กฎกติกา ของ เกมแก้จน

ต้นตำรับ (4 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2546)

ในยุคแรก (2541 - 2543) จะมีปรัศนีทั้งหมด 8 ท่าน โดยแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายละ 4 คน คือสีเหลืองและสีเขียว โดยจะให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 ทายว่าปรัศนีที่เป็นเจ้าของธุรกิจตัวจริงนั่งอยู่ในโพเดียมสีใด (โดยการปักธงสีเหลืองหรือสีเขียว) โดยครั้งแรกจะคัดคนออกเหลือ 4 คน (สีละ 2 คน) ครั้งที่ 2 คัดเหลือ 2 คน (สีละ 1 คน) และครั้งสุดท้ายจะคัดเหลือเพียงคนเดียวซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจตัวจริง แต่จะมีการสลับตำแหน่งด้วยในการทายทุกๆ ครั้ง ถ้าผู้เข้าแข่งขันคนใดตอบถูกในแต่ละครั้ง จะได้คะแนนครั้งละ 1 คะแนน[ต้องการอ้างอิง]

ต่อมาในปี 2544 ได้มีการเปลี่ยนกติกาใหม่ โดยจะมีปรัศนี 4 ท่าน (จากเดิม 8 ท่าน) และใช้กติกาเดียวกับยุคแรก แต่ในครั้งที่ 2 (คัดเหลือ 1 คนผู้เป็นเจ้าของธุรกิจตัวจริง) หากผู้เข้าแข่งขันตอบถูก จะได้ 2 คะแนน[ต้องการอ้างอิง]

ต่อมาในช่วงปี 2545 - 2546 ได้มีการปรับเปลี่ยนกติกาเล็กน้อย โดยจะมีปรัศนี 4 ท่าน (แต่ไม่มีการแบ่งสี) ให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 ทายว่า 1 ใน 4 ท่านนี้ใครเป็นเจ้าของธุรกิจตัวจริง และมี 3 ท่านเป็นตัวหลอก ถ้าผู้เข้าแข่งขันคนใดตอบถูก จะได้รับคนละ 1 คะแนน[ต้องการอ้างอิง]

เมื่อตอบคำถามเสร็จพิธีกรก็จะสัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจตัวจริงและยังให้ผู้เข้าแข่งขันไปชม VTR การทำธุรกิจที่เจ้าของธุรกิจตัวจริงเอามาให้ชม และพิธีกรจะมอบโล่เกียรติคุณจากรายการเกมแก้จนให้กับเจ้าของธุรกิจตัวจริง

เกมนี้เริ่มเล่นตั้งแต่เทปแรก (พ.ศ. 2541) จนถึงสิ้นปี 2546 ก่อนที่จะย้ายเวลามาเป็นวันเสาร์และปรับเปลี่ยนกติกาใหม่เป็นเกมยอดฝีมือ

ยอดฝีมือ (3 มกราคม พ.ศ. 2547 - 24 กันยายน พ.ศ. 2548)

เกมนี้ได้นำมาใช้แทนเกมต้นตำรับตั้งแต่ปี 2547 (จนถึงเทปสุดท้ายของรายการ) โดยจะมีแขกรับเชิญที่มีชื่อเสียงหรือความสามารถในด้านต่างๆ มาถามคำถามสองข้อ ข้อแรกจะถามเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ถ้าผู้เข้าแข่งขันคนใดตอบถูก จะได้รับคนละ 1 คะแนน ส่วนข้อที่ 2 จะถามเกี่ยวกับคนที่รู้จัก โดยจะมีบุคคลปริศนา 3 ท่าน แต่จะมีคนเดียวซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับแขกรับเชิญ หากตอบถูกจะได้รับคนละ 2 คะแนน และพิธีกรจะมอบโล่เกียรติคุณจากรายการเกมแก้จนให้กับแขกรับเชิญเช่นเดียวกับเกมต้นตำรับด้วย[ต้องการอ้างอิง]

ธุรกิจแก้จน (เขาทำอาชีพอะไร?)

