ชิงตัวประกัน ของ เกมจารชน

ในช่วงที่สองของเกมผู้เข้าแข่งขันที่เหลือ 4 คนจะถูกแบ่งทีมแบ่งละ 2 ทีม ทีมละ 2 คนโดยกติกามีอยู่ว่า ให้คนในทีมเข้าไปในเป็นตัวประกัน ส่วนอีกคนจะเลือกคำปริศนามา 1 จาก 4 คำปริศนาด้วยกัน (ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2542 และช่วงปี พ.ศ. 2545 - 2548 เพิ่มขึ้นเป็น 6 คำปริศนา) ซึ่งผู้ที่เป็นตัวประกันจะบอกโค้ดลับให้ผู้ร่วมทีมครั้งละ 1 พยางค์ (หากเกินพยางค์เดียวหรือมีหางเสียงออกมา หรือมีเสียงอื่น จะถือว่าฟาล์ว แต่บางครั้งจะไม่บอกหากตัวประกันยังคิดไม่ออก จะถือว่าไม่มีการใบ้ในโค้ดลับนั้น) คนที่ช่วยตัวประกันจะมีเวลาตอบ 5 วินาที ถ้าหมดเวลาแล้วยังไม่สามารถตอบถูก ตัวประกันจะได้ให้โค้ดลับเพิ่ม แต่ถ้าตอบถูกต้องก็ถือว่าช่วยตัวประกันได้สำเร็จและจะได้คะแนนไปโดยในโค้ดลับแรกจะมี 5 คะแนน โค้ดลับที่สองจะมี 4 คะแนน โค้ดลับที่สามจะมี 3 คะแนน โค้ดลับที่สี่จะมี 2 คะแนน โค้ดลับสุดท้ายจะมี 1 คะแนน ต่อมาเป็นสามโค้ดลับในรอบแรก เป็น 3/2/1 คะแนน

ส่วนการใบ้รอบที่ 2 ผู้เล่นในทีมจะสลับหน้าที่กัน กล่าวคือ ผู้ที่เป็นคนช่วยตัวประกันในรอบที่แล้วจะต้องเป็นตัวประกัน และตัวประกันในรอบที่แล้วก็จะต้องเป็นคนช่วยตัวประกันแทน และคะแนนในรอบที่ 2 ก็จะเพิ่มเป็น 2 เท่า (10 คะแนน / 8 คะแนน / 6 คะแนน / 4 คะแนน / 2 คะแนน ซึ่งภายหลังเป็น 3 โค้ดลับในรอบที่ 2 เป็น 6/4/2 คะแนน)

รูปแบบแรกของเกมชิงตัวประกันผู้แข่งขันในทีมจะถูกทีมงานจับและนั่งเก้าอี้เลื่อนออกมาและถูกแต่งหน้าให้คล้ายกับถูกทำร้ายร่างกายหรือถูกแต่งตัวในรูปแบบต่าง ๆ เมื่อใบ้เสร็จก็จะเข็นกลับเข้าไป แต่เมื่อยังทายไม่ถูกตัวประกันก็จะถูกแต่งไปเรื่อย ๆ หากครบ 5 โค้ดลับ ซึ่งภายหลังมาเป็น 3 โค้ดลับ แล้วยังทายคำปริศนาไม่ถูก ตัวประกันจะถูกปล่อยออกมา และหน่วยพิฆาตจะยิงกระสุนแป้งไล่หลังมาด้วยหรือในบางครั้งตัวประกันจะทำท่าเจ็บตัว แต่ถ้าชิงตัวประกันได้สำเร็จ ตัวประกันจะทำการแกล้งหน่วยพิฆาตกลับคืน เช่น ยิงปืนกระสุนแป้ง ทำให้หน่วยพิฆาตคนใดคนหนึ่งเละหรือเละยกทีมแบบเดียวกับตนเอง (ใช้ตั้งแต่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2541 - กลางปี พ.ศ. 2542)

