ชีวิต ของ ฮาจิโก

บรรยากาศสถานีชิบูยะในช่วงรัชศกไทโช-โชวะ

ในปี ค.ศ. 1924 ฮิเดซาบูโร อูเอโนะ ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการเกษตรกรรมแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว ได้เลี้ยงสุนัขสายพันธุ์อากิตาอินุ ไว้ และตั้งชื่อให้ว่า "ฮาจิ" ซึ่งในตอนเย็นของทุกวัน ฮาจิจะไปรอเขาใกล้ ๆ กับสถานีรถไฟชิบูยะ เป็นเช่นนี้อยู่ทุกวันจนกระทั่งในวันหนึ่งในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1925 ศาสตราจารย์อูเอโนะได้เสียชีวิตจากภาวะเลือดออกในสมอง ทำให้ในวันนั้นเจ้านายของฮาจิไม่ได้กลับไปที่สถานีรถไฟ ถึงกระนั้นในทุก ๆ วัน ฮาจิก็ยังคงมารอเจ้านายของมันที่สถานีชิบูยะ[1]

ตลอดช่วงเวลานั้น ฮาจิโกะกลายเป็นที่สะดุดตาของคนที่สัญจรไปมา หลายคนในสถานีรถไฟนั้นล้วนเคยเห็นฮาจิโกกับเจ้านายของเขาในแต่ละวัน ซึ่งเจ้าหน้าที่ในสถานีรถไฟบางคนก็ไม่ได้เป็นมิตรต่อเจ้าฮาจิโกมากนัก อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 1932 ภายหลังจากที่มีคนเขียนบทความเกี่ยวกับเจ้าฮาจิโกและเจ้านายของเขาลงในหนังสือพิมพ์อาซาฮิ ก็เริ่มมีผู้คนจำนวนหนึ่งที่นำขนมและอาหารไปให้แก่เจ้าฮาจิโก ซึ่งหากรวมระยะเวลาทั้งหมดแล้ว เป็นเวลากว่า 9 ปีภายหลังการเสียชีวิตของศาสตราจารย์อูเอโนะ ที่เจ้าฮาจิโกได้มาเฝ้ารอการกลับมาของเจ้านายทุกวัน

สื่อสิ่งพิมพ์

ร่างของฮาจิโกถูกจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติญี่ปุ่น

ค.ศ. 1932 นักศึกษาคนหนึ่งในอูเอโนะ (ที่เชี่ยวชาญในการผสมพันธุ์สุนัขอากิตะ) เห็นฮาจิที่สถานีและตามเขาไปในบ้านของคิกูซาบูโร โคบายาชิ อดีตคนสวนของศาสตราจารย์อูเอโนะ[2]) ทำให้เขาได้ทราบถึงประวัติของฮาจิโก ไม่นานหลังจากนั้น นักศึกษาได้เผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับประชากรสุนัขอากิตะในญี่ปุ่น ซึ่งในงานวิจัยของเขาพบว่ามีสุนัขอากิตะพันธุ์แท้เพียง 30 ตัวที่เหลืออยู่ ซึ่งเจ้าฮาจิโกเป็นหนึ่งในนั้น

เขากลับไปเยี่ยมฮาจิโกบ่อยขึ้น และในปีที่เขาตีพิมพ์บทความหลายเรื่องเกี่ยวกับความจงรักภักดีที่น่าทึ่งของฮาจิโกในปี 1932 หนึ่งในบทความเหล่านี้ถูกตีพิมพ์ในโตเกียว โดยหนังสือพิมพ์อาซาฮิชิมบุง ซึ่งทำให้ฮาจิเป็นที่สนใจขึ้นมาทันทีจากทั้งประเทศ เรื่องราวของฮาจิโกกลายเป็นเรื่องโด่งดังระดับชาติ ความสัตย์ซื่อและความทรงจำของเจ้านายของมัน เป็นที่ประทับใจของชาวญี่ปุ่นจากจิตใจที่เปี่ยมด้วยความจงรักภักดี ครูและผู้ปกครองจำนวนมากได้เล่าเรื่องนี้แก่ลูกหลานเพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับเด็กที่ควรจะปฏิบัติตาม ในด้านของความจงรักภักดีและรู้คุณ

ในที่สุดความซื่อสัตย์และตำนานของฮาจิโกกลายเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติในด้านความจงรักภักดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคจักรวรรดินิยม ที่ผู้คนจงรักภักดีต่ออย่างสุดซึ่งต่อองค์จักรพรรดิ[3]

วันที่มรณะของฮาจิโก

ภาพสุดท้ายของฮาจิโก ในวันที่ฮาจิโกตาย

ฮาจิโกตายลงในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ 1935 บริเวณถนนในชิบูยะ[4] ซึ่งหลังจากฮาจิโกตาย ร่างของมันได้ถูกรักษาไว้ ต่อมาในปี ค.ศ. 2011 ร่างของฮาจิโกถูกชันสูตรที่มหาวิทยาลัยโตเกียวเกี่ยวกับสาเหตุการตาย ซึ่งพบว่ามีพยาธิที่ตับและหัวใจ และมีปัญหาที่ระบบทางเดินอาหาร [5][6]

ป้ายอนุสรณ์ของฮาจิโก ตั้งอยู่ข้างหลุมศพของศาสตราจารย์อูเอโนะ

ในปัจจุบันร่างของฮาจิโกถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติญี่ปุ่น[7][8] ป้ายอนุสรณ์ของฮาจิโกตั้งอยู่ในสุสานอาโอยามะ แขวงมินาโตะ กรุงโตเกียว[9] นอกจากนี้ ยังมีอนุสาวรีย์อยู่ที่หน้าสถานีรถไฟชิบูยะ ซึ่งเป็นจุดที่ฮาจิโกนั่งรอเจ้านาย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฮาจิโก http://www.berfrois.com/ http://www.berfrois.com/2011/09/aaron-herald-skabe... http://www.digitaljournal.com/article/218509/Dog_f... http://www.northlandakitas.com/akitahistory/ahisto... http://news.yahoo.com/s/ap/as_japan_faithful_dog;_... http://books.google.co.jp/books?id=nnkSCqG8L4YC&lp... http://search.japantimes.co.jp/cgi-bin/nn20110304a... http://www.kahaku.go.jp/english/news/2007/0417open... http://welcome-shibuya.net/history/hachiko/ https://commons.wikimedia.org/wiki/Hachiko?setlang...