ในรอบนี้ ทางรายการจะเชิญปรัศนีสัปดาห์ละ 1 ท่านมาเป็นตัวปริศนาพร้อมสิ่งของที่ใช้ในการทำอาชีพ โดยในช่วงปี 2541 - 2545 จะให้ผู้เข้าแข่งขันแย่งกันกดปุ่มไฟเพื่อตอบคำถาม โดยจะต้องเลือกคำใบ้จากผู้สนับสนุนทั้ง 6 แผ่นป้าย (ผู้สนับสนุนในรอบนี้คือ นมสดโฟร์โมสต์ ต่อมาเป็นเครื่องสำอางอารอน นมสดดัชมิลล์ ยาแก้ไอชวนป๋วยปี่แป่กอ และ สีกัปตัน) ให้ผู้เข้าแข่งขันได้ตอบคำถามและพิธีกรจะอ่านคำใบ้นั้นให้ เมื่อพิธีกรอ่านคำใบ้เสร็จผู้เข้าแข่งขันสามารถซักถามปรัศนีโดยปรัศนีจะตอบว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ ผู้เข้าแข่งขันสามารถถามกี่ข้อก็ได้ตราบใดที่คำตอบของปรัศนีคือใช่ ถ้ามั่นใจแล้วก็สามารถตอบได้ทันที ถ้าตอบถูกจะได้รับ 3 คะแนน (ต่อมาในปี 2545 ลดเหลือเพียง 2 คะแนน[1])ถ้าตอบผิดก็จะวนไปหาผู้เข้าแข่งขันที่เหลืออีก 2 คนได้ตอบ หากตอบผิดทั้ง 3 คนก็จะต้องแย่งกันกดปุ่มไฟใหม่ และเกมจะวนเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีคนตอบถูก และเมื่อตอบถูก พิธีกรจะยกป้ายเฉลยคำตอบว่าเป็นอาชีพอะไร

ต่อมาในช่วงปี 2546 กฎกติกายังคงเดิม แต่ได้เพิ่มตัวเลือก 6 ตัวเลือกให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกตอบจากเดิมที่ต้องถามปรัศนีแล้วคิดคำตอบเอาเอง ซึ่งมีตัวเลือกเดียวเท่านั้นที่เป็นคำตอบที่ถูกต้อง ถ้าตอบถูกจะได้รับ 2 คะแนน แต่ถ้าตอบผิดผู้เข้าแข่งขันจะต้องแย่งกันกดปุ่มไฟใหม่ และเกมจะวนเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีคนตอบถูก[2] [3]

และต่อมาในช่วงปี 2547 - 2548 ได้มีการปรับเปลี่ยนกติกาเล็กน้อย โดยจะมีสิ่งของที่ใช้ในการทำอาชีพ 3 อย่าง และมีตัวเลือก 4 ตัวเลือกจากผู้สนับสนุนรายการ(ผู้สนับสนุนในรูปแบบนี้คือ สีกัปตัน ต่อมาเป็นเครื่องดื่มคาราบาวแดง และกาแฟเขาช่อง คอฟฟี่มิกส์ 3IN1) ซึ่งจะมีเพียงตัวเลือกเดียวเท่านั้นที่เป็นคำตอบที่ถูกต้อง รวมถึงให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 ได้ตอบแทนการกดปุ่มไฟ และปรัศนีจะเป็นผู้เฉลยคำตอบแทนการตอบว่าคำตอบนั้นใช่หรือไม่ ถ้าตอบถูกจะได้รับคนละ 3 คะแนน[4]

รอบตัดสิน

ในรอบนี้เป็นการตัดสินผู้เข้าแข่งขันให้เข้ารอบ Jackpot โดยจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนหลักที่มีเลข 1-10 ภายหลังเปลี่ยนเป็นแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 10 แผ่นป้าย (ผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้คือ เวเฟอร์เบงเบง ต่อมาเปลี่ยนเป็น ชุดเครื่องนอนซาติน เบียร์ช้าง และนมตรามะลิ) มีคะแนนตั้งแต่ 0-9 ผู้แข่งขันทุกคนจะได้เลือกแผ่นป้ายคะแนนคนละ 1 แผ่นป้าย โดยในปี 2541-2542 ผู้ที่มีคะแนนมากที่สุดมีสิทธิ์เปลี่ยนได้ ต่อมาในกลางปี 2542 เป็นต้นมาได้มีการเปลี่ยนรูปแบบโดยนำคะแนนที่เปิดได้ไปรวมกับคะแนนที่มีอยู่