อย่างไรก็ดี ภายหลังได้ปรับเปลี่ยนโดยใช้ประตูมรณะ ซึ่งมีลักษณะเป็นหนามอยู่บริเวณขอบประตู ก่อนที่จะเป็นหนามเป็นเข็มฉีดยา แต่ในบางครั้งจะเปลี่ยนเป็นอุปกรณ์อื่น ๆ แทนการใช้หนามเพื่อความขบขัน โดยถ้าผู้เข้าแข่งขันไม่สามารถตอบถูกประตูมรณะจะเคลื่อนที่ 1 ขั้น (ประตูมรณะมี 3 ระดับ คือ ระยะห่าง ระยะกลาง และระยะประชิด) ในตอนแรก (กลางปี พ.ศ. 2542 - ปลายปี พ.ศ. 2542) ตอนทีกำแพงจะเคลื่อนที่ 1 ขั้น (ตอบโค้ดลับที่ 1 และ 2 ไม่ได้) พิธีกรจะสั่งว่า "กำแพงมรณะ ทำงาน” และตัวกำแพงจะมีการขู่คำราม (ถ้าผิดโค้ดลับสุดท้าย) สั่งว่า ''กำแพงมรณะพิฆาต" ตัวประกันจะโดนกำแพงทับทันที ต่อมาจะสั่งว่า “ประตู อัดเลย" 3 รอบในกรณีตอบผิด3ข้อ และตัวกำแพงจะมีการขู่คำราม 3 ที รูปแบบที่สอง (ปลายปี พ.ศ. 2542 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2548) ตัวกำแพงจะเคลื่อนที่ 1 ขั้นแบบอัตโนมัติและตัวกำแพงจะไม่มีการขู่คำราม (ตอบโค้ดลับที่ 1 และ 2 ไม่ได้) ส่วนตัวประกันจะบอกโค้ดลับอีก 1 ครั้ง และเมื่อตอบไม่ได้ในโค้ดลับสุดท้าย (โค้ดลับที่ 3) พิธีกรจะสั่งว่า “ประตูมรณะ อัดเลย” และตัวประตูมรณะจะหนีบตัวประกัน (ในกรณีที่ทีมที่เล่นทีหลัง ไม่สามารถใบ้คำให้มีคะแนนชนะหรือเสมอทีมตรงข้าม ตัวประกันจะถูกประตูมรณะหนีบทันที ถึงแม้ว่าจะใบ้ไม่ครบ 3 คำใบ้ก็ตาม) เมื่อโดนประตูมรณะทับผู้ที่เป็นตัวประกันจะถูกอยู่ในสภาพของแป้ง,ลิปสติก,ไข่หรืออื่นๆที่เลอะ (ใช้ตั้งแต่ กลางปี พ.ศ. 2542 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2548)

ในกรณีที่เสมอกัน ก็จะต้องตัดสินด้วยการวัดลูกตุ้มระเบิด โดยแต่ละฝ่ายจะต้องเลือกแท่นลูกตุ้มระเบิดของตัวเอง และฝ่ายใดที่มีลูกตุ้มระเบิดมากกว่าก็จะเป็นผู้ชนะ (ทั้งนี้ ภายในตุ้มระเบิด อาจจะมีลูกระเบิดแค่ครึ่งลูก หรือไม่มีเลยก็เป็นได้ หรือตุ้มระเบิดทั้ง 2 มีลูกระเบิด 1 ลูกเท่ากัน พิธีกรจะทำการตรวจสอบ แล้วจะมีลูกระเบิดลูกใดลูกหนึ่งที่สามารถเปิดออกมา แล้วมีลูกระเบิดขนาดเล็กซ่อนอยู่ 3-4 ลูก ทีมที่เลือกตุ้มระเบิดนี้จะชนะไป เพราะมีจำนวนลูกระเบิดมากกว่า)

แต่ก่อนที่รายการจะใช้ลูกตุ้มระเบิดในการตัดสิน ทางรายการเคยใช้ คำปริศนา ในการตัดสิน โดยจะมีคำปริศนามาทั้งหมด 2 คำปริศนา แล้วผลัดกันทายเหมือนในช่วงแรก ทีมใดมีคะแนนมากสุด ทีมนั้นจะเป็นฝ่ายชนะ และในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557 รายการ My Man Can แฟนฉันเก่ง ได้จำลองเอากติกาในเกมชิงตัวประกันมาเป็นหนึ่งในภารกิจในรายการอีกด้วย

จุดเด่นของรอบชิงตัวประกันคือ การแกล้งตัวประกันในแบบต่าง ๆ เช่น การหลอกถามบางอย่างเพื่อให้ตัวประกันเผลอพูดคำที่ไม่เกี่ยวข้องกับโค้ดลับออกมาซึ่งเป็นการทำให้เสียสิทธิ์โดยที่ไม่รู้ตัว และการนำอุปกรณ์ต่าง ๆ มาแกล้งตัวประกันก่อนที่จะใบ้โค้ดลับออกมา เสมือนเป็นการทำให้ผู้ชมขำขันและไม่เสียอรรถรสในการชม

แหล่งที่มา

WikiPedia: เกมจารชน //scholar.google.com/scholar?q=%22%E0%B9%80%E0%B8%... //www.google.com/search?&q=%22%E0%B9%80%E0%B8%81%E... //www.google.com/search?as_eq=wikipedia&q=%22%E0%B... //www.google.com/search?q=%22%E0%B9%80%E0%B8%81%E0... //www.google.com/search?tbs=bks:1&q=%22%E0%B9%80%E... http://www.instagram.com/GameJarachon http://www.workpoint.co.th https://www.facebook.com/GameJarachon https://www.youtube.com/watch?v=R_ia1F3riS4 https://www.jstor.org/action/doBasicSearch?Query=%...