ประวัติ ของ เกลียวคู่กรดนิวคลีอิก

แบบจำลองเกลียวคู่ของโครงสร้างดีเอ็นเอนั้นได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในวารสารเนเจอร์โดยเจมส์ ดี. วัตสัน และฟรานซิส คริก ในปี ค.ศ. 1953[5] โดยอาศัยภาพถ่ายการเลี้ยวเบนรังสีเอ็กซ์ของดีเอ็นเอที่สำคัญ ซึ่งมีชื่อว่า "โฟโต 51" จากโรซาลินด์ แฟรงคลิน ในปี ค.ศ. 1952[6] ตามมาด้วยภาพถ่ายดีเอ็นเอที่มีความชัดเจนยิ่งขึ้นโดยเรย์มอนด์ กอซลิง[7][8], มอริส วิลคินส์, อเล็กซานเดอร์ สโตกส์ และเฮอร์เบิร์ต วิลสัน[9] เช่นเดียวกับข้อมูลทางเคมีและชีวเคมีการเข้าคู่กันของเบสโดยเออร์วิน ชาร์กาฟฟ์[10][11][12][13][14][15] แบบจำลองก่อนหน้านั้นเป็นแบบจำลองเกลียวสาม[16]

คริก วิลคินส์ และวัตสันต่างก็ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ประจำปี 1962 สำหรับการมีส่วนค้นพบดังกล่าว[17] (แฟรงคลินได้เสียชีวิตไปแล้ว ไม่สามารถถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลได้)

แหล่งที่มา

WikiPedia: เกลียวคู่กรดนิวคลีอิก http://www.nature.com/nature/dna50/franklingosling... http://www.nature.com/nature/dna50/watsoncrick.pdf http://www.nature.com/nature/dna50/wilkins.pdf http://demonstrations.wolfram.com/DoubleHelix/ //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC382905 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/13054692 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/13054693 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/14778802 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/14917668 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/14938364