สำหรับในรอบนี้ ผู้เข้าแข่งขันที่เปิดได้คะแนนรวมมากที่สุดจะเข้ารอบแจ็คพอตทันที แต่ถ้ามีคะแนนเท่ากัน ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนสะสมอยู่มากกว่าเข้ารอบแจ็คพอตทันที ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่เหลืออีก 2 ท่านที่มีคะแนนรวมน้อยกว่าผู้เข้าแข่งขันคนหนึ่งจะตกรอบ โดยจะได้รับทองคำหนัก 2 บาทและผลิตภัณฑ์ผู้สนับสนุนรายการ 1 คันรถเป็นการปลอบใจได้ทันที แต่ในปี 2547 ลดเหลือแค่มอบทองคำหนัก 2 บาทเท่านั้น

รอบสุดท้าย

รอบสุดท้าย (Jackpot) ของเกมแก้จนมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย (ผู้สนับสนุนในรอบนี้คือ ผงซักฟอกบรีส ซุปก้อนคนอร์ น้ำยาล้างจานซันไลต์ ยาสตรีบัวแก้ว และนมข้นหวานตรามะลิ โดยรูปแบบแรกจะมีแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการในเครือยูนิลีเวอร์ ต่อมาเป็นผู้สนับสนุนหลักที่มีเลข 1-12 กำกับไว้อยู่) โดยมีป้ายคำว่า แก้ จำนวน 6 แผ่นป้าย มีทองคำหนัก 2 บาท และคำว่า จน จำนวน 6 แผ่นป้ายเป็นแผ่นป้ายเปล่าไม่มีทองคำแต่อย่างใด กล่าวคือมี จน อยู่ด้านล่างแล้วให้เปิดคำว่า แก้ เพื่อจับคู่เป็นคำว่า แก้จน ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดแผ่นป้าย คำว่า แก้ ทั้งหมด 6 แผ่นป้าย จะได้รับทองคำหนัก 240 บาท โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 120 บาท ให้กับผู้เข้าแข่งขัน และผู้โชคดีที่มาจากการจับรางวัลซึ่งเป็นฉลากชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนรายการที่ผู้ชมทางบ้านส่งมาร่วมสนุกนั่นเอง แต่ถ้า 6 เดือนแจ็กพอตไม่แตกจะมีการให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 ท่าน จับชิ้นส่วนคนละ 1 ชิ้นเมื่อแข่งขันจบชิ้นส่วนของผู้เข้าแข่งขันที่เข้ารอบสุดท้ายรับไปเลยทองคำหนัก 120 บาท พร้อมกับผู้ร่วมสนุกทางบ้านทันทีส่วนชิ้นส่วนของผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบทั้ง 2 ท่านจะได้รับทองคำหนัก 1 บาท ซึ่งในรอบนี้มีผู้ทำ Jackpot แตกคนแรกและคนเดียว คือ สุเทพ สีใส[ต้องการอ้างอิง]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: เกมแก้จน //scholar.google.com/scholar?q=%22%E0%B9%80%E0%B8%... //www.google.com/search?&q=%22%E0%B9%80%E0%B8%81%E... //www.google.com/search?as_eq=wikipedia&q=%22%E0%B... //www.google.com/search?q=%22%E0%B9%80%E0%B8%81%E0... //www.google.com/search?tbs=bks:1&q=%22%E0%B9%80%E... http://www.youtube.com/watch?v=f0TsfdbVldU http://www.youtube.com/watch?v=j52ffNHa9Ho http://www.youtube.com/watch?v=o35EwIDZJbw http://www.workpoint.co.th https://www.youtube.com/watch?v=itcBGivF8kE&t=6s