เกลิบเดอแบร์น
เกลิบเดอแบร์น

เกลิบเดอแบร์น

เกลิบเดอแบร์น (ฝรั่งเศส: Club de Berne: CdB) เป็นเวทีเสวนาแบ่งปันข่าวกรองระหว่างหน่วยข่าวกรองของ 27 รัฐในสหภาพยุโรป (อียู), นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งตั้งชื่อตามกรุงแบร์น เป็นสถาบันที่มีพื้นฐานอยู่บนการแลกเปลี่ยนความลับ, ประสบการณ์, และมุมมองโดยสมัครใจ ตลอดจนการหารือเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ[1][2] ออสเตรียถูกกันออกจากเวทีเนื่องจากเพิกเฉยต่อจารกรรมที่ไม่ได้พุ่งเป้าไปที่ประเทศตัวเอง[3] เวทีก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2514 โดยไม่มีสำนักเลขาธิการและไม่มีการตัดสินใจใด ๆกลุ่มต่อต้านการก่อการร้าย (อังกฤษ: Counter Terrorism Group: CTG) เป็นกลุ่มย่อยของเวทีและแบ่งปันข้อมูลข่าวกรองเกี่ยวกับการก่อการร้าย โดยให้การประเมินภัยคุกคามแก่ผู้กำหนดนโยบายของสหภาพยุโรป และจัดเตรียมแบบฟอร์มสำหรับความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญ[1][2] กลุ่มนี้ก่อตั้งขึ้นหลังเหตุการณ์ 9/11 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการแบ่งปันข่าวกรองระหว่างโครงสร้างข่าวกรองของยุโรป[4] เช่นเดียวกับเวที กลุ่มต่อต้านการก่อการร้ายอยู่นอกสถาบันของสหภาพยุโรป แต่สามารถสื่อสารกับพวกเขาผ่านการมีส่วนร่วมของศูนย์วิเคราะห์ข่าวกรองสหภาพยุโรป (EU Intelligence Analysis Centre) ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของสำนักงานกิจการต่างประเทศของยุโรป (European External Action Service)[2] แม้ว่าจะอยู่นอกสหภาพยุโรป แต่ตำแหน่งประธานจะหมุนเวียนไปตามตำแหน่งประธานคณะมนตรีสหภาพยุโรป[4] และทำหน้าที่เป็นตัวประสานอย่างเป็นทางการระหว่างเกลิบเดอแบร์นกับสหภาพยุโรป[1]