ภาพรวม ของ ฮะรอม

การกระทำที่เป็นฮะรอมมีผลทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายและถือว่าเป็นบาป[7]

พวกเขาจะถามเจ้าเกี่ยวกับน้ำเมา และการพนัน จงกล่าวเถิดว่า ในทั้งสองนั้นมีโทษมากและมีคุณหลายอย่างแก่มนุษย์ แต่โทษของมันทั้งสองนั้นมากกว่าคุณของมัน..."— [อัลกุรอาน 2:219]

โดยการนำคำว่า "คุณประโยชน์" ที่ตรงข้ามกับคำว่า "โทษ" ในโองการที่ 2:219 ของอัลกุรอาน ยืนยันว่า ฮะรอม คือสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตราย ตามความจริงแล้ว ทุกสิ่งมีความหมายกับคู่ตรงข้ามของมัน; เช่น ถ้าไม่มีความหนาว เราจะไม่รู้ว่าความร้อนเป็นอย่างไร ดังนั้น บาปคือสิ่งที่ทำให้เราบาดเจ็บ เมื่อพระองค์ตรัสว่า "ห้าม" นั้น หมายถึง "อย่าทำร้ายตนเอง" หลักอิสลามได้กล่าวถึง ฮะรอม ว่า ถ้าบางสิ่งถูกห้ามหรือต้องห้าม ดังนั้น อะไรก็ตามที่นำไปหามันคือ การกระทำที่ฮะรอม ไม่จำกัดต่อบุคคลที่ทำในสิ่งที่ต้องห้ามเท่านั้น แต่ได้รวมไปถึงผู้ที่สนับสนุนให้ทำบาปด้วย[8]

ห้าประเภทของ الأحكام الخمسة, อัลอะฮ์กามุลค็อมซะฮ์ หรือลำดับการกระทำตั้งแต่อนุญาตถึงไม่อนุญาตเป็นไปตามนี้:[2][9]

  1. واجب / فرض (ฟัรฎ์/วาญิบ) – "ภาคบังคับ"/"หน้าที่"
  2. مستحب (มุสตะฮับบ์) – แนะนำ, "เป็นที่น่าพอใจ"
  3. مباح (มุบาฮ์) – เป็นกลาง, "อนุญาตให้ทำได้"
  4. مكروه (มักรูฮ์) – ไม่ชอบ, "หมดกำลังใจ"
  5. حرام (ฮะรอม) – บาป, "ต้องห้าม"

ฮะรอมแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่:

  1. الحرام لذاته (อัลฮะรอม ลิซาติฮ) – การห้ามเพราะแก่นแท้ของมันและก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคคลนั้น
  2. الحرام لغيره (อัลฮะรอม ลิฆ็อยริฮ) – ถูกห้ามเพราะเหตุผลภายนอกที่ไม่ค่อยมีพิษภัย แต่มีส่วนกับสิ่งที่ต้องห้าม[10]
    • ทรัพยสินที่ได้มาจากการทุจริต เช่น เงินที่ได้จากการโกง, การขโมย, ทุจริต, ฆาตกรรม และดอกเบี้ย หรืออะไรก็ตามที่ทำให้ผู้อื่นได้รับอันตราย

ในทางศาสนา ฮะรอม ตามอัลกุรอาน แบ่งได้เป็น:

  • การกระทำ เช่น การแช่ง, การผิดประเวณี, ฆาตกรรม และไม่ให้เกียรติพ่อแม่ของตน
  • นโยบาย เช่น ริบา (กินดอก, ดอกเบี้ย)
  • อาหารและเครื่องดื่มบางชนิด เช่น เนื้อหมูและแอลกอฮอล์
  • วัตถุ, อาหาร หรือการกระทำที่ฮะลาลในบางครั้ง ถือว่าเป็นฮะรอมในบางสถานการณ์ เช่น อาหารและเครื่องดื่มฮะลาลในช่วงเราะมะฎอน หรือวัวและสัตว์อื่น ๆ ที่ฮะลาล ไม่ได้ถูกเชือดตามวิถีอิสลาม
  • การไม่ทำบางอย่าง เช่นไม่ละหมาด

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฮะรอม http://almodarresi.com/en/books/pdf/TheLawsofIslam... http://www.religiousrules.com/Islamfood00table.htm http://www.siamic.com/ http://www.usc.edu/dept/MSA/quran/002.qmt.html#002... http://www.usc.edu/dept/MSA/quran/002.qmt.html#002... http://www.usc.edu/dept/MSA/quran/002.qmt.html#002... http://www.usc.edu/dept/MSA/quran/003.qmt.html#003... http://www.usc.edu/dept/MSA/quran/006.qmt.html#006... http://www.usc.edu/dept/MSA/quran/006.qmt.html#006... http://www.usc.edu/dept/MSA/quran/017.qmt.html#017...