ศัพท์อังกฤษ ของ ฮาร์มอนิก

ฮาร์มอนิกตามธรรมชาติของไวโอลินที่สาย A

ตัวอย่างเป็นเสียงฮาร์มอนิก 16 ความถี่โดยใช้เสียงทุ้มแหลมรูปไซน์ทำโดยอิเล็กทรอนิกส์ เริ่มที่ความถี่มูลฐาน 110 Hz มีระยะครึ่งวินาทีแต่ละคลื่น ให้สังเกตว่าฮาร์มอนิกแต่ละคลื่นจะมีระดับสัญญาณเท่ากับของความถี่มูลฐาน แต่เสียงตัวอย่างฟังดูดังขึ้นเมื่อความถี่สูงขึ้น

หากมีปัญหาในการเล่นไฟล์เหล่านี้ ดูที่ วิธีใช้สื่อ

ฮาร์มอนิกอาจจะเรียกด้วยว่า overtones, partials, หรือ upper partialsความต่างระหว่างฮาร์มอนิกกับ overtone ก็คือ ฮาร์มอนิกหมายเอาโน้ตทั้งหมดในอนุกรมรวมทั้งความถี่มูลฐาน (เช่น สายกีตาร์ที่ไม่ได้กด)ส่วนคำว่า overtone หมายเอาเสียงในอนุกรมที่สูงกว่าความถี่มูลฐานเท่านั้นแม้ในวรรณกรรมดนตรีบางบริบท คำทั้งสามนี้อาจใช้เหมือน ๆ กัน

Partials, overtones, และฮาร์มอนิกส์

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

overtone เป็น partial ไหนก็ได้ที่สูงกว่า partial ต่ำสุดในเสียงประกอบความดังและความถี่ของ partial ต่าง ๆ ในเสียงประกอบจะกำหนดน้ำเสียง (timbre) ของเครื่องดนตรีความคล้ายคลึงกันของคำว่า overtone และ partial ทำให้ใช้โดยความหมายเหมือนกันในบางบริบท แต่การนับลำดับจริง ๆ จะต่างกัน ซึ่งอาจทำให้สับสนในกรณีพิเศษที่น้ำเสียงเครื่องดนตรี (timbre) ที่มี partial ต่าง ๆ เท่ากับอนุกรมฮาร์มอนิก (ดังที่พบในเครื่องสายและเครื่องเป่าโดยมาก) แทนที่จะมี partial ต่าง ๆ ซึ่งไม่เป็นฮาร์มอนิก (เช่น เครื่องตีที่ส่งเสียงสูงต่ำโดยมาก)ก็จะสะดวกเรียก partial ต่าง ๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบว่า เป็นฮาร์มอนิก แม้นี่จะไม่ถูกต้องโดยเทคนิค เพราะฮาร์มอนิกจะนับเหมือนกันแม้มีบางส่วนขาดหายไป (ดูเสียงความถี่มูลฐานที่ไม่มี) แต่ partial และ overtone จะนับก็ต่อเมื่อมีเสียงจริง ๆ ตารางต่อไปนี้แสดงการใช้ชื่อ 3 อย่างนี้ (คือ partial, overtone, และฮาร์มอนิก) และวิธีการนับ (โดยสมมุติว่า ฮาร์มอนิกทั้งหมดมีจริง ๆ)

ความถี่ ลำดับ ชื่อ 1 ่ชื่อ 2 ชื่อ 3 รูปคลื่น รูปคลื่นในสื่อ
1 × f = 0440 Hz n = 1 partial ที่ 1 fundamental tone ฮาร์มอนิกที่ 1
2 × f = 0880 Hz n = 2 partial ที่ 2 overtone ที่ 1 ฮาร์มอนิกที่ 2
3 × f = 1320 Hz n = 3 partial ที่ 3 overtone ที่ 2 ฮาร์มอนิกที่ 3
4 × f = 1760 Hz n = 4 partial ที่ 4 overtone ที่ 3 ฮาร์มอนิกที่ 4