ประวัติ ของ เกมสร้างเมือง

เกมแนวสร้างเมืองก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1989 หลังเกม ซิมซิตี (1989) ที่มีเป้าหมายหลักในการสร้างเมืองอย่างต่อเนื่องมากกว่าการตั้งเป้าหมายชัยชนะ[2] ผู้เล่นสามารถเลือกตามความต้องการของตนเองในการออกแบบและการพัฒนาของเมือง ตัววัดความสำเร็จของเมืองได้แก่การบริหารงบประมาณให้เป็นบวกและความพึงพอใจของประชากร เกมในชุด ซิมซิตี ถัด ๆ มา เช่น ซิมซิตี 4 ก็ล้วนมียอดขายที่สูง แสดงให้เห็นถึงความนิยมของเกมแนวนี้

เกมซิมเกมแรก ยูโทเปีย (Utopia) ออกเมื่อปี 1982 พัฒนาขึ้นสำหรับระบบคอนโซลแมตเตล อินเทลล์วิชัน มีองค์ประกอบเกมหลาย ๆ อย่างที่ใกล้เคียงกัน แต่ก็ถูกจำกัดด้วยความละเอียดที่จำกัดของหน้าจอในยุคนั้น เมื่อเทียบกับพื้นที่ว่างหลายพันช่องที่มีใน ซิมซิตี ที่ปล่อยออกมาในอีกไม่กี่ปีให้หลัง แต่ละเกาะใน ยูโทเปีย มีที่ว่างเพียง 29 ช่องที่สร้างโรงเรียน โรงงาน และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ได้เท่านั้น คะแนนผู้เล่นจะขึ้นอยู่กับความเป็นอยู่ของประชากรในเกาะ

ความนิยมของเกมสร้างเมืองในระลอกที่สองเกิดขึ้นในปี 1993 จากเกม ซีซาร์ (Ceasar) ซึ่งจำลองเมืองในโรมโบราณ มีการแทนที่ระบบไฟฟ้าด้วยระบบท่อน้ำ และขนส่งมวลชนด้วยระบบถนน เกมอื่น ๆ ที่ตามมาในซีรี่ส์ ซิตีบิลดิงซีรีส์ (City Building Series) นี้ล้วนนำแบบมาจากเมืองในอารยธรรมเก่าแก่ในอดีตของโลก

ชุดเกมอันโน (Anno) ที่เริ่มต้นในปี 1998 ถือว่าเป็นเกมที่ริเริ่มการสร้างกราฟิกส์ที่มีรายละเอียด รวมทั้งการจำลองเศรษฐกิจที่หนักหน่วง และการเล่นที่เป็นเอกลักษณ์

ซิมซิตี 4 (SimCity 4) ซึ่งปล่อยออกมาในปี 2003 ได้รับคำชื่นชมอย่างมากในฐานะเกมที่ตั้งมาตรฐานใหม่ให้กับแนวเกมสร้างเมือง และยังคงได้รับการยอมรับในฐานะเกมสร้างเมืองที่ดีที่สุด แม้กระทั่งในหนึ่งทศวรรษให้หลังจากเปิดตัวเกม[3] but others suggest that the game has too steep of a learning curve and was too complex for a casual player.[2] เกมต่อ ๆ มาในชุดมีความพยายามในการปรับปรุงจากซิมซิตี 4 เช่น ซิมซิตีโซไซตีส (SimCity Societies) ในปี 2007 ที่ไม่ได้ลงลึกในเรื่องของเกมเพลย์เหมือนเกมสร้างเมืองอื่น ๆ แต่เพิ่มองค์ประกอบอื่น ๆ เข้ามา เช่น การบริหารสังคม ( social management)[2] การเปลี่ยนแปลงนี้ได้รับคำวิจารณ์มากแม้แต่จากแฟนของเกมก็ตาม ต่อมาเมื่อปี 2013 ซิมซิตี ได้รวบรวมความพยายามในการนำแฟรนไชส์นี้กลับไปสู่รากฐานเดิมของซิมซิตี แต่ก็ถูกวิจารณ์อย่างหนักด้วยรูปแบบที่บังคับให้เป็นออนไลน์ บั๊กในการเรนเดอร์ องค์ประกอบเกมที่เคยสัญญาไว้หายไป และการจำกัดขนาดเมือง การเสื่อมของแฟรนไชส์เกมซิมซิตีนี้ได้ส่งผลให้บริษัทอื่น ๆ ออกเกมแนวสร้างเมืองมาครองตลาด เช่น ซิตีส์ XL (Cities XL; ปี 2009) และ ซิตีส์: สกายลายน์ (Cities: Skylines; ปี 2015) ที่ได้ชื่อว่าประสบความสำเร็จอย่างสูงในทางธุรกิจ[2]

ด้วยการเพิ่มขึ้นของเกมโซเชียล (social gaming), เกมมือถือ (mobile gaming), เกมฟรีเมียม (freemium) และโมเดลการจ่ายเงินในระดับจุลภาค (micropayment model) ในทศวรรษ 2010s ได้มีเกมสร้างเมืองแบบทั่วไป (casual city-building games) จำนวนมากเกิดขึ้น ซึ่งก็ล้วนมีกลไกของเกมที่ต่างกันไป เช่น เกมแนว “ผลิตและอัปเกรด” โดยใช้เวลาเป็นหลัก (time-based "produce and upgrade") ดังที่พบในเกมอย่าง ซิตีวิลล์ (Cityville), ซิมซิตี บิลด์อิท (SimCity Buildit), เมกาโพลิส (Megapolis) และ ซิตีไอส์แลนด์ (City Island) ถึงแม้ว่าแฟนเกมสร้างเมืองจากยุคดั้งเดิมจะไม่ชอบเกมรูปแบบใหม่พวกนี้[4] แต่เกมแนวใหม่นี้กลับมีความสำเร็จอย่างสูงทั่วโลกมากกว่าเกมสร้างเมืองในยุคก่อน ๆ ที่กล่าวไปข้างต้น[5]