไม่เท่ากันในแง่ของความสัมพันธ์เชิงสังคม เพราะลักษณะของความตรงไปตรงมา ("ไม่ อ่านา") ถูกมองว่าเป็นพฤติกรรมที่ก้าวร้าวและเผชิญหน้าเกินไป[